วิเคราะห์ประเด็นร้อน เมกะโปรเจกต์ “ผันน้ำใต้ขึ้นเหนือ” ของแดนมังกร

0
594
วิเคราะห์ประเด็นร้อน เมกะโปรเจกต์

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 10 ปี “โครงการผันน้ำใต้ขึ้นเหนือ” ของจีนก็ได้ใช้งานจริงครบรอบ 2 ปีแล้ว ซึ่งโครงการระบบอนุรักษ์น้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกโครงการนี้ ได้รับผลตอบแทนแบบบูรณาการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม นิเวศวิทยาแล้วอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อน้ำสะอาดจำนวนมากถูกผันขึ้นเหนือมาเป็นเวลา 2 ปี คำถามที่เกิดขึ้นคือ แหล่งน้ำได้รับผลกระทบอะไรบ้าง?คุ้มค่าหรือไม่กับการลงทุนส่งน้ำเป็นระยะทางไกล?แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะใช้งานได้อย่างยั่งยืน?ลองมาดูคำตอบกัน

วิเคราะห์ประเด็นร้อน เมกะโปรเจกต์ "ผันน้ำใต้ขึ้นเหนือ" ของแดนมังกร

1.ชาวจีนทางภาคเหนือจำนวนมหาศาลได้ดื่มน้ำที่สะอาด
หลี่เหวินหลานชาวบ้านคนหนึ่งในปักกิ่งกล่าวว่า คุณภาพน้ำตอนนี้ดีขึ้นมากไม่เป็นตะกอนเหมือนเมื่อก่อน หลังจากที่น้ำก๊อกไหลดี คนในชุมชนก็ไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำอีกต่อไป หลังจากที่เฟดแรกของการก่อสร้างในโครงการผันน้ำขึ้นเหนือเส้นตะวันออกและเส้นกลางแล้วเสร็จและเริ่มผันน้ำ ปรากฏการณ์ที่หลี่เหวินหลานเจอก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ

สองปีที่ผ่านมามีชาวจีนราว 870 ล้านคนใน 33 เมือง ในปักกิ่ง เทียนจิน มณฑลเหอเป่ย ซานตงและเจียงซูที่ได้ดื่ม “น้ำที่มาจากภาคใต้” โดยทางผันน้ำเส้นกลางในเฟดแรกที่เป็นเส้นหลักได้ผันน้ำไปแล้ว 6.25 พันล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในปัจจุบันอยู่ที่ 6.9 พันล้านลูกบาศก์เมตร) น้ำในส่วนนี้เป็นประโยชน์แก่ชาวจีนจำนวน 47 ล้านคนในปักกิ่ง เทียนจิน มณฑลเหอเป่ยและมณฑลเหอหนาน ส่วนเส้นตะวันออกผันน้ำไปแล้วกว่า 1พันล้านลูกบาศก์เมตร มีชาวจีนที่ได้ประโยชน์จากน้ำส่วนนี้มากกว่า 40 ล้านคน แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของมณฑลซานตงและปัญหาคุณภาพน้ำในหลายๆเมืองของจีนได้เป็นอย่างดี

2.การผันน้ำถือเป็นการสร้างภาระให้ประชาชนจีนหรือไม่?
โครงการนี้สร้างภาระเพิ่มให้กับชาวจีนหรือไม่?จากการคำนวณ ค่าน้ำที่ชาวบ้านต้องจ่ายนั้นไม่เกินร้อยละ 2.0 ของรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงของชาวบ้านในเมือง

ส่วนน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็ไม่เกินร้อยละ 1.5 ของอัตราส่วนระหว่างต้นทุนค่าน้ำและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ยอมรับได้ ส่วนราคาค่าน้ำในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เทียนจิน จะเป็นราคาเท่าทุน แต่ค่าน้ำในมณฑลเหอเป่ย เหอหนาน เจียงซู และซานตงจะขายต่ำกว่าต้นทุนเล็กน้อย

เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า โครงการผันน้ำใต้ขึ้นเหนือไม่เพียงแต่เป็นโครงการส่งน้ำเท่านั้น แต่เป็นการรับประกันคุณภาพน้ำเชิงกลยุทธ์ และยังเป็นการรับประกันว่าเกษตกรจะมีน้ำใช้ เป็นการสร้างความมั่นคงในระยะยาวให้กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

