เศรษฐศาสตร์ที่แสวงหาความก้าวหน้าแก่มนุษยชาติและแสวงหาความสมบูรณ์แบบแก่โลก—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (5-ตอนจบ)

0
1

เศรษฐศาสตร์ที่แสวงหาความก้าวหน้าแก่มนุษยชาติและแสวงหาความสมบูรณ์แบบแก่โลก—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (5-ตอนจบ)

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายร้อยปี ต่อหน้าความท้าทายอันหนักหน่วงที่สืบเนื่องจากการขาดดุลด้านสันติภาพ การขาดดุลด้านการพัฒนา และการขาดดุลด้านการบริหารจัดการนั้น มนุษยชาติควรก้าวหน้าอย่างไร? โลกควรพัฒนาอย่างไร?

มีความมั่งคั่งร่วมกัน ใต้หล้ามีความสมบูรณ์แบบ ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ จีนแสวงหาการพัฒนาโดยยืนหยัดพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมชัยชนะร่วมกันในขอบเขตทั่วโลก ได้ตอบคำถามแห่งยุคสมัยด้วยหัวใจและภูมิปัญญาที่มุ่งสร้างความสำเร็จให้กับทั้งตนเองและผู้อื่น

แนวคิดสีจิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจมุ่งเน้นไปที่ “การมีส่วนร่วมอย่างพร้อมเพรียงกัน” ให้ความสำคัญกับการบูรณาการปัจจัยทางเศรษฐกิจและทรัพยากรการพัฒนาในขอบเขตที่ใหญ่ยิ่งขึ้นของทั่วโลก อุทิศพลังแห่งสัจธรรมแก่การก้าวออกจากภาวะความยากลำบากด้านการพัฒนาของโลกด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นอันได้แก่ ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน การร่วมสร้างร่วมแบ่งปัน และการมีโชคชะตาร่วมกัน

ร่วมมือกันสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน ช่วยให้มนุษยชาติก้าวหน้า

ความยากจนเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมมนุษย์ ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาอย่างไม่เป็นพิษเป็นภัยของเศรษฐกิจโลกมาช้านาน กล่าวสำหรับจีนซึ่งมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน การรับมือกับความท้าทายนี้นั้นนับเป็นการทดสอบความมุ่งมั่นตั้งใจและความสามารถเป็นอย่างยิ่ง

“ในการสร้างสังคมมีกินมีใช้อย่างรอบด้านจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง บนหนทางสู่ความมั่งคั่งร่วมกัน จะไม่ให้ใครตกขบวนแม้แต่คนเดียว”

การขจัดความยากจน การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการบรรลุความมั่งคั่งร่วมกัน นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีจีนได้ชี้ให้เห็นข้อเรียกร้องเชิงธาตุแท้แห่งสังคมนิยม

เมื่อปลายปี 2020 จีนประกาศว่าประชากรผู้ยากจนตามมาตรฐานปัจจุบันในชนบทได้หลุดพ้นจากความยากจนทั้งหมดแล้ว จีนได้บรรลุเป้าหมายการลดความยากจนตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 แห่งสหประชาชาติก่อนกำหนดเวลา 10 ปี ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จเชิงปาฏิหาริย์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การพัฒนาของมนุษยชาติโดยแท้

ประสบการณ์การลดความยากจนที่มีขึ้นจากภาคปฏิบัติของจีน ได้กลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าของโลกในการบริหารจัดการความยากจนและความร่วมมือทางด้านการลดความยากจน

“ยกระดับความเป็นธรรม ประสิทธิผล และความครอบคลุมในการพัฒนาทั่วโลก พยายามไม่ทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง” “ให้ความสำคัญกับประเทศและภูมิภาคที่ด้อยพัฒนา มอบความรักและความเอาใจใส่แก่ประชาชนผู้ยากจน ให้ผืนแผ่นดินทุกแห่งต่างก็มีความหวัง” “ทุกประเทศพัฒนาร่วมกันจึงเป็นการพัฒนาที่แท้จริง ความมั่งคั่งร่วมกันจึงเป็นความมั่งคั่งที่แท้จริง” และอื่นๆ

