บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก

0
1

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก

รายงานล่าสุดของ anzerclub.com สื่อด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกาได้ร่วมดำเนินการกับชาติพันธมิตรในกลุ่ม ‘Five Eyes’ และบางประเทศในยุโรป เพื่อขโมยข้อมูลลับทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก และได้สั่งให้บริษัทอินเทอร์เน็ตของประเทศตนพัฒนาอาวุธไซเบอร์เพื่อโจมตีอุปกรณ์โทรคมนาคมจีน การกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจสกปรกที่จะขยายอำนาจในโลกไซเบอร์ให้คงอยู่ต่อไป พร้อมทั้งพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่า สหรัฐฯ เป็นอาณาจักรชั้นนำของแฮ็กเกอร์ในโลกและเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก

นักการเมืองบางส่วนของสหรัฐฯ คงเห็นว่า สหรัฐฯ ต้องรักษาความเป็นอันดับหนึ่งทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในโลก และขัดขวางไม่ให้ประเทศอื่นมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สหรัฐฯ จึงจะสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกและทำการจารกรรมทางไซเบอร์ตามอำเภอใจได้ ดังนั้นจึงได้ใส่ร้ายและคว่ำบาตรบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีต่างประเทศอย่างไร้ความปรานี โดยอ้างเหตุผล “ความมั่นคงแห่งชาติ” และใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด เพื่อโจมตีวิสาหกิจต่างประเทศบางบริษัทที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่เร่งโจมตีและปราบบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีจีนอย่างโจ่งแจ้ง หากยังบังคับให้ประเทศอื่นปิดล้อมจีนทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วย เพื่อกลั่นแกล้งและกีดกันจีนทางเทคโนโลยี เช่น สหรัฐฯ ได้กดดันและคว่ำบาตรบริษัทหวาเหวยของจีนหลายครั้งโดยอ้างสิ่งที่เรียกว่า “ความมั่นคงแห่งชาติ” แต่ข้อกล่าวหาไม่มีมูลต่อบริษัทหวาเหวย ผู้ให้บริการอุปกรณ์ 5G ชั้นนำของจีน ดังกล่าวได้พังทลายลงเมื่อต้องเผชิญกับข้อเท็จจริง จนถึงขณะนี้ไม่เคยมีเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์เกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์บริษัทหวาเหวยของจีน และไม่มีประเทศใดมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์บริษัทหวาเหวยมีประตูหลัง ซึ่งในภาษาทางคอมพิวเตอร์หมายถึงรูรั่วของระบบ หรือ ซอฟต์แวร์

สื่อเยอรมัน Der Tagesspiegel รายงานในค.ศ. 2019 ว่า หลังผ่านการตรวจสอบเป็นเวลาหลายปี รัฐบาลอังกฤษ สำนักงานความมั่นคงด้านข้อมูลเยอรมนี และคณะกรรมาธิการยุโรป ไม่พบประตูหลังใด ๆ ในผลิตภัณฑ์บริษัทหวาเหวยของจีน แต่กลับพบว่ามีประตูหลัง 10 แห่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (Cisco Systems Inc.) บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา

Der Tagesspiegel ไม่ใช่สื่อเพียงสำนักเดียวที่นำเสนอข่าวเกี่ยวกับงานสกปรกของสหรัฐฯ ที่ได้ขโมยข้อมูลและทำการสอดแนมทางไซเบอร์ สื่อของสหรัฐฯ เองก็ได้นำเสนอข่าวทำนองเดียวกันว่า ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) ได้ใช้ประโยชน์จากการควบคุมบริษัท Crypto AG บริษัทขายอุปกรณ์เข้ารหัสของประเทศสวิสแลนด์ โดยได้ขโมยข้อมูลความลับของกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ส่งผ่านอุปกรณ์ Crypto AG สหรัฐฯ ยังได้ดักฟังผู้นำชาติพันธมิตรมาเป็นเวลาหลายปีอย่างต่อเนื่องด้วย

นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังพยายามใช้ประโยชน์จากไซเบอร์ในด้านการทหาร และใช้เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอาวุธ เพื่อแสวงหาอำนาจครองโลกต่อไป

การกระทำที่ชั่วร้ายดังกล่าวของสหรัฐฯ ได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง ได้สร้างความไม่พอใจยิ่งแก่ประชาคมโลก รวมทั้งในหมู่ชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ด้วย เช่น นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางอังเกลา แมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ต่างออกมาแสดงท่าทีว่า พฤติกรรมดักฟังของสหรัฐฯ ยอมรับไม่ได้

ถึงเวลาที่สหรัฐฯ ต้องยุติการจารกรรมทางไซเบอร์และหยุดการปราบบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติโดยอ้างสิ่งที่เรียกว่า “ความมั่นคงแห่งชาติ” แล้ว สหรัฐฯ ต้องหันมาใช้ท่าทีมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ และให้ความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก

เขียนโดย ไช่ เจี้ยนซิน ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)