แนวโน้มตลาดสินค้าผู้สูงอายุจีน โอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทย

0
1129

แนวโน้มตลาดสินค้าผู้สูงอายุจีน โอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทย

1.ตลาดผู้สูงอายุของจีนในปัจจุบัน

หลังจากเศรษฐกิจของประเทศจีนได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และรายได้ของประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยได้รับการพัฒนา ทำให้ผู้สูงอายุชาวจีนมีอายุยาวขึ้นตามไปด้วย จากสถิติล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศจีนได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนประมาณ 220 ล้านคน และคาดว่า ตั้งแต่ปี 2558 – 2578 จำนวนผู้สูงอายุชาวจีนจะสูงถึงร้อยละ 20 และในปี 2593 จำนวนผู้สูงอายุของจีนจะคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุชาวจีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ความต้องการสินค้าสำหรับผู้สูงอายุชาวจีนก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ กระทรวงกิจการพลเรือนและสวัสดิการสังคมคาดว่า ในปี 2593 ความต้องการการบริโภคของผู้สูงอายุชาวจีนจะมีมูลค่าสูงถึง 800,000 ล้านหยวน

2.ความต้องการบริโภคของผู้สูงอายุ

ในอดีตผู้สูงอายุชาวจีนส่วนใหญ่ เมื่อครั้งอยู่ในวัยทำงานจะใช้ชีวิตแบบประหยัด อดออม จากการสำรวจพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในเมืองร้อยละ 43 มีเงินออม และบางส่วนยังได้รับค่าเลี้ยงดูจากบุตรธิดา จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีอายุจำกัด แต่เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศจีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รายได้ของประชากรเพิ่มสูงขั้น และระบบสวัสดิการสังคมปรับปรุงดีขึ้น จึงทำให้กำลังซื้อของผู้สูงอายุสูงขึ้น และพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลง คือ การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพและจิตใจ จึงทำให้มีความต้องการในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น สินค้าสุขภาพ อาหาร เสื้อผ้า บริการทางการแพทย์ การท่องเที่ยว และความบันเทิง เป็นต้น ส่วนอีกปัจจัยคือ การรับเอาวัฒนธรรมและแนวคิดทางตะวันตกเข้ามาในสังคม และการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า โดยแนวโน้มสินค้าที่ผู้สูงอายุชาวจีนต้องการคือสินค้าระดับบน คุณภาพสูง และมีความเป็นตัวของตัวเอง

3.พฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุชาวจีนมีลักษณะ 8 ประการ ได้แก่

3.1. มีความสามารถในการตัดสินใจบริโภคด้วยตนเองสูง เนื่องจากมีรายได้ของตนเอง จึงมีความสามารถในการตัดสินใจบริโภคด้วยตนเอง

3.2. ความเคยชินกับสิ่งที่เคยบริโภค และยังเลือกที่จะบริโภคสิ่งนั้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากกลุ่มวัยรุ่น/วัยทำงานที่ยอมรับสินค้าใหม่ได้ง่ายกว่า

3.3. ต้องการความสะดวกสบายในการบริโภค นิยมสินค้ามีคุณภาพสูงและบริการที่ดี รวมถึงใช้แล้วสบายใจ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการบำรุงรักษา จึงจะได้รับความนิยมจากผู้สูงอายุมาก

3.4. การใช้งานของสินค้า นอกจากเน้นด้านคุณภาพของสินค้าแล้ว การใช้งานอย่างสะดวก ราคาเหมาะสม และมีความปลอดภัยของสินค้ายังเป็นปัจจัยที่สำคัญ

3.5. ตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้าอยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย ผู้สูงอายุมักเลือกร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าที่อยู่ใกล้บ้าน และห้างมีบรรยากาศ และการบริการดี รวมทั้งสินค้ามีคุณภาพ

3.6. การชักชวนกันปากต่อปาก ผู้สูงอายุด้วยกันแนะนำว่าดี ก็จะเลือกใช้เช่นกัน

3.7. ชอบการพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ และสินค้าเกี่ยวกับความบันเทิงค่อนข้างสูง เช่น การแต่งกาย การออกกำลังกาย และการท่องเที่ยว เป็นต้น

