ระดมความคิดขับเคลื่อนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

0
213

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 60 ที่ห้องประชุมชัยพฤกษ์ โรงแรมเลยพาเลช จ.เลย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้มีการจัดประชุมติดตามประเมินผลการดำเนินงานและรับฟังความคิดเห็น การดำเนินงานแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558 – 2559 มีนายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ในภาคอีสานร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็น

นายพุฒิพงศ์ สุรพฤกษ์ รองเลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยถึงการจัดประชุมครั้งนี้ว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพอันดับต้นๆของโลก แล้วสิ่งที่เราพบในปัจจุบันความหลากหลายในชีวภาพเหล่านั้นมันเริ่มถดถอยลง และเป็นที่ทราบว่าสาเหตุหลักมาจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล ระหว่างการพัฒนาที่ทำให้มีผลกระทบสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งหนึ่งในสิ่งแวดล้อมก็คือความหลากหลายหลายของชีวภาพของชุมชน ปัจจุบันเรื่องของความหลากหลายจากการประเมินของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เราพบว่าความเสื่อมโทรมของสภาพธรรมชาติทำให้ความหลากหลายลดน้อยถดถอยลง จึงเป็นที่มาของ สผ.ได้ทำแผนปฏิบัติการติดตามการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2559 ที่ผ่านไปแล้ว ว่า แผนการปฏิบัติดังกล่าวซึ่งทำไปมีผลออกมายังไง เพื่อให้มีคำตอบ เดินแผนแม่บทหลักของความหลากหลายที่ชีวภาพที่ ประเทศไทยได้ลงนามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในเวทีโลก ซึ่งหนึ่งในหลักของภาคีทุกประเทศจะต้องทำกลยุทธและแผนปฏิบัติ ซึ่งของไทยเราได้ทำเป็นเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีแผนแม่บทแล้ว เราจึงได้กำหนดแผนปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อดูว่าเราได้ปฏิบัติได้ตามแผนแม่บทได้ผลหรือเปล่า

ในการประชุมในวันนี้เพื่อมาทำการประเมิน ดูภาคส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำการเลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ในแผนที่เราได้ทำไปในปี 2558- 2559 จะมีผลสะท้อนไปถึงแผนแม่บทหรือเปล่า การจัดการประชุมครั้งนี้เราคาดหวังจะได้รับมุมมองทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมประชุม เพื่อเป็นการวัดผลสะท้อนและมีช่องโหว่ของแผนการปฏิบัติงานมีอยู่จุดไหน ซึ่งเราจะมีการจัดประชุมทั้งหมดทั้ง 4 ภาค เอาผลที่ได้มาปรับกระบวนการ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติชุดใหม่ในปี 2560-2564 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ครม.เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อจะทำให้แผนนี้ได้ขับเคลื่อนไปต่อแผนแม่บทของประเทศ ต่อไป

ส่วนในประเด็นของความหลากหลายชีวะภาคในจังหวัดเลย จะเห็นว่าปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีการอยู่อาศัยใกล้เขตป่า และการขยายตัวพื้นที่ทำการเกษตร จึงหลีกหนีไม่พ้นกับวิถีชีวิตของสัตว์ป่า อย่างกรณีเรื่องของช้าง ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง  ที่มีช้างลงทำร้ายคนและกินพืชพันธุ์ของชาวบ้าน ความจริงช้างป่าเขามีเส้นทางหากินของเขาอยู่ แต่เราได้รุกเข้าไปทำการเกษตรใกล้ป่า และได้ปลูกพืชที่เป็นอาหารช้าง ช้างก็เริ่มจะสะดวกจากเดิมต้องเข้าไปหากินในป่าลึก ประกอบกับความแห้งแล้ง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ความสมบูรณ์อาหารในป่าก็น้อยลง สัตว์ป่าก็จะหาแหล่งอาหารใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้น หาแหล่งอาหารง่ายขึ้นที่มนุษย์ปลูกไว้ เช่นอ้อย กล้วย นั้นจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เหมือนกับช้างมาทำร้ายและสร้างความเสียหายให้ ความจริงเราเข้าไปบุกรุกและอยู่ใกล้เขา ฉะนั้นแนวทางภาครัฐป้องกันเราเห็นความสำคัญของคนและสัตว์ ความหลากหลายของชีวิตยังคงอยู่ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ก็ต้องพยายามหลีกผลกระทบ ในหลักการของกระทรวงทรัพย์ คือใช้หน่วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ความรู้กับคนที่อยู่ใกล้เคียง และพยายามสร้างแนวกันชน พร้อมกับไปเพิ่มความสมบูรณ์ในป่าลึกเป็นแหล่งอาหารช้าง เพื่อให้ช้างเข้าไปอยู่ป่าลึก เปลี่ยนวิถีชีวิตระหว่างช้างกับคนมีผลกระทบกันน้อยลง แต่ทั้งนี้ประชาชนต้องเข้าใจว่า การบุกรุกหรือการขยายพื้นที่ทำการเกษตรผลกระทบในระยะสั้นอาจมองไม่เห็นแต่ในระยะยาวจะมีผลกระทบที่เป็นมุมกว้าง ถ้ามนุษย์ยังคงบุกรุกป่าปัญหาก็ไม่มีวันหมดสิ้นไป ความหลากหลายของชีวภาพยังคงมีปัญหาต่อไป