Media Fun Facts จัด Workshop เชิงปฏิบัติการระบบเฝ้าระวังสื่อร้าย-ขยายสื่อดี 

0
249
คุณวันเสาร์ แสงมณี หัวหน้าโครงการ ศสป. Media Fun Facts (คนที่ 4 จากขวา) ถ่ายรูปร่วมกับผู้เข้าร่วม Workshop เชิงปฏิบัติการภาคีโครงการเครือข่ายระบบป้องปรามสื่อร้าย-ขยายสื่อดี

มื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา โครงการเครือข่ายศูนย์รับแจ้งและติดตามผ่านช่องทางระบบสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเพื่อการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์และป้องปรามสื่อที่ไม่ปลอดภัย (ศสป.) หรือ Media Fun Facts ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัด Workshop เชิงปฏิบัติการภาคีโครงการเครือข่ายระบบป้องปรามสื่อร้าย-ขยายสื่อดี และมีผู้รู้จากวงการสื่อร่วมพูดคุยในหัวข้อ – รู้ทันและรับมือกับข่าวปลอมในโลกออนไลน์ ที่ Big Co Working Space พระราม9

สถิติการแจ้งข้อมูลมายังโครงการ Media Fun Facts

จากเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โครงการ Media Fun Facts จัดแถลงข่าวและเปิดตัวสื่อออนไลน์อันเป็นประโยชน์กับสังคมอย่างเป็นทางการไปแล้ว โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมจริยธรรมอันดีให้กับสังคม มาในวันนี้โครงการมีกิจกรรมดีๆ โดยการนำของคุณวันเสาร์ แสงมณี หัวหน้าโครงการ ศสป. Media Fun Facts จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการ Workshop กับผู้ที่สนใจรวมถึงสื่อมวลชนเพื่อเป็นแนวทางการเข้าใช้ระบบให้กับตนเอง หน่วยงาน องค์กรที่เป็นสมาชิกประเภทภาคี เครือข่าย กับโครงการ Media Fun Facts ซึ่งล้วนมีบทบาทหน้าที่ในการร่วมตรวจสอบสื่อ ข่าว หรือบทความที่ถูกแจ้งเข้ามายังระบบ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง โดยผ่านเครื่องมือ 3 ช่องทาง คือ www.mediafunfacts.in.th ทาง Facebook/สื่อสร้างสรรค์ และทาง Extention บนหน้าเว็บไซต์ Search Engine เฉพาะ Chrome และ Firefox

คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้รู้วงการสื่อ

คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้รู้วงการสื่อ กล่าวว่า ปัจจุบันทุกคนต่างก็เป็นสื่อได้ ประเภทข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ แบ่งได้เป็น ข้อมูลร้อน (เป็นเรื่องที่ผู้คนสนใจและเผยแพร่จำนวนมาก) ข้อมูลเย็น (ได้รับความสนใจไม่กว้างขวางและเผยแพร่ส่งต่อไม่มาก) ข้อมูลพิษ Fake News (มีผู้ตั้งใจปล่อยข้อมูลผิดๆ บิดเบือนความจริง , หวังผลประโยชน์ออกมา) ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่พบมากที่สุดในประเทศไทย และลงลึกไปพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมีจำนวนมากถึง 80% เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะพฤติกรรมของผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดีย คือการแชร์ แต่การแชร์ที่ดีนั้นต้องแน่ใจต้องชัวร์เรื่องข้อมูลก่อนค่อยแชร์ นั่นย่อมทำให้การต่อท่อข้อมูลดีมีประสิทธิภาพ และช่วงท้ายคุณอดิศักดิ์ ยังเสนอแนะถึงสิ่งที่รัฐควรจะทำ 5 เรื่อง คือ จัดสรรงบประมาณ ไม่บริหารแบบศูนย์รวมเป็นศูนย์กลางเชิงยุทธศาตร์ ร่วมงานกับเครือข่ายต่างๆ และเป็น Network of Network เพราะจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลทางโซเชียลมีเดียในไทยไม่เป็นข้อมูลพิษ

ผู้ร่วม Workshop ลองใช้งานจริงในเว็บไซต์ www.mediafunfacts.in.th

ณ ปัจจุบันสถิติการแจ้งข้อมูลมายังโครงการ Media Fun Facts พบว่าจำนวนสื่อไม่เหมาะสมมีมากถึง 769 ครั้ง จำนวนสื่อดีที่น่าส่งเสริมมี 134 ครั้ง และช่องทางในการแจ้งเรื่องราวทั้งสื่อดีและไม่ดีผ่านทางเว็บไซต์เยอะที่สุด ในช่วงท้ายโครงการ Media Fun Facts ยังจัด Workshop ให้กับสื่อมวลชน ภาคีเครือข่ายของกิจกรรม และบุคคลที่สนใจ เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบแนวทาง หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังและ Workshop พร้อมทั้งได้ลองส่งลิงค์ข้อมูลของเว็บไซต์ที่เป็นสื่อไม่ดีไปยังโครงการฯ เพื่อให้ทุกท่านที่เข้ารับการอบรมเห็นภาพจริงว่ากิจกรรมนี้มีการแจ้งข้อมูลจริงและติดตามผลได้จริง โดยได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก

ผู้เข้าร่วม Workshop เชิงปฏิบัติการภาคีโครงการเครือข่ายระบบป้องปรามสื่อร้าย-ขยายสื่อดี

เรียบเรียงและรายงาน: ยุพินวดี คุ้มกลัด
ถ่ายภาพ: ณจักร วงษ์ยิ้ม