เศรษฐศาสตร์ที่ทำให้โลกนี้ดีงามยิ่งขึ้น—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (1)

0
7

เศรษฐศาสตร์ที่ทำให้โลกนี้ดีงามยิ่งขึ้น—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (1)

นับตั้งแต่การประชุมสมัชชาผู้แทนระดับชาติแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา ภายใต้การนำอันเข้มแข็งของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเป็นแกนหลัก เศรษฐกิจของจีนได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องบนหนทางแห่งการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง ได้สร้างคุณูปการอย่างเด่นชัดต่อการพัฒนาของโลกและความก้าวหน้าแห่งมนุษยชาติ จึงเป็นที่จับตามองอย่างใกล้ชิดจากประเทศต่างๆทั่วโลก ใน“การทดสอบใหญ่ว่าด้วยการพัฒนาทั่วโลก”นั้น  จีนสามารถทำคะแนนได้สูง ทั้งนี้เหตุผลสำคัญที่สุดก็คือการปฏิบัติตามการชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจนั่นเอง

การพัฒนานั้นเพื่อใคร? บรรลุการพัฒนาแบบใด? นี่เป็นคำถามสำหรับจีนและก็เป็นคำถามสำหรับโลกด้วย

“ความปรารถนาของประชาชนที่มีต่อชีวิตอันดีงามนั้นก็คือเป้าหมายการฟันฝ่าต่อสู้ของเรา”

แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจยืนหยัด “การพัฒนาเพื่อประชาชน” ได้ริเริ่มเสนอ “การสร้างโลกที่ดีงามร่วมกัน” ได้เขียนคำตอบของจีนว่า “ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ในแบบทดสอบแห่งยุคสมัยเกี่ยวกับการพัฒนาทั่วโลก

แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจชี้นำการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงท่ามกลางการตอบสนอง “ความต้องการของมนุษย์” ขับเคลื่อนความร่วมมือและการประสบชัยชนะร่วมกันท่ามกลางการคล้อยตาม “ความต้องการด้านการพัฒนาทั่วโลก”  ได้นำมาซึ่งบทเรียนอันลึกซึ้งแก่การบรรลุวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาทั่วโลกที่เปิดกว้าง อำนวยผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เคารพและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ยึดมั่นประโยชน์สาธารณะเป็นสิ่งดีงามที่สุด การตอบสนอง “ความต้องการของมนุษย์” ให้บทเรียนแก่การพัฒนาทั่วโลก

“สังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ ความขัดแย้งหลักในสังคมของเราได้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างความต้องการชีวิตอันดีงามที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของประชาชนกับการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เต็มที่”

จากความต้องการในชีวิตทางวัตถุและวัฒนธรรมไปจนถึงความต้องการในชีวิตที่ดีงาม แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจได้พิจารณาความต้องการของประชาชนจากมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้นและในระดับที่สูงยิ่งขึ้น ยืนหยัดแนวคิดการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นที่สนใจในระดับสูงและเป็นประเด็นศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งจากทั่วโลก

ควรตอบสนอง “ความต้องการของประชาชน” อย่างไร? ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากช่องว่างการพัฒนา ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน และความเสื่อมโทรมลงของสภาพแวดล้อม การชี้นำด้วยทฤษฎีเชิงนวัตกรรมและถูกหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงการแสวงหาเชิงปฏิบัตินั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษ

“ต้องวางผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนส่วนใหญ่ไว้ในหัวใจโดยตลอด ยกระดับความสุขแห่งการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างแน่วแน่ หลอมรวมการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงกับการตอบสนองความต้องการชีวิตที่ดีงามของประชาชนเข้าด้วยกันอย่างใกล้ชิด ผลักดันการยืนหยัดการถือระบบนิเวศวิทยาเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ การขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง และการสร้างชีวิตที่มีคุณภาพสูงให้หลอมรวมเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมลงตัวและเติมเต็มซึ่งกันและกัน”

สี จิ้นผิงเป็นผู้กำหนดแนวทางสำหรับพิมพ์เขียวการพัฒนา เขานำจีนทุ่มเทในการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงและการสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันที่ตอบสนองความต้องการชีวิตที่ดีงามของประชาชนนั้น ยังได้สร้างคุณูปการแก่การพัฒนาทั่วโลกด้วย

การที่มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาความยุ่งยากแห่งการพัฒนาทั่วโลก เช่น “การขาดดุลทางด้านสันติภาพ การพัฒนา และการบริหารจัดการ” ได้หรือไม่นั้น ที่สำคัญขึ้นอยู่กับว่าประชาคมระหว่างประเทศจะสามารถมีแนวคิดและปฏิบัติการที่ถูกต้องหรือไม่ในการขับเคลื่อนโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจให้พัฒนาไปสู่ทิศทางที่เปิดกว้าง ครอบคลุม ทั่วถึง สมดุล และมีชัยชนะร่วมกันมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับความเป็นธรรม ประสิทธิภาพ และความร่วมมือในการพัฒนาทั่วโลก

ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของจีนกำลังช่วยสร้างโลกให้มีสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงที่ทั่วถึง ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ความเปิดกว้าง ความสะอาดบริสุทธ์ และความงดงามด้วยผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งขึ้น บริการที่ดียิ่งขึ้น และตลาดที่ใหญ่ยิ่งขึ้น

ยึดมั่นความจริงใจเป็นสิ่งดีงามที่สุด อุทิศแนวทางความร่วมมือและปล่อยดอกผลแห่งการพัฒนา

