‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ หนุนผลไม้ไทยขยายตลาดจีนและมุ่งสู่ทั่วโลก

0
1

​​เมื่อไม่นานมานี้ผมจัดรายการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภาคภาษาไทย ที่กรุงปักกิ่ง โดยคุยกันว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ซื้ออะไรที่ชอบมาบ้าง ผมตอบไปโดยไม่ต้องคิดเลยว่าซื้อมะพร้าวไทยจากอินเตอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญสงสัยว่ามะพร้าวราคาลูกละเท่าไร ผมตอบไปว่า 9 หยวน เท่ากับประมาณ 45 บาท รสชาติเหมือนกับที่เคยกินในไทย โดยเฉพาะเนื้อมะพร้าวที่ทั้งสดนุ่มลื่นมาก ผู้เชี่ยวชาญชื่นชมว่าราคามะพร้าวไทยในจีนพอ ๆ กับที่ขายในไทย รสชาติก็ดี ความจริงก็เป็นเช่นนั้น เป็นที่ทราบกันว่าชาวจีนอาศัยศักยภาพจาก “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ทำให้มีโอกาสบริโภคผลไม้เขตร้อน ส่วนเกษตรกรชาวสวนไทยก็ได้ประโยชน์จากช่องทางนี้มากขึ้นด้วย ซึ่งสะท้อนถึงการคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจากข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อย่างแท้จริง

​​ไม่เพียงแต่มะพร้าว สถิติจากศุลกากรจีนช่วงเดือนมกราคมกันยายนปีนี้ ในการส่งออกสินค้าไทยมายังจีน ผลไม้คิดเป็นมูลค่ากว่า5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 68 โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน มังคุดและลำไย ตลอด 8 ปีมานี้ตั้งแต่มีข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากชาวจีนมากขึ้น โดยเฉพาะปี 2017 2021 มีผลไม้เขตร้อนจากไทย 22 ชนิดส่งออกมายังจีน ขณะที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 60 ตัน ในปี 2017 เป็นประมาณ 160 ตันในปี 2021

​​ผลไม้เขตร้อนทำอย่างไรจึงจะเก็บรักษาความสดไว้ได้ถือเป็นความท้าทายทางเทคนิคมาอย่างยาวนาน หลายปีมานี้ทีมเทคนิคจีนร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยใช้รูปแบบอาทิ ตู้เย็นชุมชน ยืดยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้เขตร้อนให้สดถึง 21 วัน ซึ่งไม่เพียงแต่ประกันคุณภาพผลไม้ที่ขายมายังจีน หากยังทำให้ผลไม้เขตร้อนของไทยมีความเป็นไปได้ที่จะส่งออกทางเรือไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรไทยให้มากขึ้น หนุนผลไม้ไทยให้กระจายไปยังตลาดทั่วประเทศจีนและมุ่งสู่ทั่วโลก นำมาซึ่งประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ชาวไทย

​​นอกจากนี้วิสหกิจจีนที่มีแนวคิดระดับแนวหน้า อาทิ บริษัทหัวเหว่ย ยังได้ร่วมมือกับวิสาหกิจชั้นนำของไทยผลักดันอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล โลจิสติกส์ทันสมัยมีการพัฒนาอย่างคึกคัก ด้วยการประกันทางเทคนิคแนวหน้าทำให้การค้ารวมถึงผลิตผลทางการเกษตรระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและกระเตื้อขึ้นทวนกระแสในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มาโดยตลอด ซึ่งนับเป็นผลงานที่ร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เน้นการพัฒนาแบบนวัตกรรม อุดช่องโหว่ดิจิทัล และกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)