ถอดบทเรียนแดนมังกร (Covid-19 Frontline)

0
55

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของไทยแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์จากจีน ทางช่อง 9MCOT HD ในรายการ “ถอดบทเรียนแดนมังกร (Covid-19 Frontline)” เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีจัดการประชุมออนไลน์ครั้งแรกระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านโควิด-19 ของจีน และ ไทย โดยผู้เชี่ยวชาญฝั่งไทย ได้แก่ นำทีมโดยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา, ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี, ศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญยา โชคไพบูลย์กิจ, รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์, พลอากาศตรีนายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ปราการ ถมยางกูร

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า โชคดีมากที่ได้มีโอกาสในการสื่อสารกับแพทย์จีนที่อยู่แนวหน้า ประสบการณ์ของแพทย์จีนที่มีคุณค่าเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาโควิด-19ในไทย ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของไทยก็เชื่อว่าโควิด-19 นั้นไม่ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากห้องทดลอง

การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมิตรภาพจีน – ญี่ปุ่น เป็นตัวแทนฝ่ายจีน พวกเขาเป็นแพทย์แนวหน้าเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่งกลับมาจากมณฑลหูเป่ย ส่วนทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฝั่งไทยทั้ง 7 คนมากจากแผนกต่างๆ เช่น โรคติดต่อ ระบบหายใจ อายุรกรรม และ ฉุกเฉิน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการวินิจฉัยและรักษาโรคโควิด-19 เป็นเวลาประมาณสองชั่วโมง ทีมแพทย์ไทยนำโดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าประเทศกำลังเผชิญกับไวรัสแบบใหม่ โชคดีที่ประเทศไทยมีเพื่อนอย่างจีนที่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์จากประเทศจีนจะช่วยให้บุคลากรแพทย์ของไทยสามารถปกป้องชีวิตของประชาชนได้อย่างเต็มที่ และเพิ่มเติมว่าหลังจากจีนประสบความสำเร็จในการป้องกันการแพร่ระบาด จึงรีบให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องของยาต้านไวรัส ซึ่งประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตได้เอง หากไม่ได้ความช่วยเหลือจากจีน ประเทศไทยอาจจะมีผู้ติดเชื้อสูงกว่านี้แน่นอน

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ถ้าเราดำเนินการตามในสิ่งที่ประสบความสำเร็จ การที่เราจะสำเร็จก็จะเยอะ และแพทยสภาจะถ่ายทอดเรื่องนี้ให้กับแพทย์ทั้งประเทศ ให้กับกระทรวงสาธารณสุข ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ แล้วนำไปเป็นกระบวนการหรือมาตรฐานในการที่รักษาโควิด-19ในประเทศไทยครับ”

“ภายใต้สถานการณ์ที่บางประเทศยังไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศจีนได้เอื้อมมือเข้าช่วยอย่างเต็มใจ บริจาคเวชภัณฑ์และแบ่งปันประสบการณ์การป้องกัน หากทั่วโลกสามารถเอาชนะไวรัสได้ในที่สุด จีนจะมีบทบาทสำคัญอย่างแน่นอน”

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี ได้กล่าวว่า วงการแพทย์ไทย-จีนทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีมานาน และสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างช่วงแพร่ระบาด เมื่อพูดถึงแหล่งที่มาของไวรัส มองว่า ไวรัสมาจากธรรมชาติ ไม่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นมาตามข่าวลือ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี กล่าวว่า “ผมเคยให้สัมภาษณ์ออกข่าวทางทีวีหลายครั้งแล้วว่า ลักษณะสายพันธุ์กับพันธุกรรมของเชื้อมันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เกิดจากห้องปฏิบัติการ แล้วอีกอย่างเชื้อตัวนี้มันมีการการพัฒนาตนเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปสังเคราะห์ และกลายพันธุ์ช่วงที่อยู่อู่ฮั่นจึงเกิดการระบาด ผมคิดว่าช่วงที่ระบาดในจีนอาจจะกลายพันธุ์ไปอีกหลายตัวแล้วก็เป็นได้”

นายแพทย์วิศิษฎ์ ประสิทธิศิริกุล รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร ผู้เชี่ยวชาญจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กล่าวว่า ทางสถาบันบำราศนราดูรเป็นโรงพยาบาลลำดับต้นๆของประเทศที่รับผู้ป่วยโควิด-19มารักษาจนหาย

ทั้งนี้นายแพทย์วิศิษฎ์ ประสิทธิศิริกุล กล่าวต่อไปว่า “ประเทศจีนดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นำหน้าประเทศไทยอยู่ก้าวหนึ่ง บทเรียนอะไรที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร ถ้าเรารู้ได้ก่อนโดยสอบถามจากเพื่อนแพทย์ชาวจีนก็จะทำให้เราปรับใช้ในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น จะว่าไปแล้วประเทศจีนกับประเทศไทยเป็นพี่น้องกัน ต่างพึ่งพาอาศัยกันนะครับ”