ชี้แจงความก้าวหน้าความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

0
61

โฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย
ชี้แจงความก้าวหน้าความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

การประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 25 ถึง 27 เมษายน ข้าพเจ้ายินดีที่จะแบ่งปันข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับเพื่อนสื่อมวลชน

นับตั้งแต่ความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ” หรือ “Belt and Road Initiative”เสนอขึ้นมา ก็ได้รับความสนใจ และตอบรับในเชิงบวก ตลอดจนการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากสังคมโลก จนถึงขณะนี้จีนได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือแบบทวิภาคีหรือพหุภาคีมากกว่า 170 ฉบับกับมากกว่า 150 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ อาทิ มองโกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน กัมพูชา ลาว สาธารณรัฐเช็ก ฮังการีฮังการี บรูไน เป็นต้น

จีนได้เสนอ “ความริเริ่มผลักดันความร่วมมือส่งเสริมการค้าไร้รอยต่อหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ซึ่ง 83 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมอย่างแข็งขัน จากปี 2556 ถึงปี 2561 บริษัทจีนลงทุนโดยตรงมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในประเทศต่างๆ ตามเส้นทางและทำโครงการเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาในประเทศต่างๆ กว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนได้จัดทำโครงการทุนรัฐบาลจีน“ เส้นทางสายไหม” และลงนามในข้อตกลงการรับรองวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษากับ 24 ประเทศตามหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จีนได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านกำลังการผลิตกับ 40 กว่าประเทศและลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านการพัฒนาตลาดที่สามกับฝรั่งเศส อิตาลี สเปนญี่ปุ่นและโปรตุเกส

ด้วยความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” คาซัคสถานซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้มีเส้นทางออกทะเลเป็นครั้งแรก เบลารุสมีอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรก มัลดีฟส์ได้ทำให้ความฝันที่มีสะพานกลายเป็นจริง หลังจากเปิดดำเนินโครงการพลังงานหลายโครงการ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของปากิสถานได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ และรถไฟจีน – ลาวจะเปลี่ยนลาวจาก “ประเทศถูกปิดล้อม“ เป็น “ประเทศเชื่อมโยงทางบก”

ข้อเท็จจริงเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้สร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

อย่างไรก็ตามมีสื่อบางสื่อเล่นวาทกรรม”กับดักหนี้สิน”ของจีนอยู่เสมอ ในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงและตัวเลขเป็นข้อโต้แย้งที่ดีที่สุด

รายงานประจำปี 2560 ของธนาคารกลางของศรีลังกาแสดงให้เห็นว่ายอดเงินกู้ของจีนคิดเป็นเพียง 10.6% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดและ 61.5% ของเงินกู้ยืมจากจีนทั้งหมดเป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยถูก ส่วนสินเชื่อจากญี่ปุ่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ธนาคารโลกและสินเชื่อจากตลาดทุนมีขนาดใหญ่กว่าของจีนคิดเป็น12 %, 14%, 11% และ 39% ตามลำดับ หนี้สินจากจีนไม่ได้เป็นภาระที่สำคัญสำหรับหนี้ต่างประเทศของศรีลังกา

โครงการจีนส่วนใหญ่เป็นโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศและการดำรงชีวิตของประชาชน เช่นท่าเรือและถนน ซึ่งมีความสอดคล้องกับความต้องการเร่งด่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของศรีลังกาและเป็นการเสนอโดยรัฐบาลทุกชุดบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยซึ่งมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับอย่างเพียงพอ

ตามที่รัฐบาลปากีสถานระบุว่า 42%ของหนี้ระยะยาวของปากีสถานมาจากเงินกู้ยืมของสถาบันพหุภาคี เงินกู้ยืมของจีนคิดเป็นเพียง 10% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษที่เสนอโดยจีนไปยังปากีสถานอยู่ที่ประมาณ 2% ซึ่งต่ำกว่าเงินกู้ที่ประเทศตะวันตกให้แก่ปากีสถานอยู่มาก

ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเมื่อวันที่ 12 เมษายนว่ารถไฟจีน-มาเลเซียซึ่งมีความยาวรวมจากเดิม 688 กม.ลดลง 40 กม.เหลือ 648 กม. และได้ยกเลิกสถานีบางสถานี ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ลดลงจาก 65,500 ล้านริงกิตเป็น 44,000 ล้านริงกิต

ฝ่ายจีนเห็นว่าความร่วมมือไม่ควรมีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนของจีนและมาเลเซียสามารถยึดหลักการของการเคารพซึ่งกันและกันและหารือเท่าเทียมกันเพื่อบรรลุข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

สิ่งที่เป็นความจริงประการหนึ่ง คือ นับตั้งแต่ความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ”เสนอขึ้นมา ยังไม่มีประเทศใดเลยที่ตกอยู่ในกับดักหนี้สินหรือเพิ่มภาระหนี้สินเนื่องด้วยเข้าร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในทางตรงกันข้าม ทุกประเทศที่เข้าร่วมในความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”นั้น ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นวาทกรรม “กับดักหนี้”เป็นเรื่องเท็จ

ข้าพเจ้าอยากจะเน้นสองข้อ ซึ่งข้อแรก ประเทศใดประเทศหนึ่งย่อมมีสิทธิในการพัฒนาและมีสิทธิในการพัฒนาผ่านการจัดหาเงินทุน ในกระบวนการนี้ ประเทศผู้ให้กู้ ประเทศผู้ขอกู้และบริษัทที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างโครงการจำเป็นต้องเสริมสร้างวินัยในตนเอง เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมความเสี่ยง สื่อสามารถกำกับดูแล สร้างกระแส “กับดักหนี้”แต่เพียงอย่างเดียวจะเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ

ข้อที่สอง ความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”เป็นความริเริ่มที่เปิดกว้างและยอมรับต่างความคิด ตราบใดที่ประเทศใดประสงค์ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ “หนึงแถบหนึ่งเส้นทาง” เรายินดีต้อนรับอยู่เสมอ ในการก่อสร้างโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” การประสานนโยบายและการเชื่อมโยง กติกา มาตรฐาน เรายินดีที่จะดำเนินการความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ในระดับทวิภาคี ไตรภาคีหรือพหุภาคี