ปธน.สี จิ้นผิงได้วาดพิมพ์เขียวอันยิ่งใหญ่ให้กับความก้าวหน้าของมนุษยชาติโดยพิจารณาจากการพัฒนาร่วมกันทั่วโลก และการส่งเสริมความเป็นธรรมและการได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างครอบคลุมของโลก

ในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ที่ต้องการหลุดพ้นจากความยากจนอย่างแรงกล้านั้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยจีนกำลังเปลี่ยนพื้นที่ที่ถูกลืมให้เป็นทุ่งแห่งความหวัง

เช่น การผลักดัน “การเชื่อมโยงหมู่บ้านหมื่นแห่ง” ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือแอฟริกา เพื่อให้หมู่บ้านห่างไกลนับหมื่นแห่งได้รับสัญญาณทีวีดาวเทียม และเพื่อช่วยให้ชาวแอฟริกันได้เชื่อมต่อกับโลก การสร้างสิ่งก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ จำนวนมาก เช่น ทางรถไฟ ทางหลวง สนามบิน และท่าเรือ เป็นต้น เพื่อช่วยให้หลายประเทศในเอเชียเร่งการพัฒนา การขับเคลื่อนบริษัทอีคอมเมิร์ซของจีนให้หยั่งรากในละตินอเมริกาและภูมิภาคอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นแบบดิจิทัลในท้องถิ่น และร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อก้าวไปสู่อนาคต และอื่นๆ

ร่วมสร้างร่วมแบ่งปัน ให้บทเรียนแก่โลกในการบรรลุความสมบูรณ์แบบ

“โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเป็นกระแสแห่งยุคสมัย ขณะแม่น้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลย่อมจะพบกับกระแสทวนกลับเสมอ แต่ไม่มีกระแสทวนกลับใดที่สามารถหยุดยั้งแม่น้ำใหญ่ไม่ให้ไหลไปสู่ทางตะวันออกได้”

ต่อหน้าการผงาดขึ้นของลัทธิเอกภาคนิยม ปธน.สี จิ้นผิงได้แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจอันแน่วแน่หลายครั้งในการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันและการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง

“การพัฒนาเป็นสิทธิของทุกประเทศในโลก ไม่ใช่สิทธิบัตรของบางประเทศเท่านั้น” จีนมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาที่เป็นอิสระและยั่งยืนมาโดยตลอด

การยืนหยัดที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลางนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างเชิงรากเหง้าระหว่างสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนกับทุนนิยมตะวันตกที่ยึดค่านิยมที่ “ถือทุนเป็นใหญ่”  ทุกวันนี้ ภูมิปัญญาที่แฝงไว้ในแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ กำลังถูกเปลี่ยนเป็นภาคปฏิบัติที่มีชีวิตชีวาในการร่วมสร้างร่วมแบ่งปัน

นับตั้งแต่เสนอข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นต้นมา จีนได้รังสรรค์โครงสร้างใหญ่แห่งการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกอย่างครอบคลุม ยกระดับการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการหมุนเวียนขนาดใหญ่ด้านเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลกผ่าน ” การเชื่อมต่อแบบแข็ง” ของโครงสร้างพื้นฐานและ “การเชื่อมต่อแบบนุ่มนวล” ของกฎเกณฑ์และมาตรฐาน

“มีแต่ทุกประเทศเปิดกว้างและเชื่อมโยงกันเท่านั้น จึงจะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อำนวยผลประโยชน์แก่กันและได้ชัยชนะร่วมกันได้” ปธน.สี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมแห่งการเปิดกว้างและชัยชนะร่วมกัน

มีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน มีกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางมากกว่า 400 ล้านคน มีการนำเข้าสินค้าและบริการที่คิดเป็นเงินประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และอื่นๆ ตลาดจีนได้กลายเป็นที่พึ่งของผู้ประกอบการในตลาดจำนวนมหาศาลทั่วโลก การเปิดกว้างของจีนได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งจากทั่วโลก

ร่วมทุกข์ร่วมสุข สะท้อนความรับผิดชอบต่อทั่วโลก

ภายใต้ผลกระทบจากโรคโควิด-19 เศรษฐกิจมหภาคทั่วโลกขาดความสมดุลอย่างเห็นได้ชัด จีนร่วมแรงร่วมใจและร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประเทศต่างๆ  ขับเคลื่อนการแก้ไขอุปสรรคและความยากลำบากในการต่อสู้กับโรคระบาด เศรษฐกิจได้รับการฟื้นฟู ได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อทั่วโลกของประเทศใหญ่ที่มุ่งสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งมนุษยชาติ

“ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นอีกครั้งว่า ท่ามกลางคลื่นยักษ์อันน่าสยดสยองแห่งวิกฤตการณ์เชิงทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ไม่ได้นั่งอยู่บนเรือเล็กกว่า 190 ลำ แต่โดยสารอยู่บนเรือใหญ่ที่มีโชคชะตาร่วมกัน” ปธน.สี จิ้นผิงได้อรรถาธิบายถึงความหมายอันแท้จริงของความสามัคคี

“ยืนหยัดถือประชาชนและชีวิตสำคัญที่สุด” “ยืนหยัดร่วมแรงร่วมใจ ส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือ” “ยึดมั่นในความเป็นธรรมและความสมเหตุสมผล ลด’ช่องว่างระบบภูมิคุ้มกัน'” ปธน.สี จิ้นผิงชี้ให้เห็นทิศทางในการใช้ปฏิบัติการ

ด้วยเจตนารมณ์ที่มีความรับผิดชอบอย่างสูงต่อสุขภาพประชาชนและประชาคมระหว่างประเทศ จีนได้ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเร็วที่สุด และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระเบียบการผลิตภายในประเทศ จีนเป็นประเทศแรกที่เสนอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะทั่วโลก และได้ดำเนินปฏิบัติการมนุษยธรรมในขอบเขตทั่วโลกอย่างขนานใหญ่ จีนสร้าง”แนวป้องกันชีวิต” ในการต่อสู้กับโควิด-19 และ “แนวประกัน” ห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงของทั่วโลกด้วยการส่งมอบสินค้าที่พึ่งพาได้ และเครือข่ายโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาทั่วโลกให้เข้าสู่ขั้นตอนใหม่ที่มีความสมดุล สอดประสานกันและเปิดกว้าง นายสี จิ้นผิงได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาทั่วโลกอย่างจริงจังในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 76 ได้เติมเต็มความหมายของแนวคิดว่าด้วยโชคชะตาร่วมกันอีกระดับด้วย “การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้านการพัฒนาทั่วโลก” เพื่อชี้นำแนวทางปฏิบัติใหม่ของการพัฒนาทั่วโลก

จาก “บนหนทางสู่การมีกินมีใช้รอบด้านนั้นจะขาดใครไม่ได้แม้แต่คนเดียว” ถึง “บนหนทางแห่งการแสวงหาความสุขของมนุษยชาตินั้นจะทิ้งประเทศใดหรือชนชาติใดไว้ข้างหลังไม่ได้”  ปธน.สี จิ้นผิงได้อธิบายความหมายอันแท้จริงของประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งมนุษยชาติด้วยคำพูดที่เรียบง่ายที่สุด

แปลเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)

 

ติดตามตอนก่อนหน้าที่ได้ที่

เศรษฐศาสตร์ที่ยกระดับการพัฒนาทั่วโลกอย่างสอดประสานกัน ยั่งยืนและสีเขียว—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (4)