People’s Daily นำสื่อมวลชน 6 ประเทศ เยี่ยมชมสะพานข้ามทะเลเชื่อมเซินเจิ้น-จงซาน มณฑลกวางตุ้ง ที่กำลังเตรียมเปิดใช้ในปี 2024

0
5

วันที่ 2 กรกฏาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะสื่อมวลชนจาก 6 ประเทศ (กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ลาว ไทย และ จีน) ที่เข้าร่วม 2023 Lancang-Mekong Cooperation (LMC) Media Workshop เดินทางไปเยี่ยมชมสะพานข้ามทะเลชส่วนที่เชื่อมระหว่างเซินเจิ้น-จงซาน มณฑลกวางตุ้ง ที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ โดยสะพานคาดว่าจะสามารถเปิดใช้ในปี 2024 

บริษัท CCCC Second Harbour Engineering จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านการก่อสร้างชั้นนำของจีนและเป็นผู้ร่วมก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ในไทยในนาม กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และ พาสื่อมวลชนเข้าชมอย่างประทับใจ โครงการนี้มีการก่อสร้างอุโมงค์ใต้น้ำ ความยาว 6.80กิโลเมตร สะพาน และเกาะ ความยาวรวมกว่า 24 กิโลเมตร โดยถือเป็นโครงการข้ามทะเลขนาดใหญ่ ที่เชื่อมต่อเซินเจิ้นและจงซาน มณฑลกวางตุ้ง ตอนนี้เหลือในส่วนของอุโมงค์ใต้น้ำ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะเปิดใช้ในปี 2024 ซึ่งจะทำให้การเดินทางเชื่อมระหว่าง 2 เมือง ใช้เวลาเพียง 30 นาที จากเดิมต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง 

จุดสำคัญของโครงการคือสะพานหลิงติงหยาง (Lingdingyang) ซึ่งเป็นส่วนสําคัญที่ตัวสะพานสูงกว่า 91 เมตร และ มีโครงสร้างสูงกว่า 270 เมตร หรือเท่ากับตึก 100 ชั้น ปัจจุบันมีเรือ 4,000 ลำแล่นผ่านทุกวัน โดยเรือที่มีน้ำหนักเกิน 10,000 ตันจะมีมากกว่า 200 ลำ และในอนาคตจะพัฒนาให้รองรับเรือน้ำหนัก 300,000ตัน ชิ้นส่วนสำคัญสุดของสะพานได้เพิ่งถูกนำมาเชื่อมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2533 ที่ผ่านมา เส้นทางการก่อสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า จะตัดผ่านช่องทางเดินเรือที่คึกคักที่สุดในทะเลหลิงติงหยาง และ สะพานหลิงติงหยางเป็นจุดที่ทาง People’s Daily นำคณะสื่อมวลชนขึ้นลิฟท์ไซต์ก่อสร้างเพื่อไปเยี่ยมชมทัศนียภาพจากด้านบน โครงการนี้จะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area) ให้เป็นพื้นที่อ่าวระดับโลก และกลุ่มเมืองชั้นนำระดับนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคนี้ โดยสะพานนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศจีน เพราะเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2552 โดยริเริ่มคิดจะสร้างตั้งแต่ปี 2532และ วางแผนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มในปี 2547

ส่วนสาเหตุที่มีบางส่วนของเส้นทางเป็นอุโมงค์ใต้ทะเล เพราะน่านน้ำทะเลหลิงติงหยาง อยู่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติฮ่องกง จึงมีข้อจำกัดความสูงของสิ่งก่อสร้างในบริเวณใกล้สนามบิน ทำให้ไม่สามารถสร้างเสาสูงแขวนสะพานได้สะดวก ด้วยเหตุนี้ อุโมงค์ใต้ทะเลจึงเป็นทางเลือกเพียงอย่างเดียวที่แก้ปัญหาได้