บทวิเคราะห์ มองการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีนจากสะพาน

0
1

ในกระบวนการพัฒนาอย่างมีคุณภากสูงของจีน การก่อสร้างสะพานของจีนมีคุณภาพสูงพอๆกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีน และเป็นความภาคภูมิใจของจีน

จีนเป็นประเทศที่มีภูเขาและลำน้ำมากมาย ดังนั้น จึงมีการสร้างสะพานมากมายในพื้นที่ต่าง ๆ จากสถิติพบว่า ปัจจุบัน  จีนมีสะพานที่ทันสมัยจำนวนกว่าหนึ่งล้านสะพาน สะพานที่พาดภูเขา และข้ามลำน้ำเหล่านี้ได้อำนวยความสะดวกต่อการเดินทางและการลำเลียงขนส่ง นครฉงชิ่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีสมญานามว่า นครแห่งสะพานของจีน โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำถึง 37 สะพาน

การก่อสร้างสะพานได้แสดงให้เห็นถึงระดับของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศักยภาพของประเทศหนึ่ง ในแวดวงการก่อสร้างสะพานทางสากลระบุว่า เมื่อทศวรรษ 1970 เทคโนโลยีการก่อสร้างสะพานต้องยกนิ้วให้ยุโรป และอเมริกา ถึงทศวรรษ 1990 ญี่ปุ่นนำหน้าการก่อสร้างสะพานของโลก หลังย่างเข้าศตวรรษที่ 21 การก่อสร้างสะพานของจีนได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก ไม่ว่าการออกแบบ เทคโนโลยี และวัตถุดิบ การก่อสร้างสะพานของจีน ล้วนอยู่ระดับนำหน้าโลกสะพานตันคุน เป็นสะพานทางรถไฟความเร็วสูงที่ตั้งอยู่ในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน มีความยาว 164.851 กิโลเมตร จีนลงทุนเป็นเงิน 30,000 ล้านหยวนในการก่อสร้างสะพานนี้ โดยใช้แรงงานนับหมื่นคนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี สะพานนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2011 นับเป็นสะพานยาวที่สุดของโลก

ส่วนสะพานข้ามทะเลที่เชื่อมเมืองจูไห่-เขตฮ่องกง-เขตมาเก๊า มีความยาว 55 กิโลเมตร สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2017 ถือเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดของโลก สะพานแห่งนี้ได้แสดงบทบาทสำคัญในการเร่งการพัฒนาของอ่าวจูไห่-ฮ่องกง-มาเก๊า ช่วงกว้างของสะพานเป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดเทคโนโลยี

การก่อสร้างสะพาน สะพานข้ามแม่น้ำแยงซีฮู่ซูทงที่ตั้งอยู่ในมณฑลเจียงซูมีความยาว 11.072 กิโลเมตร ส่วนช่วงกว้างของสะพานแห่งนี้มีถึง 1,092 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเป็นสองชั้นคือ ชั้นทางหลวงและชั้นทางรถไฟ ถือเป็นสะพานแขวนที่มีสายเคเบิลสองชั้นสะพานแรกของโลก สะพานแห่งนี้ได้เร่งการพัฒนาความเป็นหนึ่งเดียวกันของภูมิภาคดินดอนสามยมเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีมณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเป็นเขตภูเขา ปีหลัง ๆ มานี้ มณฑลกุ้ยโจวขจัดความยากลำบากต่าง ๆ ได้สร้างสะพานกลางเขตภูเขาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน มณฑลกุ้ยโจวมีสะพานใหญ่น้อยจำนวนกว่า 30,000 สะพาน ซึ่งมีสะพานหลายประเภท แทบครบครัน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สะพาน ตัวอย่างเช่น สะพานข้ามแม่น้ำเป่ยผันเจียงในมณฑลกุ้ยโจวมีความยาว 1,314.4 เมตร ดาดฟ้าสะพานอยู่เหนือแม่น้ำถึง 565.4 เมตร  ซึ่งเทียบเท่าอาคารที่มีความสูง 200 ชั้น  กินเนสส์บุ๊กรับรองว่า สะพานแห่งนี้เป็นสะพานที่สูงที่สุดในโลก สะพานกันซี มณฑลกุ้ยโจว เป็นสะพานใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือนธันวาคมปี  2022 โดยมีความยาว 1,220 เมตร สะพานแห่งนี้ได้ประหยัดเวลาการเดินทางจากเดิม 40 นาทีเหลือ 2 นาทีในปัจจุบัน แต่การก่อสร้างสะพานยากมากและมีความเสี่ยงสูงมาก

บริษัท ไชน่าเรลเวย์ เมเจอร์บริดจ์ เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด(CHINA RAILWAY MAJOR BRIDGE ENGINEERING GROUP CO.,LTD. : MBEC) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1953 เป็นบริษัทที่ได้ก่อสร้างสะพานจำนวนมากที่สุดของจีน โดยได้สร้างสะพานทั้งในจีนและต่างประเทศจำนวนกว่า 2,000 สะพาน บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการศึกษาวิจัย การสำรวจ การออกแบบ และการก่อสร้างสะพาน ตลอดจนผลิตเครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างสะพานอีกทั้งมีความเหนือกว่าในการก่อสร้างสะพานในสถานที่ที่มีสภาพทางธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่สลับซับซ้อน บริษัทนี้ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้สมเหตุสมผล อนุรักษ์ระบบนิเวศ ประหยัดพลังงาน สีเขียว และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้ก่อสร้างสะพานในเวียดนาม เมียนมา บังคลาเทศ อินเดีย  ปากีสถาน ตุรกี  ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และอีกหลายประเทศ จึงได้สร้างชื่อในตลาดการก่อสร้างระหว่างประเทศ ค.ศ. 2018 บริษัท MBEC ได้ช่วยก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามทะเลที่มัลดีฟส์ ยอดการลงทุนของสะพานแห่งนี้คิดเป็นเงิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ จีนออก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนมัลดีฟส์ลงทุนเพียง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นสะพาน B-I เป็นโครงการช่วยเหลือฟรีของรัฐบาลจีนที่มีต่อฟิลิปปินส์ สะพานแห่งนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ปริมาณการจราจรเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 30,000 คัน ช่วยให้การเดินทางของคนท้องถิ่นราบรื่นขึ้นปัจจุบัน สะพานกลายเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับโลก ในจำนวนนี้ มีสะพานหลายแห่งที่บริษัทจีนก่อสร้างขึ้นได้กลายเป็นหลักเขตโพ้นทะเล สะพานเมืองปีนัง มาเลเซีย สะพานปัทมา บังกลาเทศ สะพานโมรอคโค และสะพานอื่น ๆ ที่ได้สร้างเสร็จแล้วหรือกำลังก่อสร้างอยู่นั้น ต่างแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีและความสามารถในการก่อสร้างสะพานของจีน

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)