สถานีอวกาศจีนในยุคที่มีมนุษย์ประจำการระยะยาว

0
1
(211016) -- BEIJING, Oct. 16, 2021 (Xinhua) -- Screen image captured at Beijing Aerospace Control Center in Beijing, capital of China, Oct. 16, 2021 shows three Chinese astronauts, Zhai Zhigang (C), Wang Yaping (R) and Ye Guangfu, waving after entering the space station core module Tianhe. (Xinhua/Tian Dingyu)

​​วันที่ 16 ตุลาคม จีนประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อไปประจำการยังสถานีอวกาศจีนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า สถานีอวกาศจีนเริ่มเข้าสู่ยุคที่มีมนุษย์ประจำอยู่ในระยะยาว

​​โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษ 1990 ตามยุทธศาสตร์ “3 ย่างก้าว” ปัจจุบันได้เข้าสู่ก้าวที่ 3 กล่าวคือ “การสร้างสถานีอวกาศ โดยจะตอบโจทย์การประยุกต์ใช้ทางอวกาศ โดยมีคนดูแลสถานีอวกาศในระยะยาว” สถานีอวกาศที่โคจรอยู่ใกล้โลกเป็นสถานที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศระยะยาว และเป็นสถานที่ปฏิบัติภารกิจของนักบินอวกาศผู้ดูแลรักษาอุปกรณ์ ซ่อมบำรุง และยืดอายุการใช้งานสถานีอวกาศ กล่าวได้ว่าเป็นฐานที่มั่นในอวกาศ

​​ก่อนหน้านี้โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเคยท่องอวกาศมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่การส่งยานอวกาศพร้อมนักบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศ การส่งนักบินขึ้นสู่อวกาศ การปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ รวมไปถึงการส่งห้องปฏิบัติการขึ้นสู่อวกาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีไป-กลับระหว่างอวกาศ-โลก การออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ การเชื่อมต่อและประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศ ซึ่งปูทางสู่การสร้างสถานีอวกาศอย่างสุขุมรอบคอบ

​​วันที่ 29 เมษายนปีนี้ จีนส่งโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ของสถานีอวกาศจีนขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชางด้วยความสำเร็จ เป็นนัยแสดงว่า สถานีอวกาศจีนเข้าสู่ช่วง “การก่อสร้าง” ตามการออกแบบ โครงสร้างของสถานีอวกาศประกอบด้วย 3 โมดูล ในส่วนของโมดูลหลัก “เทียนเหอ” มีน้ำหนัก 22.5 ตัน เป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ที่สุดของจีนที่ขึ้นสู่อวกาศในขณะนี้ โมดูลหลักนี้เป็นศูนย์บัญชาการ การกำกับดูแลสถานีอวกาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศที่จะใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลานาน

​​เวลา 00.23 น. วันที่ 16 ตุลาคม 2021 ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉวียน จีนใช้จรวดขนส่งลองมาร์ช-2F ส่งยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ขึ้นสู่อวกาศ จากนั้นราว 582 วินาที ยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ก็แยกตัวออกจากจรวดด้วยความสำเร็จ โดยเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดไว้พร้อมพานักบิน 3 คน ได้แก่ จ๋าย จื้อกัง, หวัง ย่าผิง และเย่ กวงฟู่ ขึ้นสู่อวกาศอย่างราบรื่น

​​สำหรับนักบินอวกาศ 3 คนดังกล่าว จ๋าย จื้อกังเป็นนักบินที่ออกจากยานไปสำรวจอวกาศคนแรกของจีน ขณะที่หวัง ย่าผิงเป็น “ครูผู้สอนในอวกาศ” คนแรกของจีน และเย่ กวงฟู่ เป็นการขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก

​​ทั้งนี้ถือเป็นภารกิจการบินครั้งที่ 21 ของโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีน ทั้งยังเป็นภารกิจการบินพร้อมนักบินครั้งที่ 2 ในช่วงการสร้างสถานีอวกาศ

