บทวิเคราะห์ คุมเข้มการเผาฟางเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

0
0

บทวิเคราะห์ คุมเข้มการเผาฟางเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

ช่วงเดือนเมษาจน พฤษภาคม ตุลาคม และพฤศจิกายนของทุกปีเป็นช่วงที่พื้นที่ชนบทของจีนเผาฟาง การเผาฟางก่อให้เกิดควันหนักหนาซึ่งไม่เพียงแต่กลายเป็นปัญหาคอขวดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชนบท หากยังกระทบสภาพแวดล้อมในเมืองอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนใช้มาตรการต่าง ๆ คุมเข้มการเผาฟาง เพื่อลดมลพิษทางอากาศ

กฎหมายว่า ด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศของสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดไว้ว่า ห้ามเผาฟางกลางแจ้ง  นอกจากนี้ มณฑลและเมืองต่าง ๆ ของจีนยังได้วางแผนโดยเฉพาะเกี่ยวกับการคุมเข้มการเผาฟางเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ตัวอย่างเช่น มณฑลเฮยหลงเจียง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้กำหนดแผนห้ามเผาฟางในทุ่งนาเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ส่วนเมืองเบ่าจี มณฑลส่านซีได้กำหนดแผนการใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุมแทนการเผาฟาง ด้านมณฑลเจียงซีได้สร้างกลไกการปราบการเผาฟางและให้เงินรางวัลต่ออำเภอที่ใช้ฟางให้เป็นประโยชน์ตั้งแต่เมื่อปี 2018 โดยใช้วิธีการตรวจด้วยการใช้ดาวเทียมและโดรนควบคุมทางไกล เพื่อกำกับดูแลการเผาฟางของอำเภอต่าง ๆ จำนวน 100 อำเภอของมณฑลเจียงซี

วิธีที่ดีที่สุดในการคุมเข้มการเผาฟางคือ การใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุม จีนเป็นประเทศการเกษตร ทุกปี จีนจะผลิตฟางกว่า 700 ล้านตัน รายงานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุมทั่วประเทศที่กระทรวงเกษตรกรรมของจีนทำขึ้นระบุว่า เมื่อปี 2021 ทั่วทั้งประเทศจีนได้ใช้ฟางให้เป็นประโยชน์ถึง 647 ล้านตัน อัตราการใช้ประโยชน์ฟางคิดเป็น 88.1%

เมื่อต้นปีนี้ การคลังส่วนกลางของจีนได้จัดเงินทุน 2,700 ล้านหยวนในการใช้ปฏิบัติการเพื่อใช้ประโยชน์ฟางอย่างรอบด้าน โดยจะสร้างสรรค์อำเภอสำคัญด้านการใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุมจำนวน 300 อำเภอในทั่วประเทศ  และฐานการใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุมจำนวน 600 แห่งในทั่วประเทศ เพื่อประกันให้อัตราการใช้ประโยชน์ฟางในทั่วประเทศจีนให้เป็น 86% ขึ้นไป

จีนยังรณรงค์ให้พื้นที่ต่าง ๆ ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุม  นอกจากการบดฟางให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์และโถมคืนสู่ไร่นาซึ่งเป็นวิธีการใช้ประโยชน์ฟางดั้งเดิมแล้ว พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนยังแปรสภาพฟางให้เป็นอาหารสัตว์ แก๊ส เอทานอล วัสดุการก่อสร้าง หรือ นำไปกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งได้เพิ่มคุณค่าและอัตราการใช้ประโยชน์ของฟาง

อำเภอหลงโจว เมืองฉงจั่ว เขตกว่างซีทางใต้ของจีนปลูกอ้อย ข้าวเจ้า และข้าวโพดเป็นหลัก มีพื้นที่การเพาะปลูกกว่า 48,000 เฮกตาร์ ผลิตฟางประมาณ 490,000 ตันต่อปี ปีหลัง ๆ มานี้ อำเภอหลงโจวพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปฟางให้เป็นอาหารสัตว์ และพัฒนาการเลี้ยงวัว ซึ่งได้สร้างตำแหน่งงาน และเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ถือเป็นตัวอย่าง “การใช้ฟางเลี้ยงวัว” เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองในชนบท นอกจากนี้ อำเภอหลังโจวยังให้เงินอุดหนุนต่อการสั่งซื้อฟางและใช้ประโยชน์ฟางตามชนิดของฟาง สำหรับฟางสดจะให้เงินอุดหนุน 45 หยวนเท่ากับ 225 บาทต่อตัน สำหรับฟางแห้ง จะให้เงินอุดหนุน 60 หยวนต่อตัน เมื่อปี 2021 อัตราการใช้ประโยชน์ฟางของอำเภอหลงโจวคิดเป็น 87%

ทั้งนี้ จีนได้ก่อตั้งสหพันธ์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์ฟางแห่งชาติเมื่อปี 2015 เพื่อพัฒนาการผลิต การศึกษาวิจัย และความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์ฟาง โดยจัดงานมหกรรมอุตสาหกรรมการผลิตฟางนานาชาติเป็นประจำ เพื่อจัดแสดงผลคืบหน้าและผลงานด้านการใช้ประโยชน์ฟาง ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ฟางที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงคุณภาพไร่นาให้ดีขึ้น ความปลอดภัยด้านอาหารการกิน การเกษตรระบบนิเวศ และพลังงานใหม่ เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพและการประยุกต์อันกว้างไกลของการใช้ประโยชน์ฟาง  http://www.zgjgxh.com/ เป็นเว็บไซต์ทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมการผลิตฟางของจีน  เป็นศูนย์อีคอมเมิร์ซและศูนย์การค้าฟางออกไลน์ของจีน อีกทั้งเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์ฟางอย่างครอบคลุมด้วย

ฟางเป็นทรัพยกรชีวาภาพหมุนเวียนที่มีการใช้งานหลายอย่าง การเผาฟางไม่เพียงแต่สิ้นเปลืองทรัพยกร หากยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ในอนาคต จีนจะคุมเข้มการเผาฟางเพื่อลดมลพิษทางอากาศต่อไป ขณะเดียวกัน จีนยังจะพัฒนาระบบการตลาดซึ่งรวมถึงการรวบรวม การขนส่ง การเก็บรักษา การแปรสภาพ และการใช้งานฟาง อีกทั้งจะพัฒนารูปแบบการผลิตด้านการเกษตรชีวิภาพที่ได้ผสมผสานอุตสาหกรรมการเพาะปลูก อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์  อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตร และอุตสาหกรรมนิเวศด้านการใช้งานฟางด้วย

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)