บทวิเคราะห์ : แถลงการณ์ร่วมเป็น “กรอบความสัมพันธ์” ที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ 

0
1

บทวิเคราะห์ : แถลงการณ์ร่วมเป็น “กรอบความสัมพันธ์” ที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ

แม้ว่าจีนจะคัดค้านอย่างเด็ดขาดต่อกรณีไต้หวัน   แต่สหรัฐฯ ยังคงดื้อรั้นที่จะเริ่มต้นการเจรจาทางการค้าอย่างเป็นทางการกับไต้หวันของจีน ถือเป็นสัญญาณทางลบและเป็นอันตรายอย่างยิ่งในประเด็นแบ่งแยกดินแดนไต้หวัน

“การเจรจาทางการค้า” เป็นเพียงข้ออ้างของสหรัฐฯเท่านั้น  แต่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวที่เลวร้ายครั้งนี้ คือ  สหรัฐฯ ต้องการท้าทายหลักการ “จีนเดียว” และยับยั้งการพัฒนาของจีน โดยใช้ประโยชน์จากประเด็นปัญหา “ไต้หวัน” ประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ

การกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดคำสัญญาทางการเมืองที่สหรัฐฯได้ให้ไว้กับจีนเกี่ยวกับการรักษาหลักการจีนเดียว อีกทั้งยังเป็นการไม่เคารพแถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ฉบับระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่เป็นรากฐานทางการเมืองแห่งความสัมพันธ์ของทั้ง  2  ประเทศ

ช่วงที่ผ่านมา นักการเมืองสหรัฐฯ มักจะใช้คำใหญ่คำโตในการพูดถึงเรื่องการสร้าง “กรอบความสัมพันธ์” ให้กับจีน-สหรัฐฯ มาโดยตลอด  แต่สิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พูด  ซึ่งเห็นได้จากนักการเมืองสหรัฐฯบางส่วนกระทำในสิ่งที่ไม่สมควรมากขึ้นเรื่อยๆ ในการท้าทายเส้นแดงของจีน และสร้างความปั่นป่วนในช่องแคบไต้หวัน

ความจริงคือ แถลงการณ์ร่วมสามฉบับระหว่างจีน-สหรัฐฯ จึงเป็น “กรอบความสัมพันธ์” ที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับจีน-สหรัฐฯ   แถลงการณ์ร่วมทั้งสามฉบับนี้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ยอมรับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงหนึ่งเดียวของจีน และยอมรับจุดยืนของจีนว่า “โลกนี้มีจีนเดียว”  และไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน

บนพื้นฐานนี้ทางสหรัฐฯ ควรดำเนินการและปฏิบัติตามเงื่อนไข 3 ประการที่จีนเสนอ คือ ตัดความสัมพันธ์ทางการทูต  ยกเลิกสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันกับทางการไต้หวัน  และถอนกำลังทหารสหรัฐฯออกจากไต้หวัน   ข้อกำหนดเหล่านี้ทำให้จีนและสหรัฐอเมริกา แม้จะมีระบบสังคมและอุดมการณ์ต่างกัน แต่ช่วยให้สามารถพูดคุยเจรจาและร่วมมือกันได้ เพื่อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายและทั่วโลก

เมื่อหลักการจีนเดียวได้รับการเคารพ ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯก็จะสามารถพัฒนาอย่างราบรื่น และสามารถรักษาสันติภาพในช่องแคบไต้หวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ   แต่หากหลักการจีนเดียวถูกทำลาย ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ จะเกิดความปั่นป่วนและถดถอย จะส่งผลต่อสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน

ดังนั้น หากสหรัฐ ฯ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในแถลงการณ์ร่วมระหว่างจีน-สหรัฐฯ อย่างจริงจัง และยึดมั่นในแนวทางของแถลงการณ์ร่วม จะทำให้ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ไม่ตกรางและไม่อยู่นอกเหนือการควบคุม

ทุกวันนี้ หลักการ“จีนเดียว”ได้กลายเป็นฉันทามติของประชาคมระหว่างประเทศไปแล้ว และเป็นบรรทัดฐานพื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

กรณที่นางแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวัน  ส่งผลให้กว่า 170 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศจำนวนมากได้ย้ำถึงจุดยืนการยึดมั่นในหลักการจีนเดียว  โดยเมื่อเร็วๆ นี้  ประธานการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 76 และเลขาธิการสหประชาชาติ ต่างออกมาเน้นย้ำว่า สหประชาชาติจะปฏิบัติตามมติหมายเลข 2758 ซึ่งยืนยันหลักการจีนเดียวอย่างชัดเจน

ด้วยการท้าทายหลักการจีนเดียว สหรัฐฯ กำลังทำลาย“กรอบความสัมพันธ์” ที่แท้จริงสำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับจีน และนั่นก็เท่ากับเป็นการท้าทายประชาคมระหว่างประเทศอย่างอุกอาจ   สหรัฐฯได้รับรอง “กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์กับไต้หวัน” โดยลำพังฝ่ายเดียว และให้กฎหมายฉบับนี้นำหน้าแถลงการณ์ร่วมสามฉบับระหว่างจีน-สหรัฐฯในการแถลงนโยบาย   พร้อมสอดแทรก “หกหลักประกันต่อไต้หวัน” ไว้ในการบรรยายหลักการจีนเดียว ถือเป็นข้อบั่นทอนความสัมพันธ์มากขึ้น

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้เพิ่มการขายอาวุธให้กับไต้หวัน และผ่อนคลายข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนกับไต้หวัน  ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวเแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ กำลังบั่นทอนความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯแต่ต้องการเพียงผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว คือ “ฉันสามารถทำทุกอย่างที่ฉันต้องการ และคุณไม่ควรเคลื่อนไหวตอบโต้ใดๆ” นี่เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงแนวคิดของสหรัฐฯที่ต้องการเป็นใหญ่ของโลกและตรรกะการเป็นผู้ร้ายอย่างโจ่งแจ้ง

นายฮัสซัน อัสลาม ชัด ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศของปากีสถาน กล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่า   สหรัฐฯ กำลังพยายามใช้ประโยชน์ไต้หวันในการต่อต้านจีน และได้ทดสอบเส้นแดงของจีนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนท้าทายผลประโยชน์หลักของจีนด้วยเป้าหมายที่จะยับยั้งการพัฒนาของจีน

นายเฮนรี คิสซิงเงอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวอย่างเปิดเผยว่า  “สหรัฐฯ ไม่ควรที่จะใช้กลอุบายหรือการกระทำใด ๆ เพื่อผลักดันการสร้างระบบ “สองจีน”

หลักการจีนเดียวไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของตนเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันถึงสถานการณ์โดยรวมแห่งความสัมพันธ์ของจีน-สหรัฐฯ  ตลอดจนความสงบสุขและความมั่นคงของโลกด้วย    สหรัฐฯ จำเป็นต้องหยุดเดินบนเส้นทางที่ผิดพลาดและบิดเบือน เพื่อลดทอนความสำคัญหลักการจีนเดียว

เขียนโดย ไช่ เจี้ยนซิน ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)