เวลา 06.56 น. ยาน “เสินโจว-13” ได้เชื่อมต่อเข้ากับโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เชื่อมต่อกับยานขนส่ง “เทียนโจว-2” และ “เทียนโจว-3” ทำให้ทั้ง 4 ยานประกอบเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว

​ปฏิบัติการเชื่อมต่อครั้งนี้ใช้เวลาราว 6.5 ชั่วโมงด้วยวิธีการเชื่อมต่อแบบ radial direction ถือเป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศพร้อมนักบินของจีนทำการเชื่อมต่อแบบดังกล่าวในอวกาศ

สำนักงานโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีน ระบุว่า หลังยาน “เสินโจว-13” เชื่อมต่อกับโมดูลหลัก “เทียนเหอ” เรียบร้อยแล้ว ทีมลูกเรือได้เข้าสู่โมดูลในวงโคจร ปฏิบัติตามขั้นตอนทุกประการ แล้วจึงเปิดประตูโมดูลหลัก “เทียนเหอ” เวลา 09.58 น. วันเดียวกัน นักบินอวกาศ 3 คนได้เข้าประจำการยังโมดูลหลัก “เทียนเหอ” อย่างราบรื่น โดยเริ่มต้นชีวิตในอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้สถานีอวกาศจีนได้เปิดรับทีมลูกเรือทีมที่ 2 และนักบินอวกาศหญิงคนแรก

ในช่วงประจำการยังสถานีอวกาศในวงโคจร ทีมลูกเรือดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลโมดูลหลัก “เทียนเหอ”, ยานบินอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13”, ยานขนส่ง “เทียนโจว-2” และ “เทียนโจว-3” ที่เป็นหนึ่งเดียวไปพร้อมกัน รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ เช่น การทดลอง Bioregenerative life support system (BLSS) การจัดเก็บข้อมูลในวงโคจร การวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชนิด “Human Factors Engineering” แพทยศาสตร์การบินอวกาศ ระบบการประยุกต์ใช้ในอวกาศ และการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการดูแลธุรกรรมต่าง ๆ บนสถานีอวกาศ ทั้งยังจะออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ 2 – 3 ครั้ง เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการปฏิบัติภารกิจนอกยานและเทคโนโลยีประกันให้นักบินอวกาศประจำยังสถานีอวกาศในระยะยาว อันเป็นพื้นฐานของการสร้างสถานีอวกาศจีน

​​“ประจำการในวงโคจร 6 เดือน” เป็นสถิติใหม่ของจีนในการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำยังอวกาศ ถือเป็นวิถีปกติในการเข้าประจำการบนสถานีอวกาศสำหรับทีมนักบินอวกาศ ทั้งนี้ห่างจากครั้งแรกที่จีนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศถึง 18 ปีถ้วน

​​ย้อนกลับไปวันที่ 16 ตุลาคม 2003 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ “เสินโจว-5” กลับสู่พื้นโลกพร้อม “หยาง ลี่เหว่ย” นักบินอวกาศคนแรกของจีนด้วยความปลอดภัย ทำให้ความฝันของชาวจีนในการบินสู่อวกาศในช่วงสหัสวรรษ (1,000 ปี) กลายเป็นจริงขึ้น

​​ทางช้างเผือกแสงทองผ่องอำไพ ความใฝ่ฝันไร้ขอบเขต ในขณะที่ “ประจำการในวงโคจรเป็นเวลา 6 เดือน” จะเป็นวิธีปกติในการเข้าประจำการสำหรับทีมนักบินอวกาศ จะทำให้นักบินอวกาศจีนฝันได้อีกไกล จะทำให้ชาวจีนอุทิศกำลังและสติปัญญาเพื่อใช้อวกาศในทางสันติได้มากขึ้น

แปลเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ภาพจาก ซินหัวไทย