กกอ. หารือเครือข่าย UniNet พัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

0
261

รศ.บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในฐานะ CIO กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 34” (34thWUNCA) ณ มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมี ดร.พนม วิญญายอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟ้าหลวง และ รศ.ทรงศักดิ์ มิ่มกระโทก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์วิทยากรและผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก

รศ.บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวในการประชุมว่า การจัดการประชุมการ ดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือ WUNCA ครั้งที่ 34 นั้น สิ่งที่เห็น ชัดเจนคือความร่วมมือของสถาบันการศึกษายังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้เครือข่าย UniNet เป็น เครือข่ายหลักด้านการศึกษาวิจัยของประเทศ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งสามารถรองรับการเชื่อมต่อและ ขยายเครือข่ายได้ตามความต้องการและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา ICT ของโลก มีความสามารถในการ ขยายช่องสัญญาณและเพิ่มความเร็วให้กับสถาบันการศึกษา รวมถึงสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

“สถาบันการศึกษาคงมีคำถามว่าทำไมต้อง Thailand 4.0 แล้วสถาบันการศึกษาต้องปรับตัวหรือ ดำเนินการอย่างไร ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายดังกล่าว Thailand 4.0 จึงได้มีบริบทใน การพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมทุกมิติ ดังนั้นในฐานะที่สถาบันการศึกษา ถือเป็นต้นทางในการผลิตบัณฑิต ซึ่ง ต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเป็นตัวขับเคลื่อนและผลิตนวัตกรรมใหม่ต่อไป” รองเลขาธิการ กล่าวตอนท้าย

ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ พัฒนาการศึกษา กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า ได้รับความร่วมมือจากทีมคณะทำงานของมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ และได้รับเกียรติจาก ผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ นักวิจัยจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานเอกชน มาร่วมพูดคุยและให้ความรู้ โดยมี ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานจำนวนมาก UniNet และคณะผู้จัดยังได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากพี่ สู่น้อง โดยได้เชิญบุคลากรจากโรงเรียนที่ได้รับบริการเครือข่าย UniNet ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดตาก เข้าร่วมกิจกรรมและได้การตอบรับเป็นอย่างดีซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษาวิจัยของไทยจะสามารถขยายผลและมีการถ่ายทอดเทคนิคความรู้ ไปยังการศึกษาระดับอื่นให้เข้มแข็งมากขึ้นในอนาคต