เศรษฐศาสตร์ที่เพิ่ม”ผลประโยชน์โลก”ด้วย”ผลงานจีน”—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (2)

0
7

เศรษฐศาสตร์ที่เพิ่ม”ผลประโยชน์โลก”ด้วย”ผลงานจีน”—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (2)

การเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยทับซ้อนกันกับโรคระบาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นเป็นเวลานับศตวรรษ พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกลดลง การฟื้นฟูขาดแคลนแรงกระตุ้น จึงมีความต้องการด่วนในแนวคิดและปฏิบัติการใหม่เพื่อนำมาซึ่งพลังแห่งการก้าวไปข้างหน้าต่อไป

ภายใต้การนำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ ประเทศจีนได้พัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างจริงจัง เสริมสร้างพลังแห่งการสร้างนวัตกรรม กระชับความร่วมมือเชิงปฏิบัติ นำมาซึ่งรากฐานทางเศรษฐกิจที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น และความสามารถที่ทรงพลังยิ่งขึ้นในการต้านความเสี่ยง ไม่เพียงแต่ได้กลายเป็นเครื่องรักษาเสถียรภาพและแหล่งพลังกระตุ้นให้กับเศรษฐกิจโลกเท่านั้น หากยังได้ให้บทเรียนอันสำคัญแก่นานาประเทศในการเพิ่มพลังผลักดันการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและการบรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นจริง” โดยเริ่มจากทฤษฎีมูลค่าแรงงาน วิเคราะห์เนื้อหาและความหมายเกี่ยวกับมูลค่าจากแง่มุมเศรษฐศาสตร์และปรัชญาแบบบูรณาการ ยึดจุดเริ่มต้นและเนื้อหาหลักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ที่กิจกรรมเชิงใช้แรงงาน เช่น การผลิตและการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น ได้ชี้นำทิศทางให้กับการพัฒนาของมนุษยชาติในยุคใหม่ รวมทั้งอัดฉีดพลังขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมให้กับโลกที่เปี่ยมไปด้วยความไม่แน่นอน

เน้นเศรษฐกิจที่แท้จริง ยึดรากฐานแห่งการพัฒนา

“เศรษฐกิจที่แท้จริงคือรากฐานในการตั้งตัวทางเศรษฐกิจและแหล่งที่มาทางทรัพย์สมบัติของแต่ละประเทศ” “การยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศต้องพึ่งพาเศรษฐกิจที่แท้จริง” “เศรษฐกิจที่แท้จริงคือรากฐานของประเทศขนาดใหญ่”

สี จิ้นผิงเน้นย้ำว่าการพัฒนาต้องเน้นที่เศรษฐกิจจริง ได้ชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างมั่นคงสำหรับเศรษฐกิจจีน พร้อมทั้งได้นำมาซึ่งบทเรียนให้กับตรรกะการพัฒนาของเศรษฐกิจโลกด้วย

ความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่แท้จริง ประสิทธิผลด้านการปฏิบัติของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจนั้นมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19

ในช่วงเริ่มต้นที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างกะทันหัน ทั่วโลกขาดแคลนวัตถุสิ่งของสำหรับต้านทานโรคระบาด บริษัทรถยนต์เปลี่ยนมาผลิตหน้ากากอนามัย บริษัทวัสดุผันตัวมาผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น วิสาหกิจภาคการผลิตของจีนได้เปลี่ยนแปลงการผลิตแบบ “ข้ามสาขาอาชีพ” อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการภายในประเทศเท่านั้น หากยังได้ส่งออกไปยังทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโรคระบาดอีกด้วย นับเป็นการพิสูจน์อีกครั้งถึงคุณูปการของอุตสาหกรรมการผลิตของจีนที่มีต่อความมั่นคงของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

นักสังเกตการณ์ระหว่างประเทศเห็นว่าสิ่งนี้สะท้อนถึงความแตกต่างในองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของเศรษฐกิจจริงซึ่งมีอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลักระหว่างจีนกับประเทศตะวันตก ตลอดจนความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง “การยึดเศรษฐกิจจริงเป็นพื้นฐาน” กับ “การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจจริงไปสู่เศรษฐกิจเสมือนจริง” ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงฮาร์ดพาวเวอร์ของเศรษฐกิจจีน

จีนยึดเศรษฐกิจที่แท้จริงเป็นรากฐาน ได้แบกรับความเป็น “โรงงานโลก” และ “ตลาดโลก” โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจีนเป็นประเทศที่มีขนาดอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นตลอดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครองอัตราการสร้างคุณูปการแก่การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกเฉลี่ยต่อปีในระดับที่มากกว่า 30%

ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของจีนได้พัฒนาไปข้างหน้าด้วยความทรหดอดทน ได้ประสบความสำเร็จในการรับมือกับการทดสอบที่หนักหน่วงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

เมื่อปี 2020 จีนเป็นประเทศเดียวในโลกในฐานะ “เศรษฐกิจหลัก”ที่บรรลุการเติบโตด้วยตัวเลขที่เป็นบวก ภายใต้วิกฤตการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจของจีนได้แสดงให้เห็นถึงความทรหดอดทนที่ยิ่งใหญ่ ได้นำมาซึ่งแสงสว่างอันทรงคุณค่าสู่เศรษฐกิจโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรง

