ห่วงใย “ตะกร้าผัก” ของชาวบ้าน- เส้นทางสี จิ้นผิง(58)

0
21
นายสี จิ้นผิง ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสจ์จีนประจำเมืองฝูโจวพูดคุยกับประชาชนเมื่อปี ค.ศ.1993 (ภาพโดยสำนักข่าวซินหัว)

หู จี้หมิ่น ซึ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้าแผนกการค้าของคณะกรรมการการคลังและการค้าเมืองฝูโจว ได้พบกับนายสี จิ้นผิงเป็นครั้งแรกก่อนเทศกาลตรุษจีนปี ค.ศ. 1991 ในโอกาสที่นายสี จิ้นผิงไปสำรวจข้อมูลอุปทานในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตร ในวันนั้น หู จี้หมิ่นทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่นายสี จิ้นผิงในการสำรวจตลาด

ขณะตรวจเยี่ยมแผงขายหมู นายสี จิ้นผิงกล่าวว่า “เวลาชาวบ้านในเมืองฝูโจวรับประทานอาหารเย็นวันส่งท้ายปีเก่า ทุกครอบครัวต่างก็จะเตรียม “ไท่ผิงเยี่ยน”ชามหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือเนื้อหมูและไข่เป็ด เมื่อพวกคุณสามารถจัดหาสินค้าป้อนตลาดได้อย่างเพียงพอก็ถือเป็น “การปกป้องสันติสุข” ด้วย! ”

นายสี จิ้นผิงเดินไปที่โซนขายผักในตลาด เขารู้สึกพอใจมากเมื่อเห็นว่าผักที่นี่มีเพียงพอและมีความหลากหลาย เขากล่าวว่า “เราต้องประกันพื้นที่ปลูกผักให้เพียงพอ จึงจะสามารถประกันให้ตลาดมีสินค้าเพียงพอได้ แต่ผักใบเขียวมีโรคและแมลงศัตรูพืชค่อนข้างมาก ดังนั้น เราจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นพิษต่ำเพื่อประกันความปลอดภัยของอาหาร”

หู จี้หมิ่นที่อยู่ข้างๆ รู้สึกประหลาดใจ ท่านเลขาธิการคนใหม่ผู้นี้มีความละเอียดมากในการตรวจงาน เขาใส่ใจโต๊ะอาหารของชาวบ้านจริงๆ ทั้งยังมีความรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารของเมืองฝูโจวอีกด้วย

ต่อมา เมื่อถึงทุกเทศกาลสำคัญๆ เช่น วันชาติ วันขึ้นปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน นายสี จิ้นผิงต่างก็จะไปที่ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรเพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับอุปทานในตลาด

“เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย การคมนาคม ตลอดจนเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรงของประชาชนนั้นเป็นประเด็นหลักที่เราใส่ใจเสมอ” เมื่อต้นปีค.ศ.1991 นายสี จิ้นผิง กล่าวเช่นนี้ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจวยังไม่ถึงปี

ในเวลานั้น การผลิตพืชผักของฝูโจวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ เทคโนโลยียังไม่ทันสมัย ให้ผลผลิตในระดับธรรมดา และความสามารถในการสร้างหลักประกันที่อ่อนแอ ผักจำนวนมากต้องขนส่งเข้ามาจากที่อื่น ทำให้ระดับอุปทานมักจะวนเวียนอยู่ที่ระดับต่ำมาโดยตลอด

มีคำพูดในฝูโจวว่า “หากไม่เห็นสีเขียวเป็นเวลาสามวัน จะเห็นดาวสีทองในดวงตาทั้งสองข้าง(อาการเวียนศีรษะ)” ซึ่ง  “สีเขียว”ในนี้หมายถึงผักใบเขียวนั่นเอง “ความยากลำบากในการหาผักมารับประทาน” เป็นปัญหาที่ชาวฝูโจวสะท้อนถึงความไม่พอใจอย่างชัดเจน

ระหว่างดำรงตำแหน่งที่ฝูโจว นายสี จิ้นผิงได้จัดให้โครงการ “ตะกร้าผัก”อยู่อันดับต้นๆ ในการวางแผนงานประจำปีของเขาเสมอ

นายสี จิ้นผิงเสนอว่าโครงการ “ตะกร้าผัก”ควรเคร่งครัดต่อการจัดหาพื้นที่ปลูกผัก และปรับโครงการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับแนวคิดการทำงานอันได้แก่ “รักษาพื้นที่ ขยายฐานผลิต เน้นการลงทุน เพิ่มผลผลิต และขยายการหมุนเวียน” ตามแนวคิดนี้ ฝูโจวได้พัฒนาพื้นที่ปลูกผักใหม่และปรับปรุงพื้นที่ปลูกผักเก่ารวม 1,000 เฮกตาร์ ได้จัดให้เกาะหลางฉี ตำบลหนานทงและหนานอี่ว์อำเภอหมิ่นโหวเป็นฐาน “ตะกร้าผัก” ที่ใหญ่ที่สุดในฝูโจว และได้ดำเนินการปลูกผักนอกฤดูบนเทือกเขาหลายแห่ง เช่น ตำบลต้าหูอำเภอหมิ่นโหว เป็นต้น

