เศรษฐศาสตร์ที่ยกระดับการพัฒนาทั่วโลกอย่างสอดประสานกัน ยั่งยืนและสีเขียว—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (4)   

0
5

เศรษฐศาสตร์ที่ยกระดับการพัฒนาทั่วโลกอย่างสอดประสานกัน ยั่งยืนและสีเขียว—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (4)   

เมื่อปี 2015 นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีจีนได้เสนอแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา อันได้แก่ การสร้างนวัตกรรม การสอดประสานกัน ความเป็นสีเขียว การเปิดกว้างและการแบ่งปันในที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 5 แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งที่เกี่ยวพันถึงการพัฒนาโดยรวมของจีนได้เริ่มต้นขึ้น ในช่วงเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจซึ่งมีแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนาดังกล่าวเป็นเนื้อหาหลัก ได้รับการเติมเต็ม พัฒนา และตกผลึกอย่างต่อเนื่อง นับวันได้รับเสียงตอบรับอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นในทั่วโลก และมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและยาวไกลมากขึ้นเรื่อยๆ

แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่ “การสอดประสานกัน” มีการบูรณาการระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เศรษฐกิจกับสังคม และพื้นฐานเศรษฐกิจกับโครงสร้างส่วนบน มีการคำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพและความเป็นธรรม ทั้งระดับท้องถิ่นและภาพรวม ทั้งปัจจุบันและระยะยาว ได้ชี้นำจีนก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง ได้เสนอ “กุญแจแห่งปัญญา” แก่การแก้ไขปัญหายุ่งยากด้านการพัฒนาทั่วโลกภายใต้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อนในปัจจุบัน

ร่วมมือและพัฒนาร่วมกัน อุทิศพลังจีนแก่การพัฒนาสีเขียวทั่วโลก

ในอำเภอการิสซาซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเคนยา แผงโซลาร์เซลล์ที่เรียงรายอย่างหนาแน่นและเป็นระเบียบเสมือนหมู่ “เกาะพลังงาน”  พลังงานแสงอาทิตย์ที่สั่งสมไว้ที่นี่ได้นำผลประโยชน์มาสู่ครัวเรือนเรือนพันเรือนหมื่น ในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันออก โรงไฟฟ้าพลังงานโซลาร์เซลล์การิสซาเป็นโครงการที่รับเหมาก่อสร้างโดยวิสาหกิจจีน ซึ่งได้ช่วยบรรเทา”ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า” ในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิผล

นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สะท้อนภาคปฏิบัติในต่างประเทศของจีนตามแนวคิดการพัฒนาสีเขียว

มลภาวะสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรง ระบบนิเวศเสื่อมโทรมถดถอย ข้อจำกัดด้านทรัพยากรทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้นและอื่นๆ ทำให้สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของโลกเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง แต่การรับมือของประชาคมระหว่างประเทศนั้นกลับอยู่ในสภาวะที่กระจัดกระจายอย่างเห็นได้ชัด ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่ตามไม่ทันในการรับดอกผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมกำลังเผชิญปัญหายุ่งยากในเรื่องที่ว่า ควรสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ระยะสั้นกับผลประโยชน์ระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างไร

“เราต้องการทั้งน้ำใสภูเขาเขียวและภูเขาเงินภูเขาทอง ต้องการน้ำใสภูเขาเขียวยิ่งกว่าภูเขาเงินภูเขาทอง อีกทั้งน้ำใสภูเขาเขียวก็คือภูเขาเงินภูเขาทอง” เมื่อเดือนกันยายน ปี 2013 ปธน.สี จิ้นผิง ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนคาซัคสถานได้เสนอ “ทฤษฎีสองภูเขา” ดังกล่าวในเวทีระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกเพื่อส่งเสริมการสอดประสานกันระหว่างอนุรักษ์กับพัฒนา

