CIM-DPU เปิดหลักสูตร Hospital and Wellness Management Program รุ่น 3

0
1

CIM-DPU เชิญชวนผู้บริหารและผู้ให้บริการสายสุขภาพเข้าร่วมหลักสูตร Hospital and Wellness Management Program รุ่น 3

เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2566 ณ โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดาฯ ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอํานวย คณบดี วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายในงานสัมมนาธีม Healthcare Transformation: Wellness, Tourism, & Data-Driven Strategies ซึ่งจัดโดยสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย (TMWTA) ร่วมกับ แพลตฟอร์ม ArokaGO (www.arokago.com)

โดยภายในงานมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ อาทิ ดร.แพทย์หญิง ประภา วงศ์แพทย์ นายกสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย และ ที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน บรรยายในหัวข้อ The Integration of Wellness Services in Medical Tourism: Strategies for Management Team ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี CEO, CTO & Co-Founder of KronoLife และ Senior Researcher at NANOTEC, NSTDA บรรยายในหัวข้อ “Breakthrough Innovations Targeting Aging’s Root Causes for Enhanced Beauty, Health, and Longevity” และ ดร.กุลบุตร โกเมนกุล CEO & Co-founder of ArokaGO Platform และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  บรรยายในหัวข้อ “Data-Driven Business Strategies for Healthcare Providers” ซึ่งผู้เข้าร่วมงานสัมมนานี้ประกอบด้วยผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้ให้บริการสุขภาพ และบุคลากรทางการแพทย์ มากกว่า 80 ท่าน

 

ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอํานวย ได้ให้ความกระจ่างแก่ผู้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับเวลเนส (Wellness) และมุมมองด้านสุขภาพที่กว้างขึ้น ซึ่งไม่เพียงครอบคลุมถึงการไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมอีกด้วย สิ่งสำคัญ คือ เราต้องตระหนักว่า เวลเนสนั้นสามารถเริ่มได้ที่ตัวเราเองไม่ใช่ที่คุณหมอ การไม่แสดงอาการของโรคไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีสุขภาพที่ดี และบ่อยครั้งการรับประทานยาเองอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือ ผลข้างเคียงโดยที่คนไข้ไม่รู้ตัว ความท้าทายอีกประการหนึ่งที่เราเผชิญ คือ ความหมายที่ผิดๆ เกี่ยวกับคำว่า “สุขภาพ” ซึ่งทุกคนมักสื่อถึงภาพลักษณ์ของแพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาล การรับรู้ที่แคบนี้นำไปสู่การขาดความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวม และความเข้าใจผิดต่างๆในเรื่องของโภชนาการ

นอกจากนี้ ประสาทสัมผัสของเรายังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี สภาพแวดล้อมในการให้บริการด้านสุขภาพหรือWellnessจึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพของเราทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้น ประสาทสัมผัสทั้งห้าจึงส่งผลต่อสุขภาพโดยรอบซึ่งมีดังนี้ 1.การมองเห็น (Sight) 2.เสียง (Sound) 3.กลิ่น (Smell) 4.รสชาติ (Taste) และ 5.การสัมผัส (Touch) อาจารย์หมอพัฒนาได้กล่าว เพิ่มเติม ว่า หลายๆ คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการชะลอวัย (Anti-aging) ว่าคำนึงถึงทางด้านความงามเพียงอย่างเดียว เช่น การลดเลือนริ้วรอย อย่างไรก็ตาม ชะลอวัยเป็นศาสตร์ที่กว้างกว่า โดยมุ่งเป้าไปที่การชะลอกระบวนการชราจากภายในทุกเซลล์ของร่างกาย เป้าหมายไม่ใช่แค่เพียงให้ดูอ่อนกว่าวัยแต่ยังมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีอีกด้วย

ผศ.ดร.นพ.พัฒนา ได้แนะนำและเชิญชวนให้บุคคลที่จบสายบริหารแต่ไม่เข้าใจระบบการทำงานของโรงพยาบาล เจ้าของธุรกิจและผู้ที่สนใจทำงานบริหารเกี่ยวกับธุรกิจสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล คลีนิค ศูนย์wellness มาเรียนรู้และเข้าใจ หลักการบริหารสถานพยาบาล และศูนย์สุขภาพแบบครบวงจร ที่หลักสูตร Hospital and Wellness Management รุ่น 3 ที่วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ CIM-DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การบริหารงานโดยตรง โดยหลักสูตรเริ่มเรียนตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ – 2 พฤษภาคม 2567 โดยเรียนสัปดาห์ละ 1 วัน รวมทั้งสิ้น 66 ชม. ผู้เรียนจะได้เรียนในเรื่องของหลักการจัดการองค์กรหรือธุรกิจให้บริการสุขภาพ หลักการของการชะลอวัย การจัดการทางการเงินและวิเคราะห์ทางการเงินในธุรกิจ การตลาดและการตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจโรงพยาบาลและผู้ให้บริการสุขภาพ การการจัดการประกันภัยในธุรกิจสุขภาพ การจัดการธุรกิจเวลเนส การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้พัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ การบริหารท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ การวางแผนกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ และ การบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวรันณ์ธร ปรีดา เบอร์โทร 0899967744 และ ดร.รมัยมาศ เบอร์โทร 0914360964 หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ https://cim.dpu.ac.th