บทวิเคราะห์ – จากการประชุมผู้นำสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนพิจารณาแนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน”

0
1

บทวิเคราะห์ – จากการประชุมผู้นำสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนพิจารณาแนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน”

ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-อาเซียนได้จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันของสหรัฐฯ ประเด็นของการประชุมครั้งนี้รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า ปัญหาเมียนมา ปัญหาทะเลจีนใต้ วิกฤตยูเครน ตลอดจนสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น มีนักวิเคราะห์ลงความเห็นว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทดสอบแนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน”

ระหว่างการประชุมครั้งนี้ นอกจากการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่างผู้นำทั้งสองฝ่าย บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้พบปะหารือกันกับผู้แทนรัฐสภา ทางการเมืองและธุรกิจของสหรัฐฯ ด้วย นอกจากนี้ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนยังถือโอกาสนี้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ อีกด้วย

นับเป็นครั้งแรกที่บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเจอหน้ากันที่กรุงวอชิงตันหลังจากอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 ในจำนวน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน มีผู้นำจาก 8 ประเทศได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ นายโรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ไม่ได้ร่วมประชุมเนื่องจากอยู่ในช่วงระยะผ่านหลังการเลือกตั้งโดยทั่วไป แต่เขาจัดส่งนายทีโอโดโร ล็อกซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวแทนของฟิลิปปินส์ไปร่วมการประชุมครั้งนี้ ส่วนเมียนมาไม่มีผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเนื่องจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ สำหรับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสการเยือนสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกหลังจากเข้าดำรงตำแหน่งนายกฯกัมพูชาค.ศ. 1998

ปีนี้ครบรอบ 45 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหรัฐ ในที่ประชุมครั้งนี้ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯสัญญาว่า จะลงทุน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่อาเซียนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด รักษาความปลอดภัยทางทะเล พัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ จัดการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและพัฒนาสาธารณสุข เป็นต้น แถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างอาเซียน-สหรัฐ ที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ร่วมกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐครั้งที่ 10 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

ปีนี้ กัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศประธานของอาเซียน เอเปก และ G20 ตามลำดับ ทั้งอาเซียนและสหรัฐฯ ตั้งใจจะนำประเด็นต่าง ๆ ของการประชุมครั้งนี้ไปปรึกษาหารือกันต่อในการประชุมสุดยอดของอาเซียน เอเปก และ G20 ในปีนี้

นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมผู้นำสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนครั้งนี้ ปธน.ไบเดน ยังเสนอให้นายโยฮันเนส อับราฮัม (Yohannes Abraham) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เป็นผู้แทนสหรัฐฯประจำอาเซียน มีนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า พิจารณาจากการประชุมครั้งนี้จะพบว่า สหรัฐฯ เจ้าภาพของการประชุมวางจุดสำคัญอยู่ที่ความปลอดภัยส่วนภูมิภาคและความร่วมมือทางการทหารมากกว่า แต่อาเซียนต้องการขยายการส่งออกถึงสหรัฐฯ และหวังให้สหรัฐฯ เข้าร่วมความตกลงการค้าเสรีส่วนภูมิภาค ตัวอย่างเช่น นายอิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกฯมาเลเซียได้เร่งให้สหรัฐฯใช้ปฏิบัติการแข็งขันยิ่งขึ้นในด้านการค้าและการลงทุนในอาเซียน และวิงวอนให้ธุรกิจสหรัฐฯ ให้ความสำคัญเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ส่วนพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยระบุว่า อาเซียนพร้อมจะมีบทบาทในฐานะเวทีหลักของภูมิภาคที่จะเชื่อมโยงผู้เล่นทุกคนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภูมิรัฐศาสตร์ที่สงบสุข

ทั้งนี้ มีสื่อมวลชนระบุว่า เมื่อเทียบกับความช่วยเหลือมูลค่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐของสหรัฐฯที่มีต่อยูเครน การลงทุนในอาเซียนมูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐของสหรัฐฯนั้น น้อยมาก

แนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” เป็นหลักการพื้นฐานของอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และดำเนินความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยมีนัย 2 ประการคือ ต้องป้องกันไม่ให้อาเซียนถูกแบ่งแยก และเป็นตัวของตัวเอง โดยบ่งบอกให้บรรดามหาประเทศต้องเคารพแนวคิดความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วย

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษหลังจากอาเซียนจัดตั้งขึ้น 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความแตกต่างและมีความหลากหลายมากนั้น ปฏิบัติตามหลักการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยผ่านการปรึกษาหารือกัน เพื่อความสามัคคี ความเป็นตัวของตัวเอง และความเข้มแข็งของอาเซียน

ประชาคมโลกก็คาดหวังว่า อาเซียนจะแสดงบทบาทความเป็นศูนย์กลางในการควบคุมความขัดแย้งกันและรักษาความสมดุลกันระหว่างบรรดามหาประเทศ

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)