สัจธรรมอันยิ่งใหญ่มักเรียบง่าย การปฏิบัติอย่างจริงจังนั้นสําคัญที่สุด จีนขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นสีเขียวอย่างครอบคลุมของเศรษฐกิจและสังคม สร้างตลาดคาร์บอนและระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เสนอเป้าหมายด้านการปล่อยคาร์บอนสูงสุดและการปล่อยคาร์บอนเป็นกลางตลอดจนกำหนดแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ใช้ปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อสนับสนุนวาระพหุภาคีต่างๆ เช่น “สนธิสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ”  “กรอบสนธิสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ”  “ข้อตกลงปารีส” และอื่น ๆ ซึ่งได้ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการเดินบนหนทางการพัฒนาแบบสีเขียวและคาร์บอนต่ำ ปฏิบัติการสีเขียวของจีนได้ส่งแรงผลักดันที่ทรงพลังแก่การเสริมสร้างการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

“การพัฒนาสีเขียวมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” “การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาก็คือการปกป้องกำลังการผลิต การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาก็คือการพัฒนากำลังการผลิต” “เราต้องเร่งรังสรรค์วิธีการพัฒนาสีเขียวให้เร็วยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ได้ชัยชนะทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างบ้านแห่งโลกที่เศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อมเดินหน้าอย่างสอดประสานกัน”

คำอธิบายของสี จิ้นผิงเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินั้น ได้ชี้ให้เห็นทิศทางแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเสียงตอบรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เมื่อปี 2013 การประชุมคณะมนตรีโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ผ่านมติฉบับร่างเกี่ยวกับการเผยแพร่แนวคิดว่าด้วยอารยธรรมทางนิเวศวิทยาของจีน เมื่อปี 2016 สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ออกรายงานในหัวข้อ “น้ำใสภูเขาเขียวก็คือภูเขาเงินภูเขาทอง: ยุทธศาสตร์และปฏิบัติการด้านอารยธรรมนิเวศวิทยาของจีน” เป็นต้น

ร่วมมือและก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน อุทิศแนวทางจีนแก่การพัฒนาอย่างเปิดกว้างทั่วโล

การพัฒนาที่ไม่สมดุลเป็นปัญหาที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมของโลกตะวันตกไม่สามารถแก้ไขได้มาโดยตลอด การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ขยายช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนและช่องว่างการพัฒนาเหนือ-ใต้ให้กว้างยิ่งขึ้น

การสอดประสานกันเป็นทั้งวิธีการพัฒนาและเป้าหมายแห่งการพัฒนา ในขณะเดียวกันยังเป็นมาตรฐานในการประเมินการพัฒนาด้วย จุดยืนที่สำคัญของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจก็คือ การให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในความเป็นธรรมทางด้านโอกาสแห่งการพัฒนา ไม่เพียงแต่ประกันให้กระบวนการพัฒนาของจีนไม่ “หันเหทิศทาง” เท่านั้น หากยังเสนอ “แนวทางปฏิบัติที่ดี” แก่การแก้ไขปัญหายุ่งยากที่การพัฒนาทั่วโลกขาดความสมดุลอีกด้วย

ยกระดับความสมดุล การสอดประสานกัน และการเปิดกว้างแห่งการพัฒนา มุ่งเน้นการขยายขนาดกลุ่มรายได้ปานกลาง ส่งเสริมความเท่าเทียมกันของบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างกฎระเบียบและการควบคุมด้านการมีรายได้สูง ส่งเสริมความมั่งคั่งร่วมกันของประชาชนทั้งปวงและอื่นๆ แนวคิดเกี่ยวกับการทำ”เค้ก”ให้ใหญ่ยิ่งขึ้นให้ได้ก่อนที่จะแบ่ง”เค้ก”ให้ดีด้วยนั้นได้อัดฉีดพลังและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับจีนในการก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง” ทั้งยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับประเทศกำลังพัฒนาในการก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างเปิดกว้างด้วย

เกี่ยวกับวิธีการลดช่องว่างด้านการพัฒนาทั่วโลกนั้น ปธน.สี จิ้นผิงได้เสนอข้อเสนอของจีน ได้แก่ “ประชาคมระหว่างประเทศควรมองการณ์ไกล ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา ให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่การพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา ปกป้องผลประโยชน์ด้านการพัฒนาที่ชอบธรรมของประเทศกำลังพัฒนา ส่งเสริมความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและผลประโยชน์ ความเท่าเทียมกันด้านโอกาส ความเท่าเทียมกันด้านกฎเกณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทุกประเทศร่วมแบ่งปันโอกาสและดอกผลแห่งการพัฒนา”

ร่วมมือและได้ชัยชนะร่วมกัน อุทิศภูมิปัญญาจีนแก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก

การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและการบริหารจัดการทั่วโลก ช่องโหว่ใหม่ พื้นที่ความยากจน และแหล่งความวุ่นวายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรบรรลุการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่ต้องเผชิญในการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร? โลกโหยหาการไตร่ตรองที่ลึกซึ้งและมองการณ์ไกล

“เราต้องกุมสถานการณ์ในปัจจุบัน บูรณาการการป้องกันควบคุมโรคระบาดกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เสริมสร้างการสนับสนุนด้านนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ก้าวพ้นออกจากเงามืดวิกฤตโดยเร็วที่สุด และยิ่งต้องมองการณ์ไกล มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการปรับเปลี่ยนพลังขับเคลื่อน รูปแบบและโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก เพื่อให้เศรษฐกิจโลกก้าวขึ้นครรลองแห่งการพัฒนาที่มั่นคงและไม่เป็นพิษเป็นภัยในระยะยาว” “ทุกประเทศในโลกต้องยืนหยัดลัทธิพหุภาคีนิยมที่แท้จริง ยืนหยัดที่จะรื้อกำแพงโดยไม่สร้างกำแพง เปิดกว้างโดยไม่กีดกัน หลอมรวมโดยไม่แยกออกจากกัน เพื่อผลักดันการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง”

โดยพิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันและมุมมองระยะยาว ปธน.สี จิ้นผิงได้วิเคราะห์ปัจจัยที่จำกัดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างลึกซึ้ง เข้าใจแนวโน้มหลักแห่งการพัฒนาของโลกและกฎแห่งการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจตามหลักวิทยาศาสตร์ และแสวงหา “กุญแจทอง” แห่งการแก้ไขปัญหายุ่งยากเชิงทั่วโลกในด้านการพัฒนา

แนวคิดชี้นำปฏิบัติการ จีนได้ใช้มาตรการที่ทรงพลังในการป้องกันควบคุมโรคระบาดและการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบ ได้เพิ่มมาตรการเปิดประเทศเพื่อก้าวไปสู่การเปิดกว้างสู่โลกภายนอกในระดับสูง ได้พัฒนาโครงสร้างใหม่แห่งการพัฒนาแบบ “วงจรคู่” อย่างแข็งขันเพื่อเสนอแพลตฟอร์มด้านอุปสงค์และอุปทานที่มีคุณภาพสูงให้กับสินค้าและบริการทั่วโลก ได้สนับสนุนลัทธิพหุภาคีนิยม การอำนวยผลประโยชน์แก่กันและการได้ชัยชนะร่วมกันอย่างแน่วแน่เพื่อแบ่งปันโอกาสแห่งการพัฒนากับประเทศต่างๆทั่วโลก เป็นต้น ภายในขอบเขตทั่วโลกแนวทางของจีนนับวันสร้างความรับรู้ร่วมกันมากยิ่งขึ้น ปฏิบัติการของจีนได้นำมาซึ่งแรงขับเคลื่อนและพลังชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

 

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

เศรษฐศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่าง“รัฐบาลกับตลาด”—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (3)