3.8. การโฆษณาส่งผลระดับปานกลางต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ จากการสำรวจพบว่า การโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้สูงอายุระดับปานกลาง จากการวิจัยพบว่า เห็นว่าการโฆษณามีผลต่อการเลือกซื้อในระดับกลางคือ ร้อยละ 41.9 และเห็นว่าไม่มีผลต่อการเลือกซื้อร้อยละ 22.7 เนื่องจากผู้สูงอายุจะเปรียบราคาและคุณภาพจากหลายๆ ร้านก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

  1. ประเภทสินค้าที่ต้องการ 8 อันดับแรก

4.1. เครื่องแต่งกาย  เช่น เสื้อผ้าและถุงเท้า เป็นต้น เสื้อผ้าจำเป็นต้องเหมาะกับลักษณะทางกายภาพ เนื่องจากร่างกายของผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ความสะดวกสบายเป็นความต้องการพื้นฐานของผู้สูงวัย

4.2. สินค้าเพื่อสุขภาพ ปัจจุบัน ผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพเป็นอย่างมาก เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง อาทิเช่น ใบชา สินค้าอาหารป้องกันโรคเบาหวาน และถั่วต่างๆ เป็นต้น

4.3. ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนไหว เช่น รถไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุ รถเข็น เป็นต้น

4.4. อุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพ เช่น เก้าอี้นวดไฟฟ้า เตียงช่วยออกกำลังให้ผู้สูงอายุ และเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น

4.5. อุปกรณ์ช่วยในการดำรงชีวิต เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยฟัง แว่นสายตา เป็นต้น

4.6. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน/ผลิตภัณฑ์ดิจิตอล และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องโทรศัพท์ มือถือ กล้องถ่ายรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ รีโมททีวี เครื่องฟอกอากาศ เป็นต้น

4.7. ผลิตภัณฑ์นวด เก้าอี้ที่นวดไฟฟ้า อ่างนวดเท้า เป็นต้น

4.8. ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น หนังสือความรู้เกี่ยวกับโรคในผู้สูงอายุ เครื่องนอน สินค้าเฟอร์นิเจอร์ และของขวัญที่แสดงความห่วงใย เป็นต้น

นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบัน ผู้สูงอายุที่มีความต้องการสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.91 ของจำนวนผู้สูงอายุชาวจีนทั้งหมด ร้อยละ 27.44 ต้องการสินค้าอาหาร ร้อยละ 8.72 ต้องการเสื้อผ้าและร้อยละ 27.54 ต้องการอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกและการเดินทางท่องเที่ยว

5.ขอบเขตตลาดผู้สูงอายุในประเทศจีน

 

  1. ช่องทางการจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้สูงวัย

6.1. ร้านจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ สินค้ามีความหลากหลายและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญให้คำอธิบาย และช่วยเลือกซื้อ

6.2. ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีข้อจำกัดคือ สินค้ามีจำนวนน้อย และส่วนใหญ่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ซีเรียล และรังนกแบบขวด สถานที่ใกล้ที่อยู่อาศัย และราคาเป็นธรรม ก็จะได้รับความนิยมจากกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุเป็นอย่างดี

6.3. E – commerce หรือ การซื้อของผ่านออนไลน์ ปัจจุบันการจำหน่ายสินค้าจาก E – commerceขยายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการซื้อสินค้าบนช่องทางดังกล่าว สามารถช่วยประหยัดเวลา และสะดวกในการซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทสินค้ามีจำนวนมาก ราคาถูกกว่าที่ห้างฯ และมีความเชื่อถือในระดับปานกลาง จึงได้รับความนิยมจากผู้สูงอายุมากขึ้น

6.4.TV Shopping เนื่องจากผู้สูงอายุชาวจีนส่วนใหญ่นิยมอยู่บ้านดูโทรทัศน์ จึงทำให้มีสินค้าจำหน่ายบนช่องทางดังกล่าวจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการใช้ดาราโฆษณา จึงช่วยสร้างความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และหากสนใจจะจัดซื้อสินค้าดังกล่าวก็สามารถติดต่อทางโทรศัพท์มือถือได้โดยตรง

6.5. หนังสือพิมพ์ จำนวนประเภทสินค้ามีน้อย และความน่าเชื่อถือไม่สูงมากนัก แต่ยังคงมีผู้สูงอายุบางส่วนนิยมอ่านหนังสือพิมพ์ จึงเป็นช่องทางการจำหน่ายหนึ่งที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุ

  1. การวิเคราะห์โอกาสการขยายตลาด (โดย SWOT Analysis)  

  1. งานแสดงสินค้าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศจีน

ประเทศจีนจะจัดแสดงสินค้าสำหรับผู้สูงอายุในทุกปี เพื่อกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้า/บริการสำหรับผู้สูงอายุ และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าระหว่างนักธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าร่วมงาน เพื่อสำรวจและศึกษาตลาดสินค้าผู้สูงอายุและประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเองจากงานต่างๆ ดังนี้

8.1. Hainan international Aging Industry Expo ระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติมณฑลไหหลำ

8.2. The 15th Shanghai International Exhibition of Rehabilitation Nursing and Healthcare Devices for Disabled Persons and Elderly 2016 ระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม 2559 ณ Shanghai World Expo Exhibition & Convention Center

8.3. 2016 Xi’an Aging Industry & Holistic Health Expo ระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2559 ณ Xi’an Greenland Pico International  Convention & Exhibition Center

8.4. 2016 Nanjing Agedcare  & Abilities Expo ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติเมืองหนานจิง

  1. ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าผู้สูงอายุในประเทศจีน

ผู้ผลิตในประเทศจีนไม่ค่อยมีเวลาให้ความสำคัญกับการวิจัยตลาดผู้สูงอายุ และมีความเข้าใจความต้องการพิเศษของผู้สูงอายุไม่มากนัก จึงทำให้ประเภทสินค้าสำหรับผู้สูงอายุไม่หลากหลาย ขาดตัวเลือก การออกแบบไม่ทันสมัย และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดผู้สูงอายุได้ จากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันสินค้าสำหรับผู้สูงอายุที่ผลิตในประเทศจีนมีไม่ถึงร้อยละ 10 ของจำนวนความต้องการ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าสำหรับผู้สูงวัยกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาขั้นพื้นฐาน จากการสำรวจพบว่า แม้จำนวนผู้สูงอายุในประเทศจีนมีมากกว่าร้อยละ 60 แต่นักธุรกิจจีนกลับให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุไม่มากนัก อีกทั้งยังไม่มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ซึ่งโดยภาพรวม สามารถสรุปปัญหาอุปสรรคได้ดังนี้

9.1. ความแตกต่างของแนวคิดในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การขาดมาตรฐานการผลิต โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าดั้งเดิม เช่น เสื้อผ้า อาหาร เป็นต้น ส่วนสินค้าทันสมัย หรือต้องใช้เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างช้ามาก

9.2.โครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตล้าหลัง ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูง ปัจจุบัน บริษัทที่ดำเนินกิจการในด้านการผลิตสินค้าสำหรับผู้สูงอายุมีไม่มากนัก ความสามารถในด้านการวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการขยายตลาดก็อยู่ในวงจำกัด

นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน 5 ปี ฉบับที่ 12 (ปี 2554 – 2558) ประเทศจีนเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คาดว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจีนยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบบำเหน็จบำนาญในเมืองและชนบทมีการปรับปรุงดีขึ้น และผู้สูงอายุที่เกิดหลังจากปี 2493 จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้สูงอายุมีแหล่งรายได้ของตนเองมากขึ้น และมีแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า กล่าวได้ว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ และความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่นักธุรกิจ หรือผู้ผลิตสินค้าเป็นอย่างมาก

  1. มณฑลเสฉวน – โอกาสตลาดสินค้าผู้สูงอายุ

10.1. สถานการณ์ตลาดผู้สูงอายุในมณฑลเสฉวน

ในปี 2557 ที่ผ่านมามณฑลเสฉวนมีประชากรประมาณ 81.40 ล้านคน และคาดว่าในปี 2583 ผู้สูงอายุ(ตั้งแต่ 60  ปีขึ้นไป) ของมณฑลเสฉวนจะมีสัดส่วนร้อยละ 32.44 ของจำนวนประชากรของทั้งมณฑล จัดเป็นมณฑลที่มีผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับสองในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนครเฉิงตู ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวนมีจำนวนประชากรรวม 12.10 ล้านคนในปี 2557 โดยมีผู้สูงอายุ (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ประมาณ 2.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.6 ของจำนวนประชากรทั้งเมือง สูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของประเทศร้อยละ 5

