สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีนสัมภาษณ์ ออท.จีน หลวี่ เจี้ยน

0
289

จับโอกาสที่สำคัญ ผลักดันความสัมพันธ์จีน-ไทยสู่มิติใหม่

(บทสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย หลวี่ เจี้ยน โดย สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน)

​เมื่อวันที่ 18-24 ตุลาคม ค.ศ. 2017 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดการประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 19 ที่กรุงปักกิ่งอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นการประชุมยิ่งใหญ่ที่ตรึงใจชาวจีนหลายร้อยล้านคน ยังได้รับความสนใจจากทั่วโลกอีกด้วย ระยะนี้ มีเพื่อนๆชาวไทยจำนวนมากได้พูดคุยกับข้าพเจ้าเกี่ยวกับการประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 อยู่เป็นประจำ คำถามที่ถามกันมากที่สุดคือ การประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 มีความสำคัญอย่างไรต่อประเทศจีน ส่งผลอย่างไรต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย และเราจะพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยอย่างไรต่อไป ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอแบ่งปันความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัว ณ ที่นี้

​1. การประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 จะนำพาประเทศจีนสู่กระบวนการพัฒนาครั้งใหม่

​การประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 เป็นการประชุมที่มีความสำคัญเชิงหลักชัยซึ้งจัดขึ้นในขณะที่ประเทศจีนกำลังอยู่ในสภาวะการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนและช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการพัฒนาประเทศชาติ ที่ประชุมได้ข้อสรุปสำคัญๆหลายประการด้วยกัน อาทิเช่น สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ ความขัดแย้งหลักในสังคมได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งระหว่างความต้องของประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกับการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เต็มที่ ได้ระบุภารกิจทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เสนอยุทธศาสตร์ขั้นพื้นฐานในการยึดมั่นและพัฒนาสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน และได้มีการวางแผนอย่างบูรณาการสำหรับการพัฒนาของพรรคฯและประเทศ

​ความสำเร็จทางทฤษฏีที่สำคัญที่สุดของสมัชชาครั้งที่ 19 คือ ได้กำหนดแนวคิดสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนในยุคใหม่ของสี จิ้นผิงให้เป็นแนวคิดชี้นำของพรรคฯ ซึ่งเป็นการสรุปจากผลสำเร็จเชิงทฤษฏีและประสบการณ์ในการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่สมัชชา ครั้งที่ 18 เป็นต้นมา และได้รวบรวมเป้าหมายใหญ่ ภารกิจใหญ่ แผนงานใหญ่ พร้อมด้วยทิศทาง รูปแบบแห่งการพัฒนา พลังขับเคลื่อนสำหรับการพัฒนา และขั้นตอนทางยุทธศาสตร์ในการยึดมั่นและพัฒนาสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน ซึ่งจะเป็นทฤษฏีชี้นำในการพัฒนากิจกรรมด้านต่างๆของประเทศจีนต่อไป

​สมัชชาครั้งที่ 19 ให้ความสำคัญในความใฝ่ฝันต่อชีวิตที่ดีของประชาชน อีกทั้งได้กำหนดยุทธศาสตร์และพิมพ์เขียวของสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนในยุคใหม่ และได้ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ในปี ค.ศ. 2020 ประเทศจีนจะเข้าสู่สังคมอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้า ในปี ค.ศ. 2035 ประเทศจีนจะบรรลุสังคมนิยมที่ทันสมัยโดยทั่วไป และในกลางศตวรรษนี้ ประเทศจีนจะเป็นประเทศสังคมนิยมยุคที่ทันสมัยอย่างมั่งคั่ง มีประชาธิปไตย เป็นอารยะประเทศ มีความสันติและงดงาม

