ประชุมแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก

0
226

ภาพบรรยากาศการประชุมแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14  มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดยงานประชุมนี้เป็นการประชุมเพื่อศึกษาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ซึ่งการดำเนินงานมาถึงขั้นตอนการประชุมสัมมนาเพื่อเสนอผลการศึกษา พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง โดยภายในงานมีการประชุมหัวข้อต่างๆ อาทิ เรื่องอุตสาหกรรม เศรษฐกิจในภาคพื้นตะวันออก เป็นต้น

 

นางสาวลัดดา สมัญญา หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน ร่วมประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ศึกษาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งการดำเนินงานมาถึงขั้นตอนการประชุมสัมมนาเพื่อเสนอผลการศึกษา พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

 

ประเด็นการหารือในแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก

(Eastern Economic Corridor : EEC)

1.การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) 3 จังหวัด (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง)

2.ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เพื่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว อยู่ในช่วง พ.ศ.ใด?

3.กระทรวงศึกษาธิการได้ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะ และสมรรถนะ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2560 โดยมี 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญ คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

4.การทำงานประชารัฐ ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การพัฒนาคน ที่เกิดความร่วมมือการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในทุกมิติ

5.ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและภูมิปัญญา (Creativity & Innovation Smart THAILAND) แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับไทยแลนด์ 1.0 ซึ่งเป็นเรื่องของเกษตรกรรม, 2.0 เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมเล็กหรืออุตสาหกรรมเบา, 3.0 อุตสาหกรรมหนักหรืออุตสาหกรรมที่มีความสลับซับซ้อน

6.การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ทั่วประเทศ คือ กาญจนบุรี เชียงราย ตาก สงขลา นราธิวาส มุกดาหาร นครพนม หนองคาย สระแก้ว และตราด หรือเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

7.นโยบายที่รองนายกรัฐมนตรี (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) กล่าวในการประชุมครั้งนี้ เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy), เศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ฯลฯ

8.การศึกษาทางไกล ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) มาตั้งแต่ปี 2538 และกระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ.ได้นำมาขยายผลเพิ่มเติมจนสมบูรณ์ครบถ้วนครอบคลุมโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศแล้ว และจะขยายเข้าสู่โรงเรียนขนาดกลาง สพฐ. รวมทั้งโรงเรียนเอกชน โรงเรียน ตชด. โรงเรียนพระปริยัติธรรมต่อไป รวมถึงการขยายจอภาพรับชมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเสริมระบบการพัฒนาคุณภาพศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning Information Technology : DLIT) ที่มี 5 รูปแบบ คือ DLIT Classroom, Resources, Library, Professional Learning Community : PLC, Assessment ในโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่

9.STEM Education ซึ่ง สพฐ. ร่วมกับ สสวท. และโรงเรียนเอกชน จัดทำศูนย์สะเต็มศึกษาในโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ

10.ความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น ปีที่ 2 ภายใต้โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ประเทศก้าวสู่ Digital THAILAND ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งผลดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงาน กศน. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

รายงานโดย  สิตานัน ตติพัฒน์วัฒนา  นักศึกษาสาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์