สจล.จัดงานโอเพ่นเฮ้าส์ โชว์ประสิทธิภาพระบบเครือข่ายสถานศึกษาสมบูรณ์แบบ ตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

0
209
(จากซ้าย) นายสาวิตร สุทธิพันธุ์ รองประธาน กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผศ.อัครินทร์ คุณกิตติ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ สจล., อ.ดร.กมล เกียรติเรืองกมลา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและการเงิน สจล. และนายกริช เลิศวลีรัตน์ รองประธานส่วนงานบริการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดงานโอเพ่นเฮ้าส์ เปิดตัว “เอสดีเอ็น แอนด์ คลาวด์ คอมพิวติ้ง เซ็นเตอร์” ระบบสำหรับสถานศึกษาที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโลกแห่งหนึ่งบนพื้นฐานโครงสร้างเทคโนโลยีเครือข่ายที่ครบวงจรที่สุด เร็วที่สุด และทันสมัยที่สุด ภายใต้ความร่วมมือกับหัวเว่ยและจีเอเบิ้ล พร้อมตั้งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลภายในปี 2563

ผศ.อัครินทร์ คุณกิตติ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่าในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สจล. มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนด้านดิจิทัล ทรานฟอร์มเมชั่น ร่วมผลักดันวงการการศึกษาไทยก้าวสู่เอ็ดดูเคชั่น 4.0 (Education4.0) และต้องการเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่นๆ ในประเทศไทยที่ต้องการพัฒนาศักยภาพด้านระบบเครือข่ายและดาต้าเซ็นเตอร์

สจล.ร่วมมือกับหัวเว่ยและจีเอเบิ้ล เปิดงานโอเพ่นเฮ้าส์โชว์ศักยภาพเทคโนโลยีเครือข่ายของสถาบันการศึกษาที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

ด้านตัวแทนจากหัวเว่ย – ดร.จุมพต ภูริทัตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสมาร์ท เอ็ดดูเคชั่น พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในไทยและทั่วโลกด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน จึงได้นำเอาโซลูชั่นและเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเข้ามาใช้เพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อโลกการศึกษาไปสู่โลกดิจิทัล สร้างความเท่าเทียมในโอกาสเรื่องการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพการสอน

จุดเด่นของระบบเครือข่ายของ สจล. ประกอบด้วย

1. ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็ว 100 กิกะบิตต่อวินาที – สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายและแบบต่อสายเพื่อการเรียนการสอนแบบสตรีมมิ่งออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกันแบบไม่สะดุด รวมถึงสามารถนำเสนอสื่อมัลติมีเดียคุณภาพสูงเพื่อการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม

2. เอสดีเอ็น ฟอร์ แคมปัส และ ดาต้า เซ็นเตอร์ คอนเวอร์เจ้นท์ – ระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยไว้เป็นหนึ่งเดียว รวมดาต้าเซ็นเตอร์เข้ากับแคมปัสเน็ทเวิร์ค ทำให้ผู้ดูแลระบบควบคุมได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน

3. คลาวด์ ดาต้า เซ็นเตอร์ ที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ – ศูนย์ข้อมูลจัดเก็บแบบบูรณาการ (All-in-one) ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการติดตั้ง

4. เครือข่ายไวไฟที่ครอบคลุมทั่วมหาวิทยาลัยถึง 3,000 จุด – ทำให้คณาจารย์และนักเรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ภายในมหาวิทยาลัย

ด้านในของดาต้า เซ็นเตอร์ในรูปแบบคอนเทนเนอร์

ข้อดีของดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์คือสามารถประหยัดงบประมาณมากกว่าเดิม 3 เท่าและประหยัดเวลาในการติดตั้งมากกว่าแบบเดิมถึง 5 เท่า มีความยืดหยุ่นในการต่อเติมขยายโดยไม่กระทบประสิทธิภาพ โดยหัวเว่ยได้นำเอาประสบการณ์ดาต้า เซ็นเตอร์ในรูปแบบคอนเทนเนอร์จากที่เคยทำในต่างประเทศมาช่วยให้ทาง สจล. ได้ดาต้า เซ็นเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ยังออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์สูงขึ้นมาจากพื้นดิน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม และยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในเชิงกายภาพอีกด้วย

นักศึกษาของสจล.ทดลองระบบเครือข่ายที่ทันสมัยที่สุดในสถาบันการศึกษาไทย

เรียบเรียงและรายงาน: อรอนงค์ อรุณเอก 林敏儿