ส่องไอเดียการออกแบบอาคารผู้โดยสารสนามบินฉางชุน หลงเจีย มณฑลจี๋หลิน

0
1

MAD Architects โดย  Ma Yansongสถาปนิกชื่อดังของจีน เผยภาพจำลองการออกแบบอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติฉางชุน หลงเจีย (ChangchunLongjia) มณลจี๋หลิน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่ชนะการประกวดการออกแบบอาคารผู้โดยสาร โครงการขยายท่าอากาศยานนานาชาติฉางชุน หลงเจีย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง MAD Architects และ China Airport Planning & Design Institute Co. และ Beijing Institute of Architectural Design Co.

Ma Yansong เล่าถึงแนวคิดการออกแบบอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ของท่าอากาศยานฉางชุน หลงเจียว่า อาคารผู้โดยสารสนามบินฉางชุนหลงเจียมีพื้นที่เกือบ 270,000 ตารางเมตรกาออกแบบได้รับแรงบันดาลใจากธรรมชาติดังภาษาจีนที่ว่า ซานสุ่ย (山水) ซึ่งหมายถึงภูเขา และน้ำ อาคารจึงถูกออกแบบให้เป็น “Garden Airportดูสงบ โปร่ง โล่ง เมื่อมองจากมุมสูง จะเห็นรูปลักษณ์ของตัวอาคารดูเหมือน “ขนนกที่ลอยอยู่” ตัวอาคารออกแบบโดยใช้โทนสีสีขาวและทอง ออกแบบให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้ามาในอาคาร ผนวกกับระบบแสงไฟของอาคาร ที่ทำให้เป็นสีทองสง่างาม ภายในเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวเสมือนถูกโอบล้อมท่ามกลางธรรมชาติ

ในด้านการใช้งาน มีการออกแบบโครงสร้างทางเดินแบบสามแฉก โดยเครื่องบินสามารถจอดโดยรอบได้ถึง 54 ประตู นอกจากนี้ อาคารยังเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร 2 แห่งของสนามบิน และชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนของเมืองฉางชุน ทั้งรถยนต์และรถไฟความเร็วสูง โดยผู้ออกแบบระบุว่า แนวคิดการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งขนาดใหญ่ในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนในการออกแบบการใช้พื้นที่สาธารณะ ที่ต้องคำนึงทั้งเรื่องความมีศิลปะและการใช้ประโยชน์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานฉางชุน หลงเจียกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดของมณฑลจี๋หลิน และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 22 ล้านคนต่อปี

แนวคิดการก่อสร้างอาคารของท่าอากาศยานฉางชุนหลงเจีย สอดคล้องกับแผนการขยายท่าอากาศยานทั่วประเทศจีน โดยท่าอากาศยานแต่ละแห่งจะได้รับการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทันสมัย เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการออกแบบของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ  ดังเช่น การก่อสร้างท่าอากาศยานก่อนหน้านี้ อย่างท่าอากาศยานนานาชาติต้าซิงของปักกิ่ง ที่ออกแบบโดย Zaha Hadid สถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับโลก ออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายปลาดาว และสนามบินนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ ที่ออกแบบให้เป็นรูปนกกางปีก เป็นต้น

รัฐบาลจีนมีแผนการขยายเครือข่ายการขนส่งที่จัดทำเมื่อปีพ.ศ. 2564 มีเป้าหมายที่จะมีท่าอากาศยาน 400 แห่งเพื่อใช้งานภายในปีพ.ศ.2578 จากปีพ.ศ. 2563 ที่มีท่าอากาศยานเปิดให้บริการจำนวน 241 แห่งแนวคิดการออกแบบอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานฉางชุน หลงเจีย จึงสะท้อนให้เห็นถึงการวางแผนในการสร้างโครงข่ายคมนาคมทางอากาศที่ครอบคลุมเมืองต่างๆ ของจีน ด้วยการออกแบบอาคารท่าอากาศยานที่คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ชาวเมืองและผู้โดยสาร

บทความ : ประวีณมัย บ่ายคล้อย