Fuji Xerox ฟันธง Smart Work Gateway คือกลยุทธ์องค์กรในยุค Thailand 4.0

0
359

Fuji Xerox Smart Work Gateway มั่นใจว่าในยุคดิจิทัลนี้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างหลากหลายกลยุทธ์ในทางธุรกิจ  จุดเริ่มต้นความสำเร็จต้องเริ่มจากการการปรับตัวให้เร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก  การเกิดขึ้นใหม่ของผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สภาพแวดล้อมในองค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทต่างๆจึงจำเป็นต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนเพื่อความได้เปรียบในฐานะผู้ปรับเปลี่ยนรายแรก

มร.โคจิ เทสึกะ ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าปี 2560 นี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ฉลองครบรอบ 50 ปีในประเทศไทย โดยได้เปิดตัวแนวคิด “Smart Work Gateway” เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกภาคส่วนปรับการดำเนินธุรกิจให้ก้าวทันกระแสโลก ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจให้พร้อมแข่งขัน และสร้างรายได้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฟูจิ ซีร็อกซ์ทราบดีว่า ยุคนี้ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไหนเวลาใด ผู้บริโภคล้วนแล้วแต่มีการใช้งานข้อมูลจำนวนมาก ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องรองรับ และการจะทำให้ระบบรองรับได้ทันและเพียงพอนั้นถือเป็นความท้าทายใหญ่ ฟูจิ ซีร็อกซ์ เองก็พัฒนาขึ้นจากธุรกิจในยุคแรก โดยเริ่มจาก “การบริการสำเนาข้อมูลลงบนกระดาษ”  จนปัจจุบันมาเป็นบริษัทที่ “ส่งเสริมการสื่อสารอันทรงคุณค่า” เพื่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลายรูปแบบ ฟูจิ ซีร็อกซ์ กลายเป็นองค์กรที่บริการจัดหาโซลูชั่นที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจของลูกค้าเพื่อสร้างคุณค่าขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นภายใต้แนวคิด Smart Work Gateway ของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ สามารถสนับสนุนรูปแบบการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลที่ต้องการความยืดหยุ่น ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลาย และสามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคลของลูกค้าได้

แนวคิด “Smart Work Gateway” เป็นการสร้างระบบการสื่อสารที่ปลอดภัย แต่เปิดกว้าง ผู้คนในระบบจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสารที่ออกแบบมาเฉพาะและเหมาะสมสำหรับความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การทำงานร่วมกับผู้ให้บริการคลาวด์ ฟูจิ ซีร็อกซ์จัดทำระบบนี้ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อยกระดับบทบาทของอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันให้กลายเป็นพอร์ทัลการสื่อสาร ด้วยการเชื่อมโยงอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันเข้ากับบริการคลาวด์ ต่าง ๆ  ระบบจะถูกออกแบบมาให้ทำงานที่หลากหลายและยืดหยุ่น แพลตฟอร์มใหม่นี้เป็นการตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของลูกค้า ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่อุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่นเดิม ไม่สามารถทำได้  ในงานนี้จึงมีการเปิดตัว เครื่องมัลติฟังก์ชัน ApeosPort-VI C / DocuCentre-VI C ซีรีส์ ที่สามารถรองรับการทำงานบนระบบคลาวด์ เชื่อมโยงกับ Cloud Service Hub ได้ นอกจากนี้ Cloud Service Hub จะทำงานร่วมกับ Fuji Xerox Direct Management Console ซึ่งเป็นฟรีซอฟต์แวร์ที่จะแสดงผ่านเว็บไซต์พอร์ทัล Fuji Xerox Direct อันเป็นเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ตต่างๆ ของฟูจิ ซีร็อกซ์ บนเครื่องพีซีของลูกค้า ด้วยซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ ลูกค้าสามารถ ซื้อ ดาวน์โหลด และติดตั้งแอพพลิเคชันสำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายจากศูนย์กลาง ด้วยการลากแล้ววาง (dragging and dropping) และยังสามารถแสดงสถานะของสิทธิ์การใช้งานแอพพลิเคชัน เพื่อการตรวจสอบที่รวดเร็วอีกด้วย

รายงานข่าวโดย สิตานัน ตติพัฒน์วัฒนา  นักศึกษาสาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์