ผลักดันเจิ้งติ้งพัฒนาเศรษฐกิจ “แบบกึ่งชานเมือง” -เส้นทางสีจิ้นผิง (4)

0
7

ผลักดันเจิ้งติ้งพัฒนาเศรษฐกิจ “แบบกึ่งชานเมือง” เส้นทางสีจิ้นผิง (4)

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 อำเภอเจิ้งติ้งอยู่ภายใต้การบริหารของเขตฉือเจียจวง มณฑลเหอเป่ย มีสถานะเทียบเท่ากับเมืองสือเจียจวง อำเภอแห่งนี้มีชัยภูมิที่ดีเพราะมีพรมแดนติดกับเมืองฉือเจียจวงในทางทิศใต้และทิศตะวันตกเหมาะสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์  แต่คนในพื้นที่กลับไม่เข้าใจถึงเงื่อนไขความได้เปรียบกลับมีแนวคิดแบบเดิมนั่นก็คือมุ่งเน้นไปที่การเพาะปลูกเท่านั้น แต่การเพาะปลูกเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจนและทำให้อำเภอมีเศรษฐกิจที่ดีได้ เคยมีหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจในมณฑลมีแผนจะลงทุนสร้างโรงงานแห่งหนึ่งในเจิ้งติ้งแต่ถูกอำเภอปฏิเสธเพราะเหตุผลที่ว่าการสร้างโรงงานต้องใช้ที่ดิน แต่ที่ดิน1 โหม่ว(2.4 โหม่วเท่า 1 ไร่) หมายถึงการเก็บเกี่ยวธัญพืช 1,000 ชั่ง! จีนเปรียบเทียบว่าเหมือน “เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง” ถูกเชิญไปที่อื่น

นายสี จิ้นผิง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำอำเภอเจิ้งติ้ง มองว่าเศรษฐกิจของเจิ้งติ้งต้องพัฒนาไปควบคู่กับการเกษตรแบบมีเอกลักษณ์ของเจิ้งติ้ง ด้วยเหตุนี้เขาจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงระดับชาติมาแนะแนวการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทและตัวเขาก็ยังเคยนำทีมเจ้าหน้าที่อำเภอไปศึกษาและเรียนรู้จากพื้นที่ที่พัฒนาเศรษฐกิจได้ค่อนข้างเร็วอีกด้วย ในที่สุดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ปี 1984 นายสี จิ้นผิง ได้เสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ “แบบกึ่งชานเมือง” ในการประชุมกิจการงานของคณะกรรมการพรรคฯ ประจำอำเภอ โดยเน้นย้ำว่าวิธีนี้จะเป็นการพัฒนาที่ทำให้อัตลักษณ์ของเจิ้งติ้งยังคงอยู่

ทั้งผู้บริหารทั้งประชาชนต่างมีคำถามว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ“แบบกึ่งชานเมือง” นี้เป็นอย่างไร  อธิบายง่าย ๆ ก็คือด้วยความที่อำเภอเจิ้งติ้งมีคนมาก ชัยภูมิดีแต่ที่ดินน้อยถ้าพึ่งพาการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่การพัฒนาที่ถูกต้อง แต่ถ้ามีการเกษตร อุตสาหกรรม และค้าขาย เข้ามาประกอบกันใช้ข้อได้เปรียบในด้านชัยภูมิเข้ามาประกอบด้วยก็จะทำให้เกิดการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ นายสี จิ้นผิง ยกตัวอย่างว่าอำเภอเมืองเจิ้งติ้งซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะกรรมการพรรคฯ และรัฐบาลของอำเภอ อยู่ในตำแหน่งที่เทียบเท่ากับชานเมืองสือเจียจวง ตำแหน่งเขตชานเมืองในทางภูมิศาสตร์และระบบที่มิใช่เขตชานเมืองในด้านการบริหาร เป็นปัจจัยที่กำหนดให้เจิ้งติ้งจำเป็นต้องใช้วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจ”แบบกึ่งชานเมือง”  สรุปง่าย ๆ คือ “เมืองต้องการอะไร เราก็ปลูกแบบนั้น เมืองต้องการอะไร เราก็แปรรูปสิ่งนั้น” นี่คือสิ่งที่สี จิ้นผิง นำเสนอ

ในระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ “แบบกึ่งชานเมือง” สี จิ้นผิงได้สรุป “ประสบการณ์ 20 ตัวอักษร ” อันได้แก่ทำในสิ่งที่ผู้อื่นชื่นชอบ ตอบสนองความต้องการ เรียนรู้สิ่งที่ดีของผู้อื่น เติมเต็มในสิ่งที่ขาด ปรับตัวตามการปลี่ยนแปลง

ต่อมาในเวลาไม่นานตำบลหลายแห่งที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เมืองฉือเจียจวงใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์จนกลายเป็นตำบลต้นแบบแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ”แบบกึ่งชานเมือง” พื้นที่นี้ไม่เพียงแต่ร่วมมือกับเขตเมืองสือเจียจวงในการผลิตวัตถุดิบอุตสาหกรรมเคมี อุปกรณ์เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เท่านั้น หากยังดำเนินการผลิตและส่งมอบสินค้าต่างๆ ให้กับเขตเมืองโดยตรงอีกด้วย เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ นมวัว เนื้อสัตว์ เห็ด ดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการประกอบธุรกิจภาคบริการต่างๆ เช่น ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำกรอบผลงานอักษรศิลป์และภาพวาด และอาหารพื้นเมือง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ได้อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองเอกของมณฑลเหอเป่ย และยังทำให้ทรัพยากรเงินทุนในเมืองหลั่งไหลไปสู่ชนบทและเกษตรกรอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

การพัฒนาเศรษฐกิจ “แบบกึ่งชานเมือง” ช่วยให้อำเภอเจิ้งติ้ง “ไม่ทิ้งเมือง ไม่ละเลยชนบท อำนวยประโยชน์แก่เมืองสร้างความมั่งคั่งสู่ชนบท” เมื่อปี 1984 ดัชนีชี้วัด 9 ประการซึ่งรวมถึงยอดมูลค่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมและการเกษตร และรายได้เฉลี่ยต่อหัวของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 1 เท่าจากปี 1980 ส่วนดัชนีชี้วัดอีก 10 ประการซึ่งรวมถึงผลผลิตธัญพืชทั้งหมดและยอดการค้าปลีกสินค้าทางสังคมก็ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

สร้างตำหนัก “หรงกั๋วฝู่” ต้นแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอเจิ้งติ้ง -เส้นทางสีจิ้นผิง(3)