​ปลัด พม. ลงพื้นที่แม่สอด หารือแนวทางคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก

0
177

นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

(ปลัด พม.) เป็นประธานการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พร้อมคณะ โดยมีนายวสันต์ ชำนาญจุ้ย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

ณ ห้องประชุมแม่สอด บอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แม่สอดฮิลล์ รีสอร์ท อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

นายไมตรี กล่าวว่า ด้วยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็น

แนวทางการคุ้มครองเด็ก การสร้างมาตรฐานของศูนย์ต่างๆ ในการเลี้ยงดูเด็ก และการประสานส่งต่อเด็กในกรณีที่เป็นเด็กเมียนมากลับสู่ครอบครัวและภูมิลำเนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดแนวทางในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็ก รวมทั้ง

เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองเด็กจากหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งการประชุมในวันนี้ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจากส่วนกลางและพื้นที่เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการเสนอสภาพปัญหาและสถานการณ์การคุ้มครองเด็กในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งประกอบไปด้วย 

1) ปัญหาการเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ของเด็ก อาทิ สิทธิด้านสถานะบุคคล สาธารณสุข การศึกษา และสิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง 

2) ปัญหาสถานรองรับเด็กเอกชนไม่มีมาตรฐาน โดยไม่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่มีการคัดกรองและจัดทำข้อมูลรายบุคคลของเด็ก ขาดการประสานความช่วยเหลือและส่งต่ออย่างเป็นระบบ ผู้ดูแลเด็กขาดศักยภาพในการเลี้ยงดูเด็กรวมทั้งสถานที่ดำเนินการ

ไม่เหมาะสม 

3) ปัญหาเรื่องการประสานงานกับประเทศต้นทาง โดยขาดระบบการประสานงาน และแนวทางการคุ้มครองเด็กร่วมกัน รวมทั้งขาดคณะทำงานในระดับพื้นที่  

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับจังหวัดตาก และ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนในพื้นที่ ได้หารือและพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วย 3 แนวทาง ดังนี้ 

1) จัดทำแนวทางการคุ้มครองสิทธิเด็กเคลื่อนย้าย โดยให้มีการสำรวจข้อมูล คัดกรอง และประสานงานให้เกิดการคุ้มครองสิทธิเด็กที่ครอบคลุมทุกด้านสอดคล้องตามหลักการสิทธิเด็ก

2) ยกระดับการดำเนินงานของสถานรองรับเด็กเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยพัฒนาศักยภาพของสถานรองรับเด็กให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม กำกับดูแลการดำเนินงานของสถานรองรับ ตลอดจนการพัฒนาทักษะของพ่อแม่และบุคลากรในชุมชนเพื่อลดจำนวนเด็กในสถานรองรับ 

3) การทำงานกับประเทศต้นทาง โดยจัดทำแนวทางการทำงานคุ้มครองเด็กร่วมกันที่ครอบคลุมตั้งแต่

การคัดกรองเด็ก การประสานส่งต่อ และการส่งกลับในกรณีที่ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแล้ว รวมทั้งมีคณะทำงานร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย 

ทั้งนี้ ผลการประชุมหารือครั้งนี้ จะนำไปเสนอให้กับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติต่อไป