“เราต้องมีสติปัญญาในการวิเคราะห์ปัญหา ยิ่งต้องมีความกล้าหาญที่จะใช้ปฏิบัติการ”

จาก “การเติบโต” สู่ “การพัฒนา”  แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจตอบสนองความต้องการและความยากลำบากด้านการพัฒนาทั่วโลกโดยตรง ได้อุทิศแนวทางความร่วมมือต่างๆ เช่น ข้อริเริ่ม”หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาทั่วโลก และอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและการแบกรับภาระหน้าที่ของจีนในฐานะประเทศใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ

บทรายงานข่าวระหว่างประเทศมีข้อสังเกตว่าในระหว่างการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับต่างประเทศนั้น จีนได้คำนึงถึงความต้องการในทางปฏิบัติและผลประโยชน์ในการพัฒนาของหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างเต็มที่

บริษัทแรนด์ของสหรัฐฯได้กล่าวชี้ในรายงานฉบับหนึ่งว่า ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ จีนได้ช่วยประเทศอื่นๆ ในการเปิดตัวโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งได้สร้างงาน ปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง พัฒนาระบบไฟฟ้าและบริการอื่นๆ ช่วยทำให้ประชาชนมากมายได้รับประโยชน์

ตั้งแต่ทางรถไฟจีน-ลาว ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ไปจนถึงนิคมอุตสาหกรรมจีน-เบลารุส และท่าเรือพีเรียส จีนและพันธมิตรได้ร่วมมือกันสร้าง “สะพานเชื่อมหัวใจ” “ถนนสู่ความมั่งคั่ง” “ท่าเรือแห่งความเจริญ”  และ “เมืองแห่งความสุข” มากมายหลายแห่ง

ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ จีนได้รับความไว้วางใจจากโลกด้วยจิตใจที่ช่วยสร้างความสำเร็จแก่ผู้อื่น ได้ผูกมิตรทั่วหล้าด้วยไมตรีจิตที่เคารพและให้เกียรติผู้อื่น ได้บุกเบิกหนทางแห่งชัยชนะร่วมกันด้วยทัศนคติที่เปิดกว้างและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

นับถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 ทั่วโลกมี 148 ประเทศและ 32 องค์กรระหว่างประเทศได้ร่วมลงนามกับจีนในเอกสารความร่วมมือเกี่ยวกับ”หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”มากกว่า 200 ฉบับ

ยึดมั่นสัจธรรมเป็นสิ่งดีงามที่สุด ปฏิบัติตามแนวทางพหุภาคีนิยมที่แท้จริงเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการทั่วโลกให้สมบูรณ์

“ต้องปฏิบัติตามแนวทางพหุภาคีนิคมที่แท้จริง ยืนหยัดการเจรจาโดยไม่เผชิญหน้า เปิดกว้างโดยไม่กีดกัน หลอมรวมโดยไม่แยกออกจากกัน” “ปัญหาในโลกนี้มีความสลับซับซ้อน ทางออกในการแก้ไขปัญหาคือ รักษาและปฏิบัติตามแนวทางพหุภาคีนิคม ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งมนุษยชาติ”

สี จิ้นผิงได้ส่งเสียงดังไปทั่วโลกเพื่อส่งเสริมพหุภาคีนิยมครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอันดีงามในความร่วมมือที่ได้ชัยชนะร่วมกัน

จากการส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 กว่า 2,100 ล้านโดสไปยังกว่า 120 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ไปจนถึงการเสนอข้อริเริ่มว่าด้วยปฏิบัติการความร่วมมือด้านวัคซีนทั่วโลก ต่อหน้าโรคระบาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นเป็นเวลานับศตวรรษ จีนได้อรรถาธิบายให้เห็นว่าอะไรคือพหุภาคีนิยมที่แท้จริง ได้แสดงให้เห็นถึงความหมายอันแท้จริงของคำว่า “ช่วยเหลือกันยามตกทุกข์ได้ยาก” และ “ร่วมทุกข์ร่วมสุข”

แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจส่งเสริมพหุภาคีนิยมด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างยิ่งขึ้นและความกล้าหาญมากยิ่งขึ้น ผลักดันระบบบริหารจัดการทั่วโลกให้พัฒนาไปสู่ทิศทางที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น ได้อุทิศแนวความคิดและ “คู่มือปฏิบัติการ”ให้กับการสร้างสรรค์โลกหลังวิกฤตโควิด-19

– ร่วมมือกัน รวมพลังเอาชนะโรคระบาด

– แก้ไขความเสี่ยงประเภทต่างๆ ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกอย่างมีเสถียรภาพ

– ก้าวข้ามช่องว่างการพัฒนา กระตุ้นภารกิจการพัฒนาทั่วโลกให้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง

– ละทิ้งแนวคิดสงครามเย็น บรรลุการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อำนวยผลประโยชน์แก่กันและแสวงหาชัยชนะร่วมกัน

– ดำเนินการตามวาระการพัฒนาปี 2030 แห่งสหประชาชาติ สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านการพัฒนาทั่วโลก

ข้อริเริ่มและแนวทางต่างๆ ของจีนนั้น ได้แสดงให้ชาวโลกเห็นถึงความจริงใจและปฏิบัติการของจีนในการมุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างโลกที่ดีงามยิ่งขึ้น

ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ ประเทศใหญ่ทางตะวันออกคำนึงถึงความปรารถนาในชีวิตอันดีงามของประชาชน กำลังร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองและดีงามยิ่งขึ้นด้วยแนวคิดและปฏิบัติการที่ซื่อสัตย์ จริงใจและจริงจัง

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)