เชื่อมโยงแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง กับ อาเซียน

0
38
(Xinhua) Malaysian Prime Minister Mahathir Mohamad, Myanmar State Counselor Aung San Suu Kyi, Philippine President Rodrigo Duterte, Singaporean Prime Minister Lee Hsien Loong, Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha, Vietnamese Prime Minister Nguyen Xuan Phuc, Brunei Sultan Haji Hassanal Bolkiah, Cambodian Prime Minister Samdech Techo Hun Sen, Indonesian President Joko Widodo and Lao Prime Minister Thongloun Sisoulith pose for photos at the opening ceremony of the 35th summit of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the related summits in Bangkok, Thailand, Nov. 3, 2019. The 35th ASEAN Summit and related summits kicked off here on Sunday with multilateralism and connectivity taking the center stage. (Xinhua/Zhu Wei)

(ซินหัว) — เมื่อวันเสาร์ (3 พ.ย.) จีนและอาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการเชื่อมโยงแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง กับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน” ณ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 22 (10+1) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่าอาเซียนและจีนจะทำงานร่วมกันในด้านการเงิน การค้าและการลงทุน เทคโนโลยีใหม่ การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน การออกแบบนโยบาย และอื่นๆ เพื่อการเชื่อมโยงครบทุกมิติ การเชื่อมโยงแผนริเริ่มฯ และแผนแม่บทฯ เข้าด้วยกันจะช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค สันติภาพและเสถียรภาพ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน 2025 (MPAC 2025) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 28-29 ณ กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ในเดือนกันยายน 2016 มีจุดมุ่งหมายเพิ่มพูนความสามารถทางการแข่งขันของอาเซียนด้วยการส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน นวัตกรรมดิจิทัล การขนส่ง การนำเข้าและการส่งออก รวมถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2018 มีการเผยแพร่ “วิสัยทัศน์ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน 2030” อย่างเป็นทางการ โดยสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ลงนามเอกสารความร่วมมือ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กับจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียนมานานติดต่อกัน 8 ปี ขณะที่อาเซียนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของจีนมานานติดต่อกัน 6 ปี และยังตั้งอยู่ในจุดที่เส้นทางบกและทางทะเลของแผนริเริ่ม”หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”มาบรรจบกัน จึงมีฐานะเป็นพันธมิตรรายสำคัญของแผนริเริ่มฯ

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนและอาเซียนประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์แผนริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” โดยเกิดการเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ของแผนริเริ่มฯ กับนานาประเทศในอาเซียน และมีการจัดตั้งกลไกการหารือระหว่างรัฐบาลในหลายระดับ

ตัวอย่างเช่น ทางรถไฟจีน-ลาว ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ที่กำลังจะพลิกโฉมลาวจาก “ดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล” ให้กลายเป็น “ประเทศที่สามารถเชื่อมโยงกับนานาประเทศผ่านทางบก” ขณะที่ในมาเลเซีย จีนได้ลงทุนภาคการผลิตของมาเลเซีย จำนวน 400 โครงการ และโรงงานประกอบรถไฟแห่งแรกของมาเลเซียก็เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน (CRCC) ของจีน นอกจากนี้ การก่อสร้างทางด่วนตัดตรงจากพนมเปญไปยังสีหนุวิลล์ในกัมพูชา ความยาว 190 กิโลเมตร ก็มีความคืบหน้าในเชิงบวก

สำหรับไทย รัฐบาลทั้งสองประเทศพยายามผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีนอย่างเต็มที่ ส่งเสริมการเชื่อมโยงเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) ของจีนกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย รวมถึงผลักดันความร่วมมือพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไทย-จีนในจังหวัดระยอง เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต

ด้านการเงินการลงทุน ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มประเทศอาเซียน ในการประกันการจัดหาเงินทุน ขณะที่การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีน-อาเซียนก็มีการพัฒนา อาเซียนได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของจีน โดยในปี 2018 ชาวอาเซียนและชาวจีนเดินทางไปมาระหว่างกันสูงถึง 57 ล้านครั้ง เที่ยวบินต่อสัปดาห์ระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนอยู่ที่เกือบ 4,000 เที่ยว

มีผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า แถลงการณ์ร่วมแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกระตือรือร้นในการเชื่อมต่อกับความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีน และประเทศสมาชิกอาเซียนได้ละทิ้งแนวทาง”การต่อสู้เพียงลำพัง” ในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่มุ่งมั่นสร้างประชาคมที่มีโชคชะตาร่วมกันของจีนกับอาเซียน ด้วยการเชื่อมโยงแผนแม่บทความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนเข้ากับแผนริเริ่มฯ ของจีน

ฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า จีนเป็นคู่เจรจาสำคัญของอาเซียน การเติบโตอย่างรวดเร็วของการค้าระหว่างจีน-อาเซียน มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเชื่อมต่อเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในภูมิภาคแห่งนี้

พลเอก ลูฮุท บินซาร์ ปันด์จัยตัน (Luhut Binsar Pandjaitan) รัฐมนตรีกระทรวงประสานงานด้านกิจการทางทะเลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวว่าแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง จะช่วยลดช่องว่างความแตกต่างด้านโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมกระบวนการบูรณาการของอาเซียนต่อไป

โจวฟางอิ๋น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกลยุทธ์รอบด้านแห่งสถาบันยุทธศาสตร์นานาชาติกว่างตง (กวางตุ้ง) กล่าวว่า ภูมิภาคอาเซียนยังคงมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก เนื่องจากหลายประเทศยังอยู่ในช่วงการพัฒนาทางอุตสาหกรรมช่วงต้น จึงมีความต้องการเงินทุน เทคโนโลยี และสาธารณูปโภคต่างๆ อย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่กลุ่มประเทศอาเซียนสนับสนุนแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

เย่ไห่หลิน นักวิจัยด้านปัญหาระหว่างประเทศของสถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนกล่าวว่า ในฐานะที่อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง จึงเป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศกับจีน ทำให้ความร่วมมือในแผนริเริ่มฯ มีพลวัตใหม่ๆ จาก ความร่วมมือพหุภาคีในระดับภูมิภาค ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคราบรื่นและรุดหน้ายิ่งขึ้น

กวี จงกิจถาวร ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนของไทยเชื่อว่า ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของอาเซียนที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของโลก