นักวิทย์ฯ หวั่นภารกิจอวกาศสร้างขยะเพิ่มขึ้นอีก

0
145

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (18 เม.ย. 2017) นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวเตือนระหว่างการประชุมยุโรปเกี่ยวกับขยะในอวกาศ ครั้งที่ 7 ว่าภารกิจอวกาศต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามที่มากขึ้น

การประชุม 4 วันถูกจัดขึ้นที่เมืองดาร์มสตัดท์ ทางตอนใต้ของเยอรมัน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการอวกาศยุโรป (ESOC)

ตั้งแต่ปีค. ศ. 1957 เป็นต้นมา ภารกิจปล่อยยาน ดาวเทียม ฯลฯ ที่เกิดขึ้นในอวกาศกว่า 4,900 ครั้ง ทำให้ปริมาณของวัตถุที่มีระบบติดตามฝังอยู่ ที่โคจรอยู่ในอวกาศมีมากกว่า 18,000 รายการ

รายงานจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ระบุว่าในจำนวนนี้ มีเพียง 1,100 รายการเท่านั้นที่เป็นยานอวกาศที่ยังสามารถทำงานได้ ซึ่งองค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจาก 22 ประเทศในทวีปยุโรป

สำหรับวัตถุชิ้นเล็กที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรที่ยากต่อการติดตาม แต่สามารถก่อให้เกิดอันตรายหากชนเข้ากับยานอวกาศได้นั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากประมาณ 150 ล้านรายการ

นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีชิ้นส่วนที่โคจรอยู่ในอวกาศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร ประมาณ 20,000 ชิ้น มากกว่าสถิติเดิมในปี 1993 ซึ่งอยู่ที่ 12,000 ชิ้น

“นี่เป็นเรื่องที่เราวิตกกังวลเป็นอย่างมาก” Rolf Densing ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ ESA กล่าว

ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มหารือกัน เกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของการวิจัยขยะในอวหาศ ซึ่งรวมถึงเทคนิคการวัด ทฤษฎีการสร้างแบบจำลองสภาพแวดล้อม เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยง และการออกแบบเพื่อการป้องกัน