สร้างการบริหารจัดการอุตสาหกรรมชา- เส้นทางสี จิ้นผิง(36)

0
9
ไร่ชาแห่งหนึ่งในที่อำเภอฝูอัน มณฑลฝูเจี้ยน เอื้อเฟื้อภาพโดยหมิ่นตงเดลี่

ช่วงที่ทำงานที่เขตหนิงเต๋อของมณฑลฝูเจี้ยน นายสี จิ้นผิงเคยเสนอว่า การจะให้ประชาชนหลุดพ้นความยากจนสู่ความมั่งคั่งนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาโครงการและอุตสาหกรรมเป็นหลัก การพัฒนาการเกษตรต้องดำเนินการโดยพิจารณาจากสภาพความเป็นจริงของหนิงเต๋อ หลังการศึกษาวิจัย นายสี จิ้นผิงพบว่าอุตสาหกรรมชาในหนิงเต๋อมีรากฐานที่ลุ่มลึก อำเภอต่างๆ เช่น ฝูอัน โจวหนิงโช่วหนิง และฝูติ่ง เป็นต้น ต่างก็เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการปลูกชา

ทางตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งเรียกย่อว่า หมิ่นตงเป็นแหล่งผลิตชาที่มีชื่อเสียง ประวัติศาสตร์การปลูกชาของที่นี่สามารถย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก ในช่วงเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกชาที่อุดมสมบูรณ์ผืนนี้ได้ผลิตชาชั้นดี เช่น ชาขาวไป๋หาวหยินเจินหรือชาขาวเข็มเงินยอดอ่อน (Baekho Silver Needle) และ ชาดำถ่านหยางกงฟู” (Tanyanggongfu Tea) เป็นต้น ซึ่งต่างก็จำหน่ายไปยังต่างประเทศ

นายจาง เทียนฝู ผู้เชี่ยวชาญด้านชา ซึ่งในบั้นปลายชีวิตได้รับการยกย่องให้เป็น ปรมาจารย์แห่งโลกชามีความผูกพันใกล้ชิดกับหมิ่นตง ในช่วงทศวรรษที่ 1930 หลังผ่านการเฟ้นหาสถานที่หลายแห่ง นายจาง เทียนฝู ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนเกี่ยวกับชาแห่งแรกและสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชาแห่งแรที่อำเภอฝูอัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในฝูเจี้ยนที่มีการผสมผสานการเรียนรู้เกี่ยวกับชาในโรงเรียนกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชาของฝูเจี้ยน

หลังการก่อตั้งประเทศจีนใหม่ รัฐบาลทุกระดับในหมิ่นตงให้ความสำคัญกับการผลิตชาเป็นอย่างมาก ในเวลานั้น ภาครัฐมีการสร้างโรงงานชาขึ้นในเก้าอำเภอและเมืองของหมิ่นตง หลังย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิของทุกปีเกษตรกรผู้ปลูกชาจำนวนมากในหมิ่นตงจะขายใบชาสดทำให้ได้เงินสดก้อนแรกที่พวกเขาจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งการผลิตและการดำรงชีวิต

อย่างไรก็ตาม หากจะให้อุตสาหกรรมชาเขตหนิงเต๋อเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริงนั้น ยังจำเป็นต้องอัดฉีดพลังขับเคลื่อนใหม่

ในตอนนั้น แม้ว่าที่นี่ของเราจะปลูกชาด้วย แต่ก็ปลูกแบบกระจัดกระจายตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง ทุกอำเภอต่างก็มีโรงงานชาแห่งหนึ่ง มีพันธุ์ชาหลากหลายแต่ไร้การควบคุม คุณภาพต่างกัน และไม่มีขนาดที่ใหญ่พอนายเฉิน ซิวเม่า ผู้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพรรคฯประจำเขตหนิงเต๋อในขณะนั้นยังคงจำได้ว่า เวลานั้นอุตสาหกรรมชาในหมิ่นตงอยู่ในสภาพเดิมๆที่เติบโตตามธรรมชาติ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ แต่อาศัยการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างสนใจแต่ตัวเอง

นายสี จิ้นผิงให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอุตสาหกรรมชาในหมิ่นตงมาโดยตลอด จากการศึกษาวิจัยและพิจารณาโดยละเอียด เขาได้เสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมชาในท้องถิ่นอันได้แก่ แบ่งเกรดชาตามสภาพของท้องถิ่น ควรปลูกชาในพื้นที่ขนาดใหญ่  ต้องบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ สร้างแบรนด์ของตัวเอง โดยเฉพาะแบรนด์ของหนิงเต๋อ เพื่อผลิตชาคุณภาพสูง

นอกจากนี้นายสี จิ้นผิงยังเน้นย้ำเป็นพิเศษว่า หากครอบครัวที่ยากจนไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องให้ความช่วยเหลือ โดยให้ครอบครัวที่ยากจนออกแรง ขณะที่หน่วยการผลิตของภาครัฐจะให้การสนับสนุนด้านอื่นๆ

ทว่าการสร้างระบบอุตสาหกรรมชาในหมิ่นตงขึ้นมาใหม่จากภายในสู่ภายนอกนั้น ยังจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปและการสร้างนวัตกรรมเพื่อเป็นเสาหลักและหลักประกันสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชานาดใหญ่ มีแบรนด์เป็นของตัวเอง มีมาตรฐานที่ชัดเจน และพัฒนาอย่างเป็นระเบียบ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ การจัดตั้งหน่วยงานระดับเขตขึ้นมาบริหารจัดการชาเพื่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน

วันที่ 2 มีนาคมปี 1989 นายสี จิ้นผิ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพรรคฯประจำเขตหนิงเต๋อเพื่อพิจารณาประเด็นระบบการบริหารจัดการอุตสาหกรรมชาโดยเฉพาะ ที่ประชุมเสนอให้ฟื้นฟูการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการอุตสาหกรรมชาซึ่งถูกยกเลิกไปในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970

เดือนตุลาคมปี 1989 มีการตั้งสำนักงานบริหารจัดการชาและศูนย์บริการและเผยแพร่เทคโนโลยีชาของเขตหนิงเต๋อขึ้นอย่างเป็นทางการ นี่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการชาระดับเขตแห่งแรกในมณฑลฝูเจี้ยน จากนั้นทั้งเก้าอำเภอและเมืองที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของเขตหนิงเต๋อต่างก็กลับมาตั้งสำนักงานบริหารจัดการชาตามลำดับ

หลังการปฏิรูประบบบริหารจัดการชา ผลิตภัณฑ์หลักได้พ้นวงจรการบริหารจัดการในวงแคบโดยมีกำลังจากภาคส่วนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม เช่น เกษตรกรรม เศรษฐกิจและการค้า อุปทานและการตลาด เป็นต้น ทำให้สามารถบริหารจัดการแบบองค์รวมและมีห่วงโซ่ที่ครบวงจร ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมชาในหมิ่นตงจึงกลับมาคึกคักมีชีวิตชีวา

หลังการก่อตั้งสำนักงานบริหารจัดการชาได้ไม่นาน เพื่อความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมชาและกำหนดทิศทางนโยบายให้ถูกต้อง เขตหนิงเต๋อจึงได้จัดการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกชา 100 ครัวเรือนในหมิ่นตง และจัดทำรายงานการสำรวจจนเสร็จมบูรณ์

การศึกษาวิจัยที่ครบถ้วนรอบคอบได้ส่งเสริมการตัดสินใจที่ถูกหลักวิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการเร่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอุตสาหกรรมชาในหมิ่นตง

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)

ติดตามตอนก่อนหน้าได้ที่

http://www.tcjapress.com/2023/06/10/xi-way-35