ครั้งแรกในไทย! นิทรรศการศิลปะที่จะพาคุณทะลุมิติเข้าไปในดินแดนหลังคาโลก

0
81

ความงามของพระราชวังโปตาลาอันยิ่งใหญ่ ยอดเขาหิมาลัยอันสูงตระหง่าน วัฒนธรรมอันโดดเด่นของทิเบต และอื่นๆ อีกมากมาย ได้มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ ประเทศไทย ในงาน “นิทรรศการศิลปะดิจิตอล มรดกทางวัฒนธรรมของทิเบต” ตั้งแต่วันที่ 21-25 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00-22.00 น. ที่ Lifestyle Hall บริเวณชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

โดยนิทรรศการศิลปะนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ทิเบต ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ บนหลังคาโลก” เป็นหนึ่งในโครงการการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจีน ที่จะทำให้ผู้ชมในต่างแดนได้สัมผัสกลิ่นอายและอารยธรรมของทิเบตได้โดยไม่ต้องผ่านการเดินทางอันยากลำบาก

15626545_1847903635425650_1986720417189747233_o

ฯพณฯ หนิง ฟู่ ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยได้กล่าวในพิธีเปิดงานว่า นิทรรศการศิลปะที่ถ่ายทอดออกมาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลเหล่านี้ สามารถทำให้ผู้ชมสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมของชาวทิเบตในเบื้องต้น พร้อมกล่าวว่ายินดีต้อนรับมิตรสหายพี่น้องชาวไทยทุกท่านให้มาเยือนทิเบตด้วยตนเอง เพื่อมาสัมผัสวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และความเปลี่ยนแปลงต่างๆนับตั้งแต่มีการปฎิรูปและเปิดประเทศ

ฯพณฯ หนิง ฟู่ ขุย ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึง การอนุรักษ์ และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของทิเบตเป็นอย่างมาก ซึ่งตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวไทยและชาวต่างชาติจากประเทศต่างๆ จะได้ลองไปเที่ยวและสัมผัสกับความเป็นทิเบตแท้ๆ ด้วยตนเอง

s__35266570

15658068_10153998340402181_1185308634_o

ส่วนนายหมิงต้าจุน ผู้บริหารทีมข่าวสำนักข่าวซินหัวประจำกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า งานนิทรรศการในครั้งนี้ใช้ภาพจากทีมนักข่าวของสำนักข่าวซินหัวมาบูรณาการเข้ากับเทคโนโลยีดิจิตตอลเพื่อที่จะถ่ายทอดเสน่ห์และเอกลักษณ์ของทิเบตให้กับผู้ชมชาวไทยได้อย่างเต็มที่ พร้อมกล่าวว่าตนหวังว่านิทรรศการในครั้งนี้จะช่วยเป็นเสมือนหน้าต่างบานเล็กๆ ที่เปิดมุมมองภาพของทิเบตให้ชาวไทยที่ยังไม่เคยไปเยือนทิเบตมาก่อน รวมถึงทำให้ภาพความทรงจำเก่าๆของคนไทยที่เคยไปเที่ยวทิเบตหวนกลับมาอีกครั้ง อีกทั้งยังหวังให้พี่น้องชาวไทยติดตามเรื่องราวของทิเบตทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอีกด้วย

จุดเด่นที่แตกต่างจากงานนิทรรศการศิลปะทั่วไปของนิทรรศการในครั้งนี้คือ จะมีการนำเทคโนโลยี VR เทคโนโลยี AR เทคโนโลยีโฮโลแกรม เทคโนโลยีโฟโต้อิเล็กทริค และเทคโนโลยีรุ่นใหม่อื่นๆ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและเสน่ห์ของทิเบตให้กับผู้เข้าชม โดยผู้ที่สนใจสามารถสัมผัสกับพระราชวังโปตาลา ทะเลสาบยัมดรก และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในมุมมอง 360 องศา ผ่านเทคโนโลยี VR และเทคโนโลยีเสมือนจริงอื่นๆ เหมือนได้หลุดไปในดินแดนหลังคาโลกด้วยตนเอง

15682382_10153998340867181_516895032_o 15682519_10153998340567181_1080843752_o 15682312_10153998340582181_1348870367_o

“นิทรรศการศิลปะดิจิตอล มรดกทางวัฒนธรรมของทิเบต” จะจัดแสดงขึ้นทั้งหมดใน 5 ประเทศที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทิเบต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เทคโนโลยีการจัดแสดงดิจิตอลที่ทันสมัยในการนำเสนอวัฒนธรรมที่หลากหลายและเอกลักษณ์ของทิเบต ออกสู่สายตาผู้ชมในหลายๆ ประเทศ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมไปถึงเผยแพร่วัฒนธรรมของทิเบตให้ชาวโลกรู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยจะเป็นสถานีแรกของนิทรรศการศิลปะดิจิตอลในครั้งนี้

วัฒนธรรมทิเบตเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประเทศจีน และเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่าของวัฒนธรรมโลก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทิเบตมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ไม่เหมือนใคร ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมทิเบตจึงไปเยือนทิเบตได้ยาก ส่งผลให้ผู้ที่สนใจหลายร้อยล้านคนสัมผัสทิเบตได้จากรูปภาพ ข้อความ วิดีโออันน้อยนิดในโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ไม่มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับทิเบตของจริงอย่างใกล้ชิด

15657886_10153998341102181_653177476_o

15697149_10153998340862181_123857168_o

ทั้งนี้ โครงการ “นิทรรศการศิลปะดิจิตอล มรดกทางวัฒนธรรมของทิเบต” ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 นำโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกรมประชาสัมพันธ์ของเขตปกครองตนเองทิเบต และอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัท China Mobile สาขาทิเบต ยังได้ร่วมกับสำนักข่าวซินหัวและศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมทิเบต และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ

15659002_10153998341147181_90907738_o

15696198_10153998340727181_1032940811_o 15682019_10153998340572181_566373847_o 15682010_10153998340882181_1852119133_o 15658979_10153998340442181_1651802615_o 15658854_10153998340377181_1084059592_o 15658582_10153998340857181_1667659796_o15657856_10153998340992181_671938945_o