​เพื่อให้ได้ภาพพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาดังกล่าวกลายเป็นจริง สมัชชาครั้งที่ 19 ได้มีการวางแผนอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและระบบนิเวศ ฯลฯ โดยยึดแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาใหม่ สร้างนวัตกรรมในรูปแบบการพัฒนา ในช่วงเวลาต่อไป เราจะยึดการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้านอุปทานเป็นหลัก เพื่อผลักดันการปฏิรูปวิธีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปรับปรุงโครงสร้างวิสาหกิจและระบบเศรษฐกิจให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจ เราจะผลักดัน Internet + Big Data AI และภาคเศรษฐกิจจริงให้มีความบูรณการ เพื่อพัฒนาแรงขับเคลื่อนใหม่อย่างต่อเนื่อง เราจะศึกษาค้นหากลไกใหม่และลู่ทางใหม่สำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลในภูมิภาค สร้างกลุ่มเมืองระดับโลกแบบ และสร้างขั้วการพัฒนาใหม่ทางด้านเศรษฐกิจ

​สมัชชาครั้งที่ 19 ได้เริ่มกระบวนการใหม่ในการพัฒนาประเทศที่มีความทันสมัยในระบบสังคมนิยมอย่างรอบด้าน จะนำมาซึ่งโอกาสแห่งการพัฒนาและความร่วมมือมากยิ่งขึ้นระหว่างจีนกับนานาประเทศ ประตูที่เปิดกว้างของจีนจะไม่มีวันปิด และจะเปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ อนาคตจะมุ่งเน้นในการพัฒนา “The Belt and Road” เป็นหลัก เสริมสร้างความร่วมมือในขีดความสามารถทางด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างการเปิดประเทศที่มีลักษณะเชื่อมโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันทั้งทางบกและทางทะเล ทั้งภายในและนอกประเทศ และทั้งภาคตะวันออกและภาคตะวันตก เราจะดำเนินนโยบายเสรีที่เอื้อต่อการค้า การลงทุนที่มีระดับสูง สร้างนวัตนกรรมในการลงทุนต่อต่างประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือในความสามารถในการผลิต ก่อตั้งเครือช่ายระดับโลกในการค้าการ การลงทุน การระดมทุน การผลิตและการบริการ

​ประเทศจีนตระหนักดีว่า ความฝันในการฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีนมีความสอดคล้องใกล้ชิดกับความฝันของประชาชนในประเทศต่างๆ การที่ความฝันของประเทศจีนจะกลายเป็นความจริงนั้น ปราศจากสภาวะแวดล้อมอย่างสันติของโลกไม่ได้ และก็ปราศจากความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทสไม่ได้เช่นกัน รายงานการประชุมสมัชชาครั้งที่ 19 ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า ประเทศจีนจะยึดมั่นในเส้นทางการพัฒนาอย่างสันติ ยึดมั่นแนวคิดอันถูกต้องระหว่างศีลธรรมและผลประโยชน์ พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับทั่วโลก ขยายจุดสมดุลด้านผลประโยชน์กับประเทศต่างๆ ผลักดันสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ที่เคารพซึ่งกันและกัน มีความเท่าเทียมกัน และมีความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน เราจะยึดมั่นในแนวคิดที่ร่วมคิด ร่วมสร้างและร่วมแบ่งปัน เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปและสร้างธรรมาภิบาลโลกอย่างกระตือรือร้น ผลักดันให้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาสู่ทิศทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น ร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างโลกที่มีความสันติอย่างถาวร มีความปลอดภัยเป็นปกติสุข มีความรุ่งเรืองร่วมกัน เปิดกว้างและเปิดรับระหว่างกัน และมีความสะอาดงดงาม เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตอันดีงามของมนุษยชาติ

​2. การประชุมสมัชชาครั้ง 19 ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ความร่วมมือจีน-ไทย

