บทวิเคราะห์ : พฤติกรรม “สองมาตรฐาน” ของสหรัฐฯเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

0
1

บทวิเคราะห์ : พฤติกรรม “สองมาตรฐาน” ของสหรัฐฯเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

ในช่วงเวลานานที่ผ่านมา ประเทศตะวันตกจำนวนหนึ่งภายใต้การนำของสหรัฐฯได้โฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองเป็นต้นแบบของ “ประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน” มาโดยตลอด แต่ทว่าพฤติกรรมของพวกที่ปากว่าตาขยิบและ “ใช้สองมาตรฐาน” เพื่อผลประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวนั้น ได้ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกมานานแล้ว

อีกหนึ่งกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ คือ ศาลอังกฤษได้อนุมัติให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ไปยังสหรัฐฯในฐานะผู้ร้าย

แต่ไหนแต่ไรมาสหรัฐฯได้ใช้ความพยายามอย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อปกปิดอาชญากรรมสงครามต่างๆที่กระทำขึ้นระหว่างสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรัก เนื่องจากอัสซานจ์ได้เปิดโปงผ่านเว็บไซต์วิกิลีกส์ถึงอาชญากรรมสงครามของทหารสหรัฐฯ เช่น การยิงพลเรือนและนักข่าวเสียชีวิต รวมถึงพยานหลักฐานจำนวนมากเกี่ยวกับสหรัฐฯเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ และ “ดำเนินการดักฟังจนเคยชินเป็นนิสัย”  รัฐบาลสหรัฐฯได้ฟ้องร้องเขาด้วย 18 ข้อกล่าวหา เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2012 อัสซานจ์ขอลี้ภัยทางการเมืองต่อสถานทูตเอกวาดอร์ประจำกรุงลอนดอน เมื่อเดือนเมษายนปี 2019 อัสซานจ์ถูกส่งตัวให้อังกฤษโดยสถานทูตเอกวาดอร์  ต่อมาสหรัฐฯได้ออกคำร้องขอให้ “ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน”

ทว่า หากไม่กลัวความจริง เหตุใดรัฐบาลสหรัฐฯ จึงยืนกรานที่จะไล่ตามและขอตัวอัสซานจ์? หากเชิดชู “เสรีภาพสื่อมวลชนและการพูดจริง” เหตุใดสหรัฐฯต้องกล่าวหาอัสซานจ์? หากมี “ความเป็นอิสระในกระบวนการยุติธรรม” ตามที่กล่าวอ้างจริง เหตุใดอังกฤษจึงให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันและอนุญาตให้ส่งตัวอัสซานจ์ไปยังสหรัฐฯ?

เห็นได้ชัดว่า เมื่อ “เสรีภาพสื่อ” ไม่เป็นผลดีกับตัวเอง ประเทศตะวันตกจำนวนหนึ่งที่นำโดยสหรัฐฯ ก็จะไม่ลังเลใจสักนิดเลยที่จะฉีก“ใบมะเดื่อ”นี้ทิ้ง และแสดงพฤติกรรมสองมาตรฐานและสองหน้าสู่สายตาของชาวโลก

อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ จีนและอินเดียต่างได้แสดงจุดยืนที่ “เป็นกลาง” เกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทางการสหรัฐฯกล่าวว่าจุดยืนของอินเดียนั้น “เข้าใจได้”  แต่ในขณะเดียวกันสหรัฐฯได้แสดงความไม่พอใจอย่างแรงกล้าต่อจีน และได้ดำเนินการใส่ร้ายป้ายสีและข่มขู่ต่อจีนตามอำเภอใจ

ทั้งนี้เป็นเพราะสหรัฐฯมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาใจอินเดีย ยับยั้งการเติบโตของจีนและรักษาสถานะความเป็นเจ้าโลกของตน เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรม “สองมาตรฐาน” ของสหรัฐฯนั้นโจ่งแจ้งล่อนจ้อนเพียงไร!

นอกจากรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว สื่อของสหรัฐฯที่มักร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศตนเองในการ “เล่นละครร่วมกัน” เช่น “นิวยอร์กไทม์ส” “วอชิงตันโพสต์” และ “วอลล์สตรีทเจอร์นัล” เป็นต้น ก็มีพฤติกรรม”สองมาตรฐาน”อันร้ายแรงปรากฏสู่สายตาชาวโลกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในรายงานของสื่อเหล่านี้ กรณีสหรัฐฯบุกโจมตีอิรักโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากองค์การสหประชาชาตินั้น ไม่ควรเรียกว่า “การบุกรุก” แต่ควรเรียกว่า “การปลดปล่อย”  ส่วนกรณีสหรัฐฯก่อการโจมตีฝ่ายเดียวต่ออัฟกานิสถานนั่น ก็ไม่ควรเรียกว่า”การบุกรุก”แต่ควรเรียกว่า “การปราบปรามผู้ก่อการร้าย”

เรื่องที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงเป็นพิเศษคือ ควบคู่ไปกับประเทศจีนทวีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆจนส่งผลกระทบต่อสถานะความเป็นเจ้าโลกของสหรัฐฯ สื่อตะวันตกได้ยกระดับ “อคติ” ที่มีต่อจีนในรายงานของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นนี้นั้น  ในปัจจุบันที่ประเทศจำนวนมากยังคงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากสื่อตะวันตก นับวันมีผู้สันทัดกรณีในประชาคมโลกมากขึ้นได้แสดงความกังวลต่อกรณีสื่อตะวันตกอาจทำให้ประชาชนในประเทศตนเกิดความเข้าใจผิดในสภาพข้อเท็จจริงของประเทศจีน

ตัวอย่างเช่น รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจีนเคยกล่าวขณะให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า “อย่ามองจีนโดยผ่านสายตาสื่อตะวันตกมากเกินไป”

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เคยยกประสบการณ์ในจีนของตนเองเป็นตัวอย่าง เพื่อเตือนสื่อมวลชนไทยอย่าได้เพียงติดตามรายงานเกี่ยวกับจีนจากสื่อตะวันตกเท่านั้น มิฉะนั้นอาจมีความเป็นได้สูงในการเกิดความเข้าใจผิดต่อจีนนั่นเอง

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)