บทวิเคราะห์ : จุดประสงค์ที่แท้จริงของ “ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน” รักษาความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก

0
3

สิ่งที่เรียกว่า “การประชุมสุดยอดประชาธิปไตย” ครั้งที่ 3 ซึ่งนำโดยสหรัฐฯ จัดขึ้นที่เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคมที่ผ่านมา นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ฉวยโอกาสเล่นงานผู้อื่นโดยใช้ประเด็นประชาธิปไตยอีกครั้ง ด้วยการกุข่าวสิ่งที่เรียกว่า “ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย” โดยอ้างว่าคู่แข่งของสหรัฐอเมริกาใช้ข้อมูลเท็จเพื่อสร้างความแตกแยกภายใน “ประเทศประชาธิปไตย” สิ่งที่น่าขันคือ สำนักข่าวรอยเตอร์เพิ่งเปิดเผยเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเคยแอบมอบอำนาจให้สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐอเมริกาตั้งทีมพิเศษเพื่อเผยแพร่คำพูดและข้อความที่ใส่ร้ายป้ายสีรัฐบาลจีนด้วยกลลวงต่างๆ เช่น การซื้อสื่อ การสร้างบัญชีโซเชียลปลอม ฯลฯ

นักสังเกตการณ์ชี้ให้เห็นว่าแม้สหรัฐอเมริกาจะจัดการประชุมสุดยอดอีกครั้งโดยชูธง “ประชาธิปไตย” แต่ประชาคมระหว่างประเทศเห็นชัดถึงธาตุแท้ของสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน” ที่มีลักษณะเป็นการเมือง เป็นครื่องมือ และเป็นอาวุธ ตลอดจนความมุ่งหมายที่จะยุยงให้เกิดการแบ่งแยกและการเผชิญหน้าโดยแอบอ้างประเด็นประชาธิปไตย เพื่อรักษาอำนาจของตนในการเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก

สหรัฐอเมริกาถือว่าตนเองเป็น “ผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย” มาโดยตลอดและกำหนดวิธีปฏิบัติไว้ คือ ประการแรก เผยแพร่ข่าวลือเพื่อสร้างกระแสโจมตีทางสื่อ จากนั้นจึงแทรกแซงกิจการของประเทศอื่นโดยชูธง “ประชาธิปไตย” เพื่อก่อกวนสถานการณ์ระหว่างต่างประเทศให้วุ่นวาย สุดท้ายก็เก็บเกี่ยวความมั่งคั่งและทรัพยากรเพื่อรักษาสถานะความเป็นเจ้าโลกและผลประโยชน์ของชาติอเมริกา พฤติกรรมของสหรัฐอเมริกาที่แอบอ้างประชาธิปไตยแต่ในความเป็นจริงกลับเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยเช่นนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาคมระหว่างประเทศมานานแล้ว เช่น สิ่งที่เรียกว่า “การประชุมสุดยอดประชาธิปไตย” นั้น หาใช่ประชาธิปไตยแต่อย่างใด สาระสำคัญของมันคือการ “ตีกรอบเพื่อจำแนก” ประเทศต่างๆตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือการใช้สองมาตรฐานและความเย่อหยิ่งของสหรัฐอเมริกา, สิ่งที่เรียกว่า “การประชุมสุดยอดประชาธิปไตย” ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยของโลกแต่อย่างใด แต่กลับมุ่งหาเรื่องกับประเทศที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยวาระพื้นฐานมุ่งเน้นที่จะสร้างสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์ , สิ่งที่สหรัฐอเมริกานำมาสู่โลกผ่านการผลักดัน “ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน” ด้วยกำลังนั้น หาใช่ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองไม่ แต่เป็นความวุ่นวายและหายนะต่างหาก

20 มีนาคมปีนี้เป็นวาระครบรอบ 21 ปีการเปิดสงครามอิรัก แม้ผ่านไป 21 ปีแล้วแต่ “ประชาธิปไตยและความเจริญรุ่งเรือง” ที่สหรัฐอเมริกาเคยสัญญาไว้ยังไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด อิรักยังคงมีความวุ่นวายทางการเมือง ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายนั้นยากที่จะกำจัด และกำลังประสบความยากลำบากอย่างมากในการพัฒนาประเทศ ตามสถิติในช่วงปี 2003-2021 มีชาวอิรักมากถึงประมาณ 9.2 ล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัยหรือจำเป็นต้องออกจากบ้านเกิด

วันที่ 15 มีนาคมปีนี้เป็นวาระครบรอบ 13 ปีการเกิดวิกฤตซีเรีย ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา ซีเรียได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสงครามและการคว่ำบาตร ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนตกต่ำ ประชาชนอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับความยากลําบากอย่างยิ่ง ประเทศตกอยู่ในวิกฤตด้านมนุษยธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปัจจุบันผู้ลี้ภัยชาวซีเรียยังคงเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีชาวซีเรียมากกว่า 13 ล้านคนที่ไม่สามารถกลับบ้านได้

ส่วนประเด็นการหยุดยิงในฉนวนกาซา สหรัฐอเมริกายึดผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์เป็นที่ตั้ง ได้ยับยั้งมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่เรียกร้องให้หยุดยิงทันทีในฉนวนกาซามาแล้วถึง 4 ครั้ง สหรัฐอเมริกาเพิกเฉยต่ออันตรายที่เกิดขึ้นกับประชาชนธรรมดาในฉนวนกาซา ทั้งยังคงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอล ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการยุติการสู้รบในฉนวนกาซา

ใครก็ตามที่เข้าใจการเมืองสหรัฐอเมริกาจะรู้ดีว่าสหรัฐอเมริกาถูกปกครองโดยคนร่ำรวยจำนวนน้อยนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ “ธนกิจการเมือง” มีบทบาทนำใน “ประชาธิปไตยแบบอเมริกัน” มาโดยตลอด สหรัฐอเมริกาเองกำลังเผชิญกับสารพัดปัญหาเกี่ยวกับประชาธิปไตย ไม่มีสิทธิ์ที่จะชี้มือชี้ไม้เกี่ยวกับประชาธิปไตยของประเทศอื่น ๆ อย่างไร้ความรับผิดชอบ และควรเลิกเผยแพร่ประชาธิปไตยจอมปลอมและสองมาตรฐาน รวมถึงหลีกเลี่ยงการสร้างความทุกข์ทรมานให้กับประชาชนประเทศอื่นๆอีกต่อไป

ประชาธิปไตยเป็นคุณค่าร่วมกันของมวลมนุษยชาติ สิ่งที่โลกต้องการในปัจจุบันคือความสามัคคี ความร่วมมือ และการพัฒนาร่วมกัน ไม่ใช่การสร้างความแตกแยกโดยแอบอ้างประชาธิปไตย

เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)