ความร่วมมือด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างไทย-จีน

0
1

ความร่วมมือด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างไทย-จีน

ปีนี้เป็นปีแรกทึ่ประเทศจีนร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565  ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-21 สิงหาคม 2565 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดย  สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำไทยร่วมกับ China Academy of Sciences  Innovation Cooperation Center Bangkok (CAS-ICCB) และ China – ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)   ร่วมจัด “China Pavilion” เพื่อนำเสนอ เทคโนโลยีล้ำสมัยของจีน และความร่วมมือในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศในอาเซียน

ใน “China Pavilion” มีการแนะนำองค์กรที่ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างจีน ไทย และอาเซียน หลายองค์กร อาทิ

China Academy of Sciences  Innovation Cooperation Center Bangkok (CAS-ICCB)

เป็น CAS องค์กรแรกที่ตั้งขึ้นนอกประเทศจีน  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามโครงการข้อริเริ่ม 1 แถบ 1 เส้นทาง  (Belt and Road Initiative) การพัฒนาอาเซียน และ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

China – ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)  

เป็นองค์กรที่ตั้งขั้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนและอาเซียน  มีการดำเนินงานหลายด้าน เช่น ส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศในอาเซียน จัดทำแนวโนบายที่ขับเคลื่อนการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมในการพัฒนาประเทศ

China Academy of Sciences  Innovation Cooperation Center Bangkok (CAS-ICCB) และ China – ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)  ยังร่วมกันจัดตั้ง China-Thailand ASEAN Innovation Hub ที่กรุงเทพฯ  เพื่อจะเป็นตัวกลางในการเชื่อมภาคธุรกิจและสร้างชุมชนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนดลยี และนวัตกรรมระหว่างประเทศไทย อาเซียน และจีน ด้วย

University of Science and Technology of China

เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ 1 ใน 100 ของโลก และอยู่ในอันดับ 4 ของประทศ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ปี พ.ศ. 2564  จัดตั้งโดยสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ตามนโยบายของรัฐบาลจีน ที่ต้องการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย กับหน่วยงานของ CAS ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำทางการศึกษาที่ล้ำสมัย ในลักษณะสหวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทางมหาวิทยาลัยยังมีทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก เพื่อส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ด้วย

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี

เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างประเทศจีนและประเทศในอาเซียน

โดยมีการให้บริการด้านต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ทั้งถาวรและชั่วคราว  สตูดิโอวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน  โรงภาพยนตร์ 4 มิติ โรงภาพยนตร์โดม และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ  โดยมีพื้นที่จัดแสดงหลัก 3 พื้นที่ ได้แก่ การเรียนรู้และการสำรวจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิถีชีวิต นวัตกรรมและความมุ่งหวัง ที่จัดแสดง เทคโนโลยีวิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมชีวภาพ และภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น รวมถึงจัดแสดงผลสำเร็จด้านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกว่างซีและประเทศในอาเซียน

ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและประเทศในอาเซียนทุกปี  เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์  การประกวดหุ่นยนต์ และนวัตกรรมต่างๆ

ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ มีผู้สนใจร่วมชมนิทรรศการใน “China Pavilion” จำนวนมาก ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่เห็นความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปพัฒนาประเทศต่อไป