​เมื่อไม่นานมานี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำองค์การความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ได้แสดงจุดยืนสำคัญในประเด็นปัญหาต่างๆ อาทิเช่น การสร้างระบบเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกแบบเปิดกว้าง การผลักดันการพัฒนาเอเชียแปซิฟิกอย่างสร้างสรรค์ เกื้อหนุนกัน และหลอมรวม เสริมความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนในเอเชียแปซิฟิกและการกำหนดเป้าหมายสำหรับการพัฒนาในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ฯลฯ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของประเทศจีนที่จะให้การพัฒนาของตนเองเป็นประโยชน์ในการผลักดันการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของเอเชียแปซิฟิกหลังจากสมัชชาครั้งที่ 19 ได้ปิดฉากลง จีน-ไทยต่างก็เป็นประเทศที่สำคัญในเอเชียแปซิฟิก และก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน สมัชชาครั้งที่ 19 ได้ชี้นำและผลักดันการพัฒนาของประเทศจีน ขณะเดียวกันก็ได้ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆให้แก่การพัฒนาของความสัมพันธ์จีน-ไทยด้วย

​ (1) ดำเนินการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศในเชิงลึก เพื่อสร้างความมั่นใจและความแน่วแน่ของทั้งสองประเทศในการเลือกเดินตามเส้นทางที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของตน การพัฒนาของประเทศจีนได้ช่วยขยายทางเดินให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ความทันสมัย ประเทศจีนและประเทศไทยต่างก็เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงการพัฒนาที่คล้ายคลึงกัน และต้องเผชิญกับภารกิจด้านการพัฒนาเหมือนๆกัน ประเทศจีนได้ยึดถือแนวทางการพัฒนาใหม่ที่เน้นนวัตกรรม ความสมดุล สีเขียว การเปิดกว้างและการแบ่งปัน ยืนหยัดในการสร้างระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ส่วนประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมียุทธศาสตร์ Thailand 4.0 Digital Thailand และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ฯลฯ อีกทั้งได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในอนาคตจีนและไทยสามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกันในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อเติมเต็มระหว่างกันในด้านแนวคิดของการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา และมาตราการในการปฏิบัติ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ๆให้แก่การพัฒนาของสองประเทศ

​(2) ดำเนินความร่วมมือรูปธรรมที่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่กันในระดับที่สูงยิ่งขึ้นและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ร่วมกันผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ยุทธศาสตร์และรูปแบบใหม่ๆที่จีนใช้ในสร้างสังคมนิยมสมัยใหม่ เช่นการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้านอุปทาน การผลัดดันการแปลสภาพอุตสาหกรรมและการพัฒนารูปแบบใหม่ การดำเนินความร่วมมือ “The Belt and Road” นั้น ได้สร้างโอกาสครั้งประวัติศาสตร์สำหรับความร่วมมือจีน-ไทย ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงเคยกล่าวไว้ว่า หุ้นส่วนสำคัญอันดับแรกของกาพัฒนา “The Belt and Road” คือประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ได้ประโยชน์อันดับแรกๆ ก็คือประเทศเพื่อนบ้านเช่นเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ ดังนั้นย่อมสามารถมีบทบาทสำคัญและได้รับประโยชน์ระยะยาวจากการดำเนินความร่วมมือ “The Belt and Road” หลายปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้สั่งสมประสบการณ์มากในการพัฒนา Digital Economy เศรษฐกิจแบบแชร์ร่วมกันและพลังงานใหม่ ประเทศจีนกำลังมุ่งมั่นพัฒนาเขตใหม่ สยงอัน และอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า ยินดีที่จะหารือความร่วมมือทางด้านนี้กับประเทศไทย

