บทวิเคราะห์ : RCEP ก้าวสู่ขั้นใหม่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมสมาชิกทั้งหมด

0
1
เจ้าหน้าที่ศุลกากรเมืองหนานหนิง เขตกวางสี ประเทศจีนกำลังออกใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้าตามกรอบ RCEP ฉบับแรกของกวางสีสําหรับฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 2มิถุนายน ค.ศ. 2023

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.. 2023ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือRCEPมีผลบังคับใช้กับฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ ก่อนหน้านี้ RCEP มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการกับ 10 ประเทศสมาชิกอันได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.. 2022 มีผลบังคับใช้กับเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ มีผลบังคับใช้กับมาเลเซียเมื่อวันที่ 18 มีนาคม มีผลบังคับใช้กับเมียนมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมของปีเดียวกัน และเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.. 2023  RCEP มีผลบังคับใช้กับอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ

จำนวนประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และมูลค่าการค้าสินค้าในภูมิภาค RCEP ต่างครองสัดส่วนประมาณ 30% ของโลก การมีผลบังคับใช้กับฟิลิปปินส์ในครั้งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศของ RCEP ล้วนได้เสร็จสิ้นกระบวนการบังคับใช้โดยสมบูรณ์ เป็นอันว่าเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุด มีขนาดเศรษฐกิจและการค้าที่ใหญ่ที่สุด และมีศักยภาพแห่งการพัฒนามากที่สุดของโลกได้เข้าสู่ขั้นหม่ที่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมสมาชิกทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบแล้ว

ในช่วงเวลากว่าหนึ่งปีนับตั้งแต่ RCEP มีผลบังคับใช้เป็นต้นมา ระดับภาษีระหว่างประเทศสมาชิกลดลง ต้นทุนการค้าสินค้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งได้ส่งเสริมการหลอมรวมอย่างลึกซึ้งของห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่าภายในภูมิภาคนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวสําหรับประเทศสมาชิก RCEP ไม่เพียงแต่เอื้อต่อการบุกเบิกตลาดส่งออกสินค้าเท่านั้น แต่ยังเอื้อต่อการ “ก้าวสู่สากล” ของอุตสาหกรรมที่มีความเหนือกว่าด้วย มีวิสาหกิจจำนวนมากมายได้ประโยชน์เป็นที่ประจักษ์จากดอกผลที่เกิดจากการบังคับใช้ RCEP

ฝ่ายต่างๆมีความเห็นโดยทั่วไปว่า หลังจาก RCEP มีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั้ง 15ประเทศที่ร่วมลงนามแล้วนั้น จะส่งเสริมการไหลเวียนอย่างเสรีของทรัพยากรสำคัญซึ่งรวมถึงสินค้า บริการ เงินทุน เทคโนโลยี ข้อมูล ฯลฯ ในภูมิภาคอีกระดับ ขยายการเปิดกว้างและความร่วมมือในขอบเขตที่กว้างใหญ่ยิ่งขึ้นและในระดับที่สูงและลึกยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการค่อยๆก่อรูปขึ้นเป็นตลาดบูรณาการระดับภูมิภาคซึ่งจะเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก RCEP มีความมั่นใจในเรื่องนี้  

เมื่อปี ค.. 2022 ยอดการนําเข้าและส่งออกของจีนกับประเทศสมาชิก RCEP อื่น ๆ อยู่ที่ 12.95 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าคิดเป็น 30.8% ของยอดการนําเข้าและส่งออกกับต่างประเทศของจีน ในปีเดียวกัน จีนใช้เงินลงทุนจากสมาชิก RCEP รายอื่นๆ เป็นจำนวน 23,530 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

กระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่า การมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบของ RCEP นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและปฏิบัติการของทั้ง 15 ประเทศในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดถือกฎระเบียบเป็นพื้นฐาน เปิดกว้าง เสรี เป็นธรรม และครอบคลุม ยกระดับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในเอเชียตะวันออกอย่างรอบด้าน ตลอดจนมีส่วนช่วยต่อการพัฒนาอย่างมั่นคงในระยะยาวของเศรษฐกิจทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก ฝ่ายจีนจะผลักดันการปฏิบัติตาม RCEP ด้วยคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ให้คําแนะนําและบริการแก่งานสาขาต่างๆและวิสาหกิจทั้งหลายในการลงลึกดําเนินการและใช้ประโยชน์จาก RCEP ในเวลาเดียวกันจีนจะทํางานร่วมกับฝ่ายอื่น ๆ ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในข้อตกลง  เสริมสร้างกลไก RCEP อย่างต่อเนื่อง ยกระดับการดําเนินการตาม RCEP โดยรวม ตลอดจนสร้างหลักประกันที่ทรงพลังเพื่อให้การดําเนินความร่วมมือในกรอบ RCEP มีความมั่นคงในระยะยาว

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีนว่า การบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบของ RCEP ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกต่างๆเท่านั้น หากยังจะช่วยให้สมาชิก RCEP ทุกประเทศได้ประโยชน์ด้วย

นักวิชาการชาวสิงคโปร์ผู้มีชื่อเสียงให้มุมมองว่า การเสร็จสิ้นกระบวนการอนุมัติ RCEP ของฟิลิปปินส์เป็นเหตุการณ์สำคัญเชิงป้ายบอกระยะทางที่น่าจับตา ซึ่งหมายความว่า RCEP พร้อมที่จะเข้าสู่ยุคใหม่ RCEP จะมีบทบาทเป็นต้นแบบให้กับข้อตกลงการค้าเสรีในภูมิภาคอื่นๆของโลก

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)