นอกจากนี้ นายสี จิ้นผิง ยังเป็นผู้นำในการตั้งคลังสำรองอาหารที่ไม่ใช่อาหารหลักอย่างมั่นคงหลายแห่ง เช่น ฟาร์มเฉียนโถว กู่ซาน หลางฉีและอื่นๆในเขตชานเมืองฝูโจว ที่มีทั้งการสร้างขึ้นใหม่หรือดัดแปลงตลาดขายส่งอาหารที่ไม่ใช่อาหารหลักซวงป่าน ห้างจำหน่ายอาหารที่ไม่ใช่อาหารหลักเซี่ยงหยวน และตลาดขายส่งผักย่าเฟิงซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศในขณะนั้น ส่วนตลาดขายส่งต่างๆ สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผลไม้ น้ำตาล ยาสูบ แอลกอฮอล์ พริก สัตว์ปีก และไข่ เป็นต้น ก็ได้ทยอยเปิดตัวทีละแห่ง ก่อรูปขึ้นเป็นระบบตลาดค้าส่งที่นำโดยวิสาหกิจภาครัฐ

ตามคำแนะนำของนายสี จิ้นผิง เมืองฝูโจวสามารถสร้างโครงสร้างอุปทานที่ “ถือการผลิตในท้องถิ่นเป็นหลัก เสริมด้วยอุปทานจากภายนอก”

หลังความพยายามเป็นเวลาหนึ่งถึงสองปี ตลาดอาหารในฝูโจวก็มีความคึกคักมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ ผัก และผลไม้ล้วนมีเพียงพอและราคาก็มีเสถียรภาพเช่นกัน ชาวเมืองฝูโจวจึงสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ทุกชนิดซึ่งวางใจได้ในราคาถูกแต่มีคุณภาพดีตลอดทั้งปี ชาวบ้านต่างเห็นกับตาถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงรู้สึกสุขใจโดยถ้วนหน้า

ในเวลานั้นมีการเผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามผ่านสื่อมวลชนเพื่อคัดเลือก “ผลงานที่ประชาชนพอใจที่สุดในบรรดางานที่คณะกรรมการพรรคฯและเมืองฝูโจวทำเพื่อประชาชน” ซึ่งปรากฏว่า “ตะกร้าผักอุดมสมบูรณ์และราคาคงที่”ติดอันดับหนึ่ง เมืองฝูโจวยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าในการสร้างสรรค์ “โครงการตะกร้าผัก”  ระดับชาติด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อมี “ตะกร้าผัก” เพิ่มมากขึ้น แต่ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรเป็นการรวมกลุ่มของธุรกิจส่วนบุคคลซึ่งมีแหล่งที่มาที่ซับซ้อนและยากต่อการกำกับดูแลผู้ประกอบการ ชาวบ้านจะซื้อของอย่างมั่นใจได้อย่างไร? ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตครบวงจรขนาดใหญ่สมัยใหม่ก็มีปัญหาบางประการดำรงอยู่อันได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่เกินเลย และอาหารสดมีราคาสูง จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการบริโภคของมวลชนได้

นายสี จิ้นผิงชี้ให้เห็นว่า โครงการ “ตะกร้าผัก” จะต้องมุ่งเน้นให้ตลาดเป็นเป้าหมายในการพัฒนา จึงจะสามารถก่อรูปขึ้นเป็นกระบวนการผลิต การจัดหาสินค้า และการจำหน่ายแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพได้ รวมถึงการหมุนเวียนด้วยดีอย่างต่อเนื่อง

การปรับเปลี่ยนการค้าแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมแบบบูรณาการ แต่ก็ไม่ควรเร่งรีบเกินไป ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรให้เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตอาหารสดจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม

ซุเปอร์มาร์เก็ตอาหารสดได้รับการดูแลอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล มีการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารที่ไม่ใช่อาหารรหลักอย่างเข้มงวด และราคาก็อยู่ในระดับปานกลาง จึงได้รับเป็นที่พอใจและชื่นชมของประชาชน

ซุเปอร์มาร์เก็ตอาหารสดที่เกิดขึ้นในกระบวนการ “เปลี่ยนตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรให้เป็นซุเปอร์มาร์เก็ตอาหารสด”กลายเป็นเสาหลักให้กับการดำรงชีวิตของประชาชนได้อย่างครอบคลุมนั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตครบวงจรขนาดใหญ่ก็ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังได้คงไว้ซึ่งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีเอกลักษณ์หลายแห่งด้วย เพื่อให้สินค้าพิเศษบางอย่างซึ่งรวมถึงอาหารทะเลมีแหล่งจำหน่ายที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันได้ดำเนินการกำกับดูแลเป็นกรณีพิเศษด้วย

ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตร ซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารสด และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ครบวงจร จึงค่อยๆ ก่อรูปขึ้นเป็นโครงข่ายในลักษณะที่สามเสาหลักดำรงอยู่พร้อมกันในเมืองฝูโจว

“การเปลี่ยนตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรให้เป็นซุเปอร์มาร์เก็ตอาหารสด”ซึ่งได้รับการส่งเสริมอย่างแข็งขันจากนายสี จิ้นผิงนั้น ต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานของมาตรการต่างๆ เช่น การจัดการ “มลพิษบนโต๊ะอาหาร”เป็นต้น

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

http://www.tcjapress.com/2023/10/16/xi-way-57/