เมื่อปี 2021 การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีขนาดเศรษฐกิจทะลุ 110 ล้านล้านหยวน ซึ่งคาดว่าครองสัดส่วนมากกว่า 18% ของเศรษฐกิจทั่วโลก ได้ขยายบทบาทที่เป็น “เครื่องรักษาเสถียรภาพ” และ “แหล่งพลังขับเคลื่อน” ของเศรษฐกิจโลกอย่างโดดเด่นยิ่งขึ้น

กระตุ้นพลังแห่งการสร้างนวัตกรรม เสริมสร้างศักยภาพแห่งการพัฒนา

“ปัจจุบัน การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบใหม่ และการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมนั้น กำลังได้รับการเร่งพัฒนามากยิ่งขึ้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีคุณูปการที่โดดเด่นยิ่งขึ้นในการยกระดับกำลังการผลิตทางสังคมให้สูงขึ้น”

สี จิ้นผิงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านขั้นตอนและปัจจัยแห่งการพัฒนา เขาผลักดันให้จีนปฏิบัติตามแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนาอย่างแน่วแน่ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนา และเร่งการสร้างระบบเศรษฐกิจและรูปแบบการพัฒนาที่ถือการสร้างนวัตกรรมเป็นแนวทางและเสาค้ำหลัก ได้อุทิศภูมิปัญญาและพลังของจีนให้กับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลก

ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ จีนได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อเขียนบทใหม่แห่งการพัฒนาด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และได้อรรถาธิบายอย่างมีชีวิตชีวาถึงความหมายที่ลึกซึ้งในเรื่องการใช้แรงงานสร้างมูลค่า

จาก “ผลิตในจีน” ถึง “ประดิษฐ์ในจีน” จีนกำลังเร่งความเร็วบนหนทางสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่าระดับกลางและสูง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022  “Hualong One ” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์รุ่นที่สามที่จีนเป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสมบูรณ์ ได้ผ่านการตรวจสอบการออกแบบและการใช้งานจากประเทศอังกฤษ และจะนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของอังกฤษ ทั้งนี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสหราชอาณาจักรในด้านการเติมเต็มช่องว่างพลังงานและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

จาก “สินค้าจีน” ถึง “บริการจีน” ประเทศจีนเป็นผู้นำหน้าอย่างต่อเนื่องในการแข่งขันทางด้านการหลอมรวมเศรษฐกิจดิจิทัลกับเศรษฐกิจที่แท้จริง จากแอฟริกาที่อยู่ห่างไกลไปจนถึงประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบธุรกิจใหม่ที่จีนบ่มเพาะขึ้นโดยพึ่งพาความได้เปรียบในด้านต่างๆ เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ อีคอมเมิร์ซ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ส่งเสริมการค้าสินค้าระหว่างฝ่ายต่างๆ เท่านั้น หากยังได้เสนอรูปแบบการพัฒนาที่สามารถดำเนินการได้ในปัจจุบันอีกด้วย

อาศัยการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้มแข็ง ความร่วมมือจีน-อาเซียนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปยังด้านต่างๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ เมืองอัจฉริยะ 5G ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า บล็อคเชน การแพทย์ทางไกล และอื่นๆ  การสร้างสรรค์ “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” กำลังค่อยๆเข้าสู่สภาวะที่ดี

นาย ลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า คาดว่าถึงปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3% ในปี 2015 เป็น 8.5% ของ GDP เชื่อกันว่าการสนับสนุนจากจีนจะเติมพลังใหม่ให้กับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของอาเซียน

เสริมสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ร่วมแบ่งปันผลการพัฒนา

บนหนทางแห่งความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ ไม่เพียงแต่มี “การเชื่อมต่อแบบแข็ง” เช่นโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หากยังรวมถึง “การเชื่อมต่อแบบนุ่ม” เช่น กฎระเบียบและมาตรฐาน ตลอดจนการร่วมสร้าง”การเชื่อมต่อทางหัวใจ”ระหว่างประชาชนประเทศต่างๆอีกด้วย ตามท้องทุ่งในฟาร์ม และสถานที่ก่อสร้างโรงงาน ผู้ก่อสร้างทั้งชาวจีนและชาวต่างประเทศร่วมกันหลั่งเหงื่อ หว่านความหวัง และกระชับความสัมพันธ์ที่เข้าใจซึ่งกันและกันท่ามกลางกระบวนการสร้างมูลค่า

“อาจารย์ ฉันรู้!” ในห้องเรียนหนึ่งในประเทศกินีบิสเซา มีมือชูขึ้นสูงมากมาย บรรดานักเรียนพากันแย่งตอบคำถามของผู้เชี่ยวชาญชาวจีน ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรของจีนเข้าประจำการอยู่ในประเทศแอฟริกาตะวันตกแห่งนี้มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ได้เสร็จสิ้นการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีรวมกว่า 22,000 คน ได้ขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

“จีนจะผลักดันการร่วมสร้างสรรค์ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เพื่อให้ประเทศและประชาชนจำนวนมากยิ่งขึ้นสามารถได้รับโอกาสแห่งการพัฒนาและผลประโยชน์อย่างแท้จริง”

คำพูดของปธน.สี จิ้นผิงได้สื่อถึงความปรารถนาอันจริงใจของจีนที่จะร่วมแบ่งปันผลการพัฒนากับนานาประเทศ

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

เศรษฐศาสตร์ที่ทำให้โลกนี้ดีงามยิ่งขึ้น—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (1)