​(3) ขยายความร่วมมือในกิจการระหว่างประเทศและกิจการภูมิภาค เพื่อสร้างประชาคมเอเซียที่มีชะตากรรมร่วมกัน ประเทศจีนให้ความสำคัญต่อการทูตกับประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวคิดที่เป็นการเอง มีความจริงใจต่อกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน และเปิดกว้างเปิดรับ โดยยึดถือนโยบายต่างประเทศที่อยู่ด้วยกันอย่างดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และถือประเทศเพื่อนบ้านเป็นหุ้นส่วนกัน เรายึดถือหลักธรรมาภิบาลโลกที่เน้นร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมแบ่งปัน มีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูปและสร้างระบบธรรมาภิบาลโลกอย่างกระตือรือร้น ฝ่ายจีนให้ความสำคัญต่ออิทธิพลและบทบาทของประเทศไทยในกิจการระหว่างประเทศและกิจการภูมิภาค ได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม G20 ที่ หางโจวในฐานะประธานกลุ่ม 77 ประเทศ เชิญประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสนทนาระหว่างประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาภายใต้กรอบกลไกความร่วมมือ BRICS โดยในฐานะที่เป็นตัวแทนของภูมิภาค ฝ่ายจีนยินดีที่จะสนับสนุนประเทศไทยเข้าร่วมกิจการระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายสัมพันธไมตรีจีน-ไทยสู่ความร่วมมือในพหุภาคี สร้างคุณูปการต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก

​3. ข้อแนะนำต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยในอนาคต
​ภายใต้ความพยายามจากทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านจีน-ไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความรักความผูกพันที่เป็น “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน ”นั้น ได้หยั่งรากฝันลึกในใจของประชาชนทั้งสองประเทศ ในจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ใหม่ การยกระดับความสัมพันธ์จีน-ไทยประจวบกับโอกาสที่หายาก สอดคล้องกับผลประโยชน์และความปรารถนาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

​- ส่งเสริมการไปมาหาสู่กัน เพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองและไมตรีจิต ผู้นำทั้งสองประเทศมีการไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิดฉันญาติมิตรมายาวนาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์อื่นๆได้เสด็จเยือนจีนหลายครั้ง ในยุคใหม่นี้ ควรจะรักษาประเพณีอันดีงามนี้ ส่งเสริมการเยือนซึ่งกันและกันในระดับสูง แสดงบทบาทชี้นำในระดับสูง ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงได้พบปะหารือหลายครั้งกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้บรรลุความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนในทางการเมืองต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ไม่นานมานี้ นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีนในฐานะที่เป็นผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เดินทางมาเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สะท้อนให้เห็นว่าฝ่ายจีนให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์จีน-ไทยและมิตรภาพของประชาชนชาวจีนที่มีต่อประเทศไทย ฝ่ายจีน ยินดีต้อนรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ผู้บริการระดับสูงของสภานิติบัญญัติ รัฐบาล กองทัพและหน่วยราชการอื่นไปเยือนประเทศจีน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคี การบริหารประเทสและประเด็นอื่นเป็นที่สนใจร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางร่วมกันในการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

​- กล้าคิด สร้างนวัตกรรม ผลักดันความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่กัน ประเทศจีนและประเทศไทยกำลังเผชิญภารกิจร่วมกัน ซึ่งได้แก่ ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างสมดุล และพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ดังนั้น ทั้งสองประเทศควรขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า ผลักดันการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ทั้งเป็นการเพิ่มเทคโนโลยีแก่สาขาอุตสาหกรรมดั้งเดิมและเป็นการส่งเสริมความร่วมมือในสาขาอุตสาหกรรมใหม่ หลายปีที่ผ่านมา ประเทศเราทั้งสองเกิดความร่วมมือในสาขาอุตสาหกรรมใหม่ๆหลายสาขา เช่น E-commerce โลจิสติกส์ ดาวเทียม ระบบการนำทาง ฯลฯ วิสาหกิจชั้นนำของจีน อาทิ Alibaba , JD.COM , Huawei ได้มาลงทุนในประเทศไทย จะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือระหว่างประเทศเราทั้งสองสู่ระดับที่สูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ฝ่ายจีนยินดีส่งเสริมและผลักดันให้วิสาหกิจจีนที่มีศักยภาพทั้งด้านเงินทุนและเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ยินดีผลักดันให้ความร่วมมือโครงการรถไฟนำความผาสุกให้แก่ประชาชนชาวไทยโดยเร็ววัน การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นภารกิจสำคัญของการพัฒนาสังคม ประเทศจีนได้บรรลุเป้าหมายให้ประชากรกว่า 60 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน ฝ่ายจีนยินดีที่จะเสริมสร้างความร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์กับฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหาความยากจน

​- เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคม วัฒนธรรมเชิงลึกและรอบด้านอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งจีนและไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมรุ่งโรจน์ยาวนาน การแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมมีศักยภาพการพัฒนาอย่างสูง จีนไทยได้ดำเนินความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวอย่างใกล้ชิด แต่ละปีมีประชาชนไปมาหาสู่กันเกิน 10 ล้านคน ดังนั้น ทั้งสองประเทศสามารถดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นประจำ เช่นเทศกาลวัฒนธรรม เทศกาลภาพยนตร์ เทศกาลโทรทัศน์ ฯลฯ ประเทศจีนและประเทศไทยมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดทางด้านศึกษา ขณะนี้มีนักศึกษาจีนที่ศึกษาในไทย 31,000 คน ในขณะเดียวกัน มีนักศึกษาไทยเรียนที่จีนมากกว่า 20,000 คน เราควรส่งเสริมให้เยาวชนทั้งสองประเทศมีการมีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนความเข้าใจและมิตรภาพ อาชีวศึกษาเป็นปริมณฑลที่สำคัญในความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย ฝ่ายจีนสนับสนุนให้โรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาขยายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยน ยินดีต้อนรับฝ่ายไทยเข้าร่วมประกวดทักษะนานาชาติซึ่งจะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ในปี 2021 นอกจากนี้ ฝ่ายจีนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการ คลังปัญญา การอบรมบุคลากร และเทคโนโลยีและสื่อมวลชน

​- ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลก ฝ่ายจีนยินดีทึ่จะร่วมกับฝ่ายไทย ผลักดันและยกระดับคุณภาพสำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน ผลักดันความร่วมมือลานช้าง-แม่โขงประสบความสำเร็จใหม่ เพื่อเป็นแบบอย่างของความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เปิดกว้างและเปิดรับ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิทักษ์แนวโน้มที่มีการพัฒนาที่ดีและเปิดกว้างของภูมิภาค เป็นประโยชน์ต่อการสร้างประชาคมเอเชียที่มีชะตากรรมร่วมกัน ทั้งจีนและไทยควรเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประสานความร่วมมือในกรอบ APEC ACD ASEM และภายใต้กรอบความร่วมมือสหประชาชาติ ร่วมกันผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030

​การพัฒนาความร่วมมือฉันมิตรระหว่างจีน-ไทยนั้น เป็นนโยบายทางการทูตที่มีความสำคัญอันดับต้นๆของจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์จีน-ไทยเป็นต้นแบบของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน ข้าพเจ้าเชื่อว่า พร้อมด้วยสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนเข้าสู่ยุคใหม่ การทูตประเทศใหญ่ที่มีเอกลักษณ์ของจีนได้ทุ่มเทกำลังในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใหม่และประชาคมมนุษยชาติที่มีชะตากรรมร่วมกัน ซึ่งมีลักษณะที่เคารพซึ่งกันและกัน มีความเป็นธรรม ร่วมมือและชนะด้วยกัน ย่อมจักต้องเป็นแรงขับเคลื่อนความร่วมมือจีน-ไทยใหม่ เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ขอเพียงแต่ทั้งสองฝ่ายดำเนินความร่วมมือด้วยความจริงใจ กล้าบุกเบิก จับโอกาสที่สำคัญ รับมือกับความท้าทายร่วมกัน ความสัมพันธ์จีน-ไทยย่อมจะมีอนาคตที่สดใสและรุ่งโรจน์อย่างแน่นอน

 

H.E.LYU JIAN

เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย