​พม. จัดงานวันสมัชชาสตรี ประจาปี 2560 

0
331

เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ณ บริเวณชั้น 3 ห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เป็นประธาน เปิดงานสมัชชาสตรี ประจาปี 2560 มีผู้เข้าร่วมเป็นผู้แทนสตรีกลุ่มต่าง ๆ เช่น จากภาคแรงงาน ผู้สูงอายุ สตรีชนเผ่า สตรีมุสลิม กลุ่มความหลากหลายทางเพศ จำนวนกว่า 240 คน ซึ่งการจัดงานดังกล่าว เป็นการนำเสนอผลการขับเคลื่อนข้อเสนอสมัชชาสตรีแห่งชาติที่ผ่านมา (ผลงานย้อนหลัง 5 ปี : 2555 – 2559) และระดมความคิดเห็นจากแกนนำเครือข่ายเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา/พัฒนา ศักยภาพสตรีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน เพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย มอบให้กับรัฐบาล เพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนตามภารกิจต่อไป และเพื่อจะได้เป็นข้อเสนอให้นำไปขับเคลื่อนในท้องถิ่นและระดับจังหวัดในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสตรี และความเสมอภาคระหว่างเพศต่อไป 

นายเลิศปัญญา กล่าวว่า ผลการจัดสมัชชาและการนำเอาข้อเสนอไปปรับใช้ใน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทาง สค. ได้ดำเนินการและผลักดันไปแล้ว คือ การจัดสวัสดิการให้แก่สตรีและกลุ่มสตรีด้อยโอกาส โดยการปรับปรุงระบบสวัสดิการสังคม เช่น การส่งเสริม สุขภาพสตรีและการรองรับภาวะประชากรสูงอายุ รวมทั้งการเพิ่มมาตรการพิเศษให้เด็กผู้หญิงสามารถเข้าถึงการศึกษา ทั้งในภาวะปกติและในภาวะการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเรียนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดย สค. ได้ผลักดันให้มีการประกาศใช้ พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 (ลว. 30 มีนาคม 2559) มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมรับผิดชอบ คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ การดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐ เอกชนและประชาสังคม เพื่อบูรณาการให้การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรม เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ ยังผลักดันให้ประกาศใช้ พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 (ลว. 8 มีนาคม 2558) หน่วยงานร่วมรับผิดชอบ คือ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 

นายเลิศปัญญา กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้ข้อเสนอสมัชชาสตรีที่ส่งผ่านมาจากระดับจังหวัด ซึ่งในพื้นที่ให้ความสำคัญคือ ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีและครอบครัว ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปัญหาเรื่องความยากจนและเศรษฐกิจของผู้หญิง ปัญหาเรื่องสังคมสูงอายุและการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ ปัญหาการพัฒนาศักยภาพสตรีในด้านต่าง ๆ เช่น การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาสุขภาพของสตรีและการจัดสวัสดิการสาหรับสตรี ซึ่ง สค. ตระหนักดีว่า ถึงแม้จะได้มีความพยายามในการส่งเสริมสถานภาพและพัฒนาบทบาทศักยภาพของสตรี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสตรี ผ่านมาตรการต่าง ๆ มานาน แต่ ปัญหาเกี่ยวกับสตรีที่ได้รับการสะท้อนมาจากพื้นที่ ชุมชน ก็ยังคงเป็นปัญหาเดิม ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นใน ฐานะภาครัฐ ที่มีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดมาตรการในการแก้ไขปัญหาของสตรีแล้ว เห็นว่า หน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานในท้องถิ่น และที่สำคัญคือตัวของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม ควรจะนำเอามาตรการ กลไก ที่มีอยู่ไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐโดยลำพังเองไม่สามารถจะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไปได้โดยลำพัง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเห็นปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เกิดขึ้น เราต้องเปลี่ยนความคิดว่า ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเฉพาะภายในครอบครัว เราเป็นคนนอกไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องภายในครอบครัวได้ เราควรเปลี่ยนทัศนคติของเรา เมื่อเราพบเห็นผู้ถูกกระทำความรุนแรง เราควรจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ในกรณีที่เราไม่อยากแสดงตัว เราก็สามารถใช้ช่องทางในการโทรศัพท์แจ้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงให้เข้าไปช่วยเหลือได้ ซึ่งปัจจุบันเรามีช่องทางให้ความช่วยเหลือที่สามารถเข้าถึงได้ โดยสะดวก 

“ประเด็นที่ยังเป็นปัญหาของคนไทยรวมทั้งสตรีไทย ก็คือการมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาล ประเด็นความยากจนและการมีงานทำยังคงเป็นปัญหา แต่ถ้าเราสนับสนุนให้สตรีมีศักยภาพมากขึ้น เน้นการศึกษา โดยเฉพาะควรจะเน้นการศึกษาในเรื่อง STEM (สเตม) คือ การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering) และ คณิตศาสตร์ (Match) เพราะเราก้าวเข้าสู่โลกของเทคโนโลยี เมื่อเรา เน้นให้สตรีเรียนในสาขา STEM มากขึ้น ผู้หญิงก็ย่อมมีโอกาสในการทางานและมีรายได้มากขึ้น นอกจากนี้ควรสนับสนุน ให้สตรีสามารถเข้าถึงแหล่งทุน และสนับสนุนการนำเอาไอทีมาใช้ในการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้สตรีสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น และลดภาระการทำงานของสตรีให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหารของสตรี ก็จะเป็นการส่งเสริมให้สตรีได้ใช้ศักยภาพของตนเองในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้มากขึ้น” นายเลิศปัญญา กล่าวในตอนท้าย