ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ชลบุรี ดูแล 3 เต่าโชคร้ายอย่างใกล้ชิด เตรียมรับเจ้าออมสินกลับพักฟื้น

0
421

เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พลเรือตรี เอกราช พรหมลัมภัก ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง ผบ.สอ.รฝ.มอบหมายให้ นาวาเอก ณัฐพงศ์ ปานโสภณ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ ตรวจดูอาการของเต่า ตนุ ที่กลืนเบ็ตตกปลาเข้าไปในท้อง รับมาจากศูนย์ป้องกันภัยพิบัติพัทยา เต่ากระ ขาหน้าซ้ายหวิดขาด ติดกระสอบท้ายเรือสิมิลัน บริเวณอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อ สัตหีบ จ.ชลบุรี และเต่า ตนุ ติดอวนขาหน้าขวาขาด รับมาจากทางระยอง ซึ่งเต่าทั้ง 3 ตัวนี้อยู่ที่สถานพักฟื้นเต่าป่วยซึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมี นาวาโท ธนพล กล่อมนาค ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนปฏิบัติการ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ พาสื่อมวลชนเข้าไปดูอาการของเจ้าเต่าทั้ง 3 ตัวนี้

นาวาโท ธนพล กล่อมนาค กล่าวว่า สำหรับเจ้าเต่านุเพศเมีย อายุประมาณ 10 ปี รับมาจากศูนย์ป้องกันภัยพิบัติพัทยา ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เต่าตนุตัวนี้กลืนเบ็ตเข้าไปและได้นำเบ็ตออกไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการบำรุงและทำกายภาพบัดบัด ได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลอยู่ที่ลำคอ การกินค่อนข้างยาก โดยให้เจ้าหน้าที่คอยป้อนอาหารให้

ในส่วนของเต่ากระขาหน้าซ้ายหวิดขาด รับมาตั้งแต่ วันที่ 7 มีนาคม 2560 ซึ่งเต่ากระตัวนี้ไปติดอวนกระสอบท้ายเรือสิมิลัน บริเวณอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช โดยได้ทำการรักษาแผล ตอนนี้เริ่มจะหายดีแล้ว คาดว่าจะให้อยู่อีกสัก 1 เดือน จึงจะไปปล่อยลงสู่ท้องทะเลได้ตามปกติ

และอีก 1 ตัวคือเต่าตนุ อายุประมาณ ปีเศษๆ รับมาจากทางระยอง ซึ่งตอนรับขาขวาหน้าได้ขาดมาอยู่แล้ว จึงได้ทำการรักษาแผล ตอนนี้อาการก็ยังค่อนข้างซึมอยู่ น่าจะให้อยู่ 3-4 เดือนขึ้นไป

สำหรับเจ้าเต่าออมสินเต่าตนุเพศเมีย วัยประมาณ 25 ปี ที่กินเหรียญเข้าโดยได้รับการผ่าตัดเหรีญที่อยู่ในท้องออกไปแล้วนั้น ตอนนี้ยังรักษาอยู่ที่ศูนย์วิจัยพันธ์โรคสัตว์น้ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขั้นตอนการพักฟื้นแผล ในเบื้องต้นคาดว่า เมื่อพร้อมทางศูนย์วิจัยพันธ์โรคสัตว์น้ำจุฬา จะมีการติดต่อทางกองทัพเรือไปรับ กลับมาพักฟื้นที่ สถานพักฟื้นเต่าป่วย ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ โดยทางเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมบ่อให้เจ้าเต่าออมสินได้พักฟื้น ซึ่งได้มีการปรึกษาทีมงานแพทย์ว่าจะต้องมีการใส่น้ำในบ่อขนาดไหน สูง ต่ำ หรือไม่ใส่เลย และมีผ้าห่มคลุมมีน้ำหยดเพื่อให้มีความชื้น ก็คงจะเป็นขั้นตอนต่อจากที่พักฟื้นแผลของทางศูนย์วิจัยพันธ์โรคสัตว์น้ำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย