5 เส้นทาง เชื่อมจีนตอนใต้  เปิดเส้นทางสู่อาเซียน

0
35

5 เส้นทาง เชื่อมจีนตอนใต้  เปิดเส้นทางสู่อาเซียน

การเชื่อมจีนตอนใต้  เพื่อเปิดเส้นทางสู่อาเซียน จะมีเรื่องราวของการเชื่อมโยง โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ซึ่งนอกจากเส้นทาง R3A หรือ R3B ที่นักเดินทางหลายท่านคงได้เคยมีโอกาสขึ้นรถผ่านจากเชียงของ ขึ้นห้วยทรายเข้าไปถึง สิบสองปันนา ทางมณฑลยูนนานแล้ว ยังมีเส้นทางอื่น ๆ รวมประมาณ 5 เส้นทาง ดังนั้นบทความนี้จึงขอรวบรวมเส้นทางทั้ง 5 เส้นทางที่ควรทราบ เอาไว้

เส้นทางแรก คุนหมิง-ยู่วี่-บ่อหาน-ไทย ซึ่งเส้นทางนี้ก็คือเส้นทาง R3A สามารถที่จะเดินทางโดยรถได้ตลอดเส้นทาง ซึ่งกำลังจะมีการปรับปรุงเรื่องระบบ ระเบียบ การข้ามแดน เพื่อที่จะได้สามารถอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้มีความรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะหลังช่วงโควิด-19 ซึ่งหลังการเปิดใช้งานทางรถไฟจีน-ลาวปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางที่ใช้งานควบคู่ไปกับทางรถไฟมากยิ่งขึ้น

เส้นทางที่สอง เป็นเส้นทางจากคุนหมิงเชื่อมเข้าฮานอย เป็นเส้นทาง คุนหมิง – หยู่ซี – ด่านเหอโข่ว เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีสินค้าทำการ ขนส่งไปเป็นจำนวนมาก จากฮานอยขึ้นไป สามารถเดินทางเข้าไปสู่เส้นทางยูนนานได้ สะพานที่ชายแดนจีนและเวียดนาม กวางสีมีบทบาทสำคัญมากขึ้นภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative นอกจากนี้ยังมีขบวนรถไฟที่แล่นผ่านทางรถไฟ จากเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน เชื่อมโยงสินค้าจากจีนมายังเวียดนาม

เส้นทางที่สาม เป็นเส้นทางที่มาจากทางฝั่งตะวันตก จะเป็นเส้นทางคุนหมิง-หยู่ซี-ต้าหลี่ จุดนี้มีความสำคัญเพราะว่าหยู่ซีเป็นชายแดนที่มี ศักยภาพเป็นอย่างมาก ระหว่างยูนนานกับเมียนมาเนื่องจากจุดนี้เป็นจุดที่มีการค้าขายมากที่สุด มีสินค้าผ่านแดนมากที่สุด ในระหว่างมณฑลยูนนานทั้งหมด

เส้นทางที่สี่ เป็นเส้นทางที่มาจากคุนหมิง-เมืองเติ้ง-หยู่ซี-เหลียงซาน เพื่อที่จะเข้ามาทางเมืองเติ้ง แต่จุดนี้ยังมีทางเชื่อมที่ขาดหายไประหว่าง ทางอีกเป็นอย่างมาก เส้นทางยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องมีการพัฒนาสร้างเสริมบางช่วงไปอีก

เส้นทางที่ห้า ขึ้นไปทางทิศเหนือ จากคุนหมิง-ต้าหลี่-หัวเฉียว แล้วไปเชื่อมออกทางเมียนมาเข้าอินเดีย เส้นทางนี้สามารถใช้เดินทางขึ้นไปถึง ธิเบตได้ด้วย ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นเหมือนกับห้าแยกในมณฑลยูนนานเส้นทางนี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่เป็นเส้นทางสำคัญในอนาคตอีกเช่นเดียวกัน

จากวิสัยทัศน์ของท่านสี จิ้นผิง ที่ประเทศจีนต้องการที่จะเป็น “หนึ่งศูนย์กลาง หนึ่งรัศมี สองระเบียง สามแนว และ หกภูมิภาค” ซึ่ง สองระเบียงก็คือ ระเบียงแรกหมายถึง เมียนมา อินเดีย และบังคลาเทศ ที่อยู่ทางด้านเอเซียใต้ ซึ่งก็ถือเป็นฝั่งตะวันตกของยูนนาน และ อีกระเบียงคือ ทางเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ที่เชื่อมทั้งเมียนมา ลาว ไทย และเวียดนาม โดยมีแม่น้ำล้านช้าง (โขง) เป็นแม่น้ำเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ภาพรวมของการเชื่อมต่อหรือ Connectivity ของจีนทำให้อาเซียนต้องติดตามและวางแผนเชื่อมต่อเพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุนระหว่างกันต่อไป

ผู้เขียน ดร. ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี DPU

ภาพจากซินหัวไทย