ปรับปรุงชุมชนกระท่อมปะกระดาษ – เส้นทางสี จิ้นผิง(62)

0
9
เมื่อสมัยก่อน พื้นที่ชุมชนกระท่อมชางเสียในเขตไถเจียง เมืองฝูโจว ได้รับการขนานนามจากคนในท้องถิ่นว่า “เมืองฝูโจวดารดาษด้วยกระท่อมที่ปะกระดาษ”

หลังจากนายสี จิ้นผิง เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองฝูโจวได้ไม่นาน ครั้งหนึ่งได้ไปสนามบินเพื่อต้อนรับผู้นำท่านหนึ่งจากกระทรวงกลาง ขณะรถวิ่งมาถึงใจกลางเมือง ผู้นำท่านนั้นถามว่า “เราใกล้จะเข้าเขตเมืองแล้วใช่ไหม?” คำถามที่ไม่ได้ตั้งใจนี้เผยให้เห็นถึงปัญหาที่ชาวเมืองฝูโจวกำลังเผชิญอยู่

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ศตวรรษที่ 20 แม้ฝูโจวเป็นเมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน ทั้งยังเป็นหนึ่งในเมืองชายฝั่งทะเลรุ่นแรกที่เปิดสู่โลกภายนอก แต่โฉมหน้าของพื้นที่มากมายเทียบได้เพียงระดับอำเภอเท่านั้น ดัชนีชี้วัดต่างๆ เช่น พื้นที่อยู่อาศัยเฉลี่ยต่อหัวของชาวเมือง น้ำประปา ถนน พื้นที่สีเขียว เป็นต้น ต่างก็อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเมืองทั่วประเทศมาเป็นเวลายาวนาน

คำว่า “เมืองฝูโจวดารดาษด้วยกระท่อมที่ปะกระดาษ” ได้เป็นที่รับรู้ของนายสี จิ้นผิงในไม่ช้า

“พวกคุณรู้ไหมว่าชาวฝูโจวกลัวอะไรมากที่สุด” นายสี จิ้นผิงเคยถามเจ้าหน้าที่ในเมืองฝูโจว

บางคนก็ว่าอย่างนี้ บางคนก็ว่าอย่างนั้น

“ตอนที่ผมลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลนั้น ผมได้ยินมาว่าสิ่งที่ผู้คนในฝูโจวกลัวมากที่สุดคือความโหดเหี้ยมของภัยน้ำและไฟ ถามว่าทำไม? เป็นเพราะว่าในเมืองฝูโจวมีบ้านไม้มากมาย เมื่อเกิดไฟไหม้จะทำลายพื้นที่ขนาดใหญ่ และเมื่อน้ำในแม่น้ำหมิ่นเจียงล้น น้ำก็จะไหลย้อนกลับเข้ามาท่วมเมือง ทำให้ชาวบ้านต้องประสบความทนทุกข์ทรมาน” นายสี จิ้นผิงกล่าว

ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านกระท่อมในฝูโจวนั้นสามารถย้อนกลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน

เมืองฝูโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำหมิ่นเจียงที่ไหลออกสู่ทะเล ทุกๆ ปีเมื่อน้ำในแม่น้ำหมิ่นเจียงล้นก็ท่วมมีมวลน้ำไหลท่วมถนนและตรอกซอกซอยในเมืองฝูโจว อิฐจะพองตัวและแหลกเป็นชิ้นเมื่อแช่น้ำ ดังนั้นกระท่อมส่วนใหญ่จึงทำจากแผ่นไม้เฟอร์ราคาถูกที่ต่อกันทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง และโดยพื้นฐานแล้วมีโครงสร้างหนึ่งชั้นครึ่ง

เมื่อเข้าไปมองใกล้ๆ ผนังด้านนอกที่ทำจากไม้นั้นง่อนแง่น บางส่วนแห้งจนแตกร้าว บางส่วนเกิดคาร์บอไนเซชัน เหมือนกับเสื้อคลุมที่ชำรุดที่ถูกซ่อมซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีรอยเชื้อราชัดเจนตามทางเดินและมุม มียุงชุมและมีกลิ่นเหม็น

ยามน้ำท่วม ชาวบ้านก็จะเปิดประตูไม้เพื่อเปลี่ยนทิศทางน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังไม้บางๆ ทนแรงดันไม่ไหวจนพังทลายลง เมื่อน้ำลดก็ซื้อหนังสือพิมพ์มาติดผนังภายในอีกครั้ง หลายปีผ่านไป ผนังภายในบ้านถูกติดด้วยกระดาษชั้นแล้วชั้นเล่าจนกลายเป็น “บ้านกระดาษ”

ในฤดูร้อนก่อนมืด ทุกครัวเรือนมักจะแย่งกันวางเตียงไม้ไผ่ไว้ริมถนน ในฤดูหนาว หนังสือพิมพ์ที่โทรมๆและออกสีเหลืองบนผนังภายในไม่สามารถปิดกั้นลมหนาวที่ไหลเข้ามาจากทุกด้านได้ ไฟไหม้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ชุมชนบ้านกระท่อมมีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัด ชาวบ้านจำเป็นต้องจุดไฟทำอาหารใกล้ผนังไม้เฟอร์ หากไม่ระวัง เปลวไฟก็จะลุกไหม้และลุกลามอย่างรวดเร็ว เวลานั้นเสียงร้อง “บ้านถูกไฟไหม้” ดังระงมและน่าสลดใจ