น้ำที่ผันขึ้นมาจากใต้นอกจากจะกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นน้ำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และค่านิยมอีกด้วย

ในส่วนของทางน้ำเส้นกลางนั้นทำให้ตำบลจิ่วฉงในอำเภอซีชวนมณฑลเหอหนานเกิด”การปฏิวัติทางการเกษตร”ครั้งใหญ่เพราะได้น้ำที่มาจากโครงการนี้ ช่วยลดการใช้สารเคมี และเพิ่มผลผลิตทางเกษตรโดยเฉพาะการปลูกพืชไม้พุ่มที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันเพราะทำกำไรงาม

3.แหล่งน้ำและปลายทางได้ผลประโยชน์แบบวิน-วิน

วิเคราะห์ประเด็นร้อน เมกะโปรเจกต์ "ผันน้ำใต้ขึ้นเหนือ" ของแดนมังกร

เคยมีคนตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วงว่าเมื่อน้ำปริมาณมหาศาลขนาดนี้ถูกผันขึ้นเหนือ จะทำให้ระบบนิเวศของแหล่งต้นน้ำได้รับความเสียหายหรือไม่? แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นคือ ต้นน้ำลำธารยังคงดีอยู่เหมือนเดิมอีกทั้งยังช่วยให้ระบบนิเวศของพื้นที่ที่น้ำผันไปถึงดีขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าได้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

วิศวกรในโครงการนี้กล่าวว่า ปริมาณน้ำที่ผันไปให้กับท่อส่งน้ำเส้นกลางและเส้นตะวันออกนั้นมีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 2 ของปริมาณการไหลบ่าเฉลี่ยรายปีของแม่น้ำแยงซีเกียง(9.6แสนล้านลูกบาศก์เมตร) จึงไม่กระทบกับระบบนิเวศของต้นน้ำแต่อย่างใด

ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด ต้นน้ำที่ถูกผันน้ำจะถูกควบคุมมาตรฐานมลพิษอย่างเคร่งครัด ซึ่งปัจจุบันก็สามารถกำจัดมลพิษในน้ำไปได้แล้ว 5 ประเภท รวมไปถึงมีการปกป้องระบบนิเวศและการใช้มาตรการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

ส่วนในพื้นที่ที่ได้รับน้ำ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศนั้นยิ่งเห็นได้ชัดเจน เพราะปริมาณการขุดน้ำใต้ดินในหกมณฑลที่ได้รับน้ำลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดโดยลดลงไปถึง 2.78 ล้านลูกบาศก์เมตร

เมื่อก่อนอ่างเก็บน้ำทะเลสาบหนานหูในซานตงนั้นเคยขึ้นชื่อว่าเป็น “ด่านโหดที่สุดของการควบคุมมลพิษทางน้ำ” และเพื่อที่จะรับประกันคุณภาพน้ำ มณฑลซานตงจึงออกมาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด ภายใน 10 ปี ที่ผ่านมาก็มีผลที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการยกระดับคุณภาพน้ำและขยายการคุ้มครองพื้นที่ต้นน้ำและเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบบนิเวศมากขึ้นเรื่อยๆ

ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองหนานหยางมณฑลหูหนานกล่าวว่า โครงการนี้ช่วยกระตุ้นการสร้างและดูแลระบบนิเวศในพื้นที่ที่น้ำไหลผ่าน ทำให้ทางภาคเหนือของจีนมีภูมิประเทศสีเขียวเพิ่มขึ้นอีกสองสายตลอดแนวทางน้ำ เมื่อมีต้นไม้เพิ่มขึ้น ฝุ่นทรายก็จะลดลง นกน้ำที่ก่อนหน้านี้เห็นได้น้อยก็มีเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ จีนกำลังดำเนินขั้นตอนการติดตามผลและประสิทธิภาพของโครงการดังกล่าว โดยความคืบหน้าของการก่อสร้างเฟดที่ 2 ของเส้นตะวันออกค่อนข้างรวดเร็วและเห็นได้ชัดกว่าของเส้นกลางและเส้นตะวันตก และเมื่อการก่อสร้างเฟดที่สองเสร็จสิ้น ก็จะสามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลายน้ำของแม่น้ำไห่เหอซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของที่ราบหัวเป่ยของจีนได้

ผู้เขียน: โหวเสวี่ยจิ้ง ต่งจิ้ง