บทวิเคราะห์ : จีนปรับนโยบายป้องกันโควิด-19 ตามเวลาและสถานการณ์สะท้อนให้เห็นถึงหลักวิทยาศาสตร์อย่างตรงจุด ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างกว้างขวาง

0
1

ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมเป็นต้นมา จีนปรับนโยบายป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากโรคติดต่อระดับ A เป็นระดับ B นับเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกหลังจากจีนดำเนินนโยบายป้องกันโควิด-19 ตามโรคติดต่อระดับ A มาแล้ว 3 ปีตั้งแต่ต้นปี 2020

3 ปีที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 พรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนยืนหยัดความปลอดภัยชีวิตของประชาชนอยู่เหนือสุด กำหนดนโยบายตามหลักวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับเวลาและสถานการณ์ ในขณะที่ต่อสู้กับไวรัสที่กลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง จีนยังเน้นการป้องกัน การศึกษาวิจัย การสรุป และการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์อย่างสมเหตุสมผล พร้อมเดินหน้าปรับนโยบายป้องกันโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

บ่ายวันที่ 11 มกราคม2023 สมาคมการทูตสาธารณะของจีนได้จัดงานสัมมนา ในงานนี้ นายเหลียง ว่านเหนียน นักวิชาการมหาวิทยาลัยชิงหวา หัวหน้าแผนกผู้เชี่ยวชาญกลุ่มชั้นนำงานด้านการรับมือและจัดการสถานการณ์โควิด-19 แห่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนตอบคำถามผู้สื่อข่าวจากสื่อมวลชนต่างชาติหลายแห่งว่า การปรับนโยบายป้องกันโควิด-19 ของจีนไม่ใช่การปล่อยปละละเลย แต่จะเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพและมีความเจาะจงมากขึ้น เพื่อมีความสมดุลระหว่างการป้องกันโควิด-19 และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม คุ้มครองความปลอดภัยด้านชีวิตและสุขภาพของประชาชน

นายเหลียง ว่านเหนียน ระบุ การปรับนโยบายป้องกันโควิด-19 ของจีนมีเหตุผลจากปัจจัย 3 ด้าน

ประการแรก วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสโควิด-19​ ความสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน และระดับการระบาดของไวรัส ตลอดจนผลที่เกิดจากโรค

ประการที่สอง ระดับภูมิคุ้มกันของประชาชน ความสามารถในการรักษาพยาบาลและศักยภาพการรองรับระบบสาธารณสุข

ประการที่สาม มาตรการด้านสาธารณสุขทางสังคม

นายเหลียง ว่านเหนียน กล่าวว่า เวลานี้จะพบได้ว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ของประชาชนำลังยกระดับมากขึ้น ความสามารถในการรักษาพยาบาลของระบบสุขภาพอนามัยกำลังเพิ่มขึ้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องปรับมาตรการด้านสาธารณสุขห้เหมาะสม ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา จีนปรับแผนการมาโดยตลอด โดยแผนการรักษาพยาบาลออกมาตั้งแต่ฉบับแรกถึงฉบับที่ 10 ป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

เรื่องที่ต้องเน้นอีกคือ 3 ปีมานี้ จีนต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 ไม่เพียงแต่คุ้มครองความปลอดภัยชีวิตและสุขภาพของประชาชนจีนให้ดี หากยังสร้างคุณูปการสำคัญให้กับการต่อสู้กับโควิด-19 ทั่วโลก ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดสถานการณ์โควิด-19 จีนให้ความร่วมมือแบ่งปันข้อมูลกับองค์การอนามัยโลกและประเทศต่าง ๆ เป็นประเทศแรกที่ยืนยันเชื้อโรคและแบ่งปันลำดับพันธุกรรมของไวรัส และสร้างกลไกแลกเปลี่ยนทางเทคนิคกับองค์การอนามัยโลก เฉพาะ 1 เดือนมานี้ จีนก็มีการแลกเปลี่ยนทางเทคนิคกับองค์การอนามัยโลกถึง 5 ครั้งและมีการโทรศัพท์กับองค์การอนามัยโลก 1 ครั้ง นับเป็นคุณูปการของจีนที่มีต่อการต่อสู้กับไวรัสทั่วโลก ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง

วันที่ 14 มกราคม 2023 นายหม่า เสี่ยวเหว่ย ผู้อำนวยการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนมีการโทรศัพท์กับนายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าด้วยงานป้องกันสถานการณ์โควิดค-19 ในเวลานี้ โดยสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยและนายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ชื่นชมอย่างมากกับความพยายามของจีนในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ขอบคุณที่จีนดำเนินการแลกเปลี่ยนทางเทคนิคกับองค์การอนามัยโลกและแบ่งปันข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ในระยะยาว

โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทางเทคนิคว่าด้วยการป้องกันโควิด-19 รักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุขทั่วโลกร่วมกัน

สำหรับจีนปรับนโยบาป้องกันโควิด-19 เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายประเทศออกมาตรการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน และต้อนรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวจีนอย่างอบอุ่น วันที่ 9 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยนำคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อต้อนรับผู้โดยสารที่เดินทางจากจีนถึงไทยเที่ยวบินแรกหลังจากจีนใช้นโยบายป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่อระดับ B และส่งมอบกระเป๋าสู้โควิด-19 และพวงมาลัยให้กับผู้โดยสาร ในสนามบินยังขึ้นป้ายคำว่า จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน

โดยประเทศไทย มัลดีฟส์ บรูไน รัสเซีย กัมพูชาต่างพากันหวังว่าจะฟื้นฟูเที่ยวบินตรงให้มากขึ้นโดยเร็ว รอคอยการเยือนของนักท่องเที่ยวจีนเป็นอย่างยิ่ง โดยเรื่องดังกล่าวแสดงถึงความเชื่อมั่นและการสนับสนุนกับนโยบายต่อสู้กับโควิดของจีน ก็สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ฉินมิตรระหว่างจีนกับประเทศเหล่านี้ด้วย

การที่จีนปรับนโยบายป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากโรคติดต่อระดับ A เป็นระดับ Bเป็นมาตรการวางแผนโดยรวมการป้องกันโควิด-19 กับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะนำมาซึ่งผลประโยชน์กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก

เมื่อไม่นานมานี้ นายบอร์เก เบรนเด ประธานสภาเศรษฐกิจโลกกล่าวว่า การที่จีนปรับนโยบายป้องกันโควิด-19 จะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจอีก มีส่วนช่วยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศเห็นว่า ปี 2023 เศรษฐกิจจีนจะมีการเติบโตอย่างมั่นคง กลายเป็นปัจจัยเชิงบวกมากที่สุดสำหรับเศรษฐกิจโลก

ในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ของจีนมีแนวโน้มดีขึ้นในภาพรวม ระเบียบการผลิตและการใช้ชีวิตก็เริ่มฟื้นฟูจนเป็นปกติ พลวัตและศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคมจีนจะได้รับการขับเคลื่อน เพิ่มความเชื่อมั่นและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้มากขึ้น

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)