จากการสำรวจความต้องการด้านบริการดูแลผู้สูงอายุชาวเสฉวนในปี 2558 พบว่า ผู้สูงอายุชาวเสฉวน(รวมทั้งคนอายุกลางคน) ต้องการโครงการบริหารดูแลคนชราอย่างเร่งด่วน โดยบริการตังกล่าว ได้แก่ บริการทางการแพทย์ การออกกำลังกาย และการดูแลชีวิตประจำวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  51.2, 41.3 และ 34.1 นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่าองค์กรหรือหน่วยงานที่ดูแลบุคคลชราภาพ (Pension Agency) ยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น เตียงนอน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบระบบการบริหาร เป็นต้น และสำหรับปัจจัยแรกที่ผู้สูงอายุจะคำนึงถึงก่อนที่จะเลือกใช้บริการองค์กรดูแลบุคคลชราภาพ คือ คุณภาพการให้บริการ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.9 รองลงมาคือเงื่อนไขทางการแพทย์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.9

สรุป : ผู้สูงอายุชาวเสฉวนจำนวนมากต้องการสถานที่ดูแลตนเองอย่างมาก แต่การบริการของสถานบริการสำหรับผู้สูงอายุยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุชาวเสฉวนได้ แสดงให้เห็นว่า สถานบริการคนชราในมณฑลเสฉวนยังคงต้องพัฒนาและปรับปรุง ขณะเดียวกันตลาดสินค้าผู้สูงอายุในมณฑลเสฉวนยังมีโอกาสพัฒนาอีกมาก

10.2.แผนการดูแลคนชราของมณฑลเสฉวน

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การรักษาทางการแพทย์และการดูแลคนชราของมณฑลเสฉวนในทุกมิติ รัฐบาลจึงได้กำหนดแผนการดูแลคนชรา “9073” ขึ้นมา กว่าง ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุจะมีครอบครัวดูแล ร้อยละ 7 ของผู้สูงอายุจะได้รับบริการทางสังคม โดยรัฐยาบจะจัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุไว้ให้บริการ สำหรับอีกร้อยละ 3 คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ จะถูกจัดให้อยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์คนชรา นอกจากนี้ในปี 1557 -2560 สถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐจะมีการเพิ่มเตียงนอนสำหรับผู้สูงอายุจำนวน 21,000 เตียง และสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนจะเพิ่มเตียง 12,900 เตียง

  1. โอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย

11.1. ปัจจุบัน จำนวนผู้สูงอายุชาวจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมณฑลเสฉวน ผู้ประกอบการมีโอกาสที่จะส่งออกสินค้าที่ผู้สูงวัยต้องการสูง เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว ปัจจุบันในมณฑลเสฉวนมีนักธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยได้ให้ความสนใจและส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและผลไม้ไทย อาทิเช่น ขนมขบเคี้ยวผลไม่แปรรูป ข้าวหอมมะลิไทย ทุเรียน มังคุด ลำไย และเครื่องปรุงรส เป็นต้น เข้ามาในตลาดมณฑลเสฉวนแล้ว

11.2. เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญดับสุขภาพอย่างมาก และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและยินดีจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ สินค้าทางการแพทย์ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคก็ตาม โดยผู้สูงอายุจะคำนึงถึงคุณภาพสินค้าเป็นหลัก จึงเป็นโอกาสใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่สามารถผลิตสินค้าตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคสูงอายุได้

11.3. การดูแลคนชราเป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่ครบวงจร ซึ่งรวมทั้งการดูแล การบริการทางการแพทย์ และการท่องเที่ยว เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้สินค้าสำหรับผู้สูงวัยของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดจีน ผู้ส่งออกไทยควรเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม/กลุ่มตลาดใหม่(Niche Market) และร่วมกับผู้ประกอบการจีนประชาสัมพันธ์ให้ข้อมุลการเลือกซื้อสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดราคาสินค้า/ค่าบริการ/การรักษาคุณภาพให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นจากประเทศจีนและต่างประเทศได้

 

 

โดย  สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู  กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

แหล่งที่มา

http://www.60plusthailand.com/

http://www.chyxx.com

http://cjb.newssc.org/html

http://sichuan.3158.cn/info/20151223/n47689103888965.html

http://bg.yjbys.com

http://news.xinhuanet.com/local/2015-05/26/c_1115412735.htm