นักวิทย์ฯ พบตัวอ่อนนกดึกดำบรรพ์ในอำพันที่สมบูรณ์ที่สุด

0
319

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้เปิดเผยการค้นพบตัวอย่างตัวอ่อนที่พึ่งฟักออกจากไข่ ที่ถูกเก็บรักษารักษาอย่างดีอยู่ในอำพันพม่า และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีการค้นพบมา ซึ่งตัวอย่างนกตัวนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาเกือบ 99 ล้านปีแล้ว

Xing Lida ผู้นำการวิจัย จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน ได้เล่าถึงตัวอ่อนของนกที่มีความยาว 9 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยศีรษะ ลำคอ ส่วนปีก ขา และเนื้อเยื่ออ่อนของหาง โดยสัดส่วนของชิ้นส่วนต่างๆ ของร่างกายและรูปแบบขนของมัน แสดงให้เห็นว่าเป็นลูกไก่ที่ยังเล็กมาก แต่เกิดการพัฒนาในระดับสูง โดยรายละเอียดขนของมันนั้นมีลักษณะที่ต่างจากขนนกทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อนในนกดึกดำบรรพ์

“มีหลายคนคิดว่ามันคือสัตว์จำพวกตะกวด แต่เกล็ด ขนที่เหมือนเส้นด้าย และกรงเล็บแหลมคมที่เท้าของมันนั้น เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนฉันคิดว่ามันต้องเป็นนก” Chen Guang ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนพม่า กล่าว

“ท่าทางโดยรวมของนกคล้ายกับมันอยู่ระหว่างการล่าเหยื่อ โดยมีส่วนกรงเล็บและจะงอยปากที่เปิดอยู่ และปีกที่กำลังกางออก” Tseng Kuowei จากมหาวิทยาลัยไทเปกล่าว