บ้านโทรมๆ มืดๆ พื้นที่คับแคบ หนูวิ่งเข้าออก ทิ้งสิ่งปฏิกูลในถังไม้และทำความสะอาด จุดไฟเตาถ่านหิน และแบกน้ำ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความทรงจำของประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระท่อม

ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ศตวรรษที่ 20 เมืองฝูโจวได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงชุมชนบ้านกระท่อม โดยเริ่มจากหมู่บ้านใหม่เจี้ยนไห่ในเขตไถเจียงและหมู่บ้านใหม่เถาฮวาในเขตชางซาน อย่างไรก็ตาม ถึงช่วงต้นทศวรรษ 1990 ก็ยังคงพบเห็นชุมชนบ้านกระท่อมขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยกระท่อมที่สร้างติดๆกันอย่างเรียบง่ายได้

ขณะนายสี จิ้นผิงไปทำงานที่เมืองฝูโจว การปรับปรุงเมืองฝูโจวเก่าทำเสร็จสิ้นไปแล้วเป็นเพียงหนึ่งในสิบของจำนวนงานที่ควรดำเนินการ

หลังจากนายสี จิ้นผิงทำการศึกษาวิจัยแล้วเห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวบ้านเรือนพันเรือนหมื่น จำเป็นต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงย่านชุมชนกระท่อม

ภายหลังการสำรวจข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัย รวมถึงการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันหลายครั้ง เมืองฝูโจวตัดสินใจที่จะดำเนินการพร้อมกันทั้งสองโครงการที่นายสี จิ้นผิงริเริ่มขึ้น อันได้แก่โครงการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมของแม่น้ำหมิ่นเจียงและโครงการปรับปรุงชุมชนบ้านกระท่อม

“ประการแรก จะต้องไม่ปล่อยให้น้ำไหลท่วมเข้ามาในเขตเมืองอีก จำต้องแก้ไขปัญหาเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ประการที่สอง ประชาชนจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่มีความพร้อมในระดับพอใช้ได้” นายสี จิ้นผิงกล่าว

โครงการยกระดับความสูงและสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมแล้วเสร็จก่อนโครงการอื่นๆ โดยเมืองฝูโจวได้ลงทุนรวมกว่า 4,600 ล้านหยวนในการปรังปรุงเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเดิมซึ่งมีความยาว 153 กิโลเมตรตามแนวแม่น้ำหมิ่นเจียงที่ไหลผ่านเมืองฝูโจวให้เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแกร่งตั้งแต่ต้นจนจบ มาตรฐานการป้องกันน้ำท่วมจึงได้ยกระดับสูงขึ้นอย่างมาก ประชาชนไม่ต้องกลัว “น้ำท่วมเมือง” อีกต่อไป

นี่เป็นเพียงก้าวแรกในการแก้ปัญหาเรื้อรังของชุมชนบ้านกระท่อม ในเวลานั้น ฝูโจวขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทำเลที่ตั้งเป็นแนวหน้าในการป้องกันชายฝั่งทะเลและความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสงครามที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมีเรื่องเร่งด่วนและมากเกินไปที่ต้องทำ แต่การคลังของฝูโจวอยู่ในระดับ “มีเพียงพอสำหรับเลี้ยงชีพพนักงาน”เท่านั้น การปรับปรุงชุมชนกระท่อมขนาดใหญ่ย่อมจะทำให้เกิดข้อจำกัดทางการเงินและส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ

วันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1992 นายสี จิ้นผิง เขียนบทความเรื่อง “การจัดการความสัมพันธ์แปดประการอย่างเหมาะสมในการสร้างสรรค์เมือง” เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ฝูเจี้ยนเดลี่ ซึ่งได้ทบทวนแนวคิดในการตัดสินใจว่า “ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำหมิ่นเจียงที่ไหลผ่านเขตเมืองฝูโจว เดิมทีล้วนเป็นชุมชนบ้านกระท่อมไม้ที่ทั้งเตี้ยและชำรุดทรุดโทรม เราใช้แนวทางการปรับปรุงแบบแบ่งพื้นที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความสิ้นเปลืองที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงเป็นครั้งที่สอง เราได้ดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติอาคารใหม่ในพื้นที่ที่วางแผนอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้ต้องมีระดับและมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อประกันให้การปรับปรุงแต่ละครั้งล้วนประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคตด้วย”

แต่ประเด็นคือการปรังปรุงแบบแบ่งพื้นที่นั้น  ใครมาก่อนและใครมาทีหลัง?

แนวคิดของนายสี จิ้นผิงนั้นชัดเจนและรัดกุม คือ โดยพิจารณาจากแผนงานโดยรวมและขีดความสามารถด้านการรองรับของฝ่ายต่างๆ  ใช้วิธีผสมผสานระหว่างการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆกับการดัดแปลงเพื่อเปลี่ยนโฉมใหม่ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆหมายถึงใช้วิธีรื้อถอนและสร้างใหม่ทั้งหมดในพื้นที่ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดโดยเร็วที่สุดตามแผน ส่วนการดัดแปลงเพื่อเปลี่ยนโฉมใหม่ หมายความว่าสำหรับย่านถนนเชิงพาณิชย์ที่จำเป็นต้องเลื่อนเวลาออกไปสองสามปีในการปรับปรุงใหม่แต่ปัจจุบันถือเป็นภูมิทัศน์ที่ขาดความสวยงาม ก็จะเน้นหนักไปที่การปรับปรุงส่วนหน้าอาคาร ดำเนิน”การปรับโฉม” และการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างบางส่วนไปก่อน

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

http://www.tcjapress.com/2023/11/14/xi-way-61/