CFP ยกระดับทักษะความเป็นมืออาชีพสำหรับนักวางแผนทางการเงิน

0
1

CFP ยกระดับทักษะความเป็นมืออาชีพสำหรับนักวางแผนทางการเงิน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสแรก ปี 2566 พบว่า ระดับหนี้ครัวเรือนและบัญชีหนี้เสียในส่วนของสินเชื่อบุคคลมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เกิดความกังวลใจถึงปัญหาที่อาจจะรุนแรงขึ้นในอนาคตถ้าหากเศรษฐกิจไม่ขยายตัว สาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นคนไทยยังไม่ค่อยมีความรู้ทางการเงิน และไม่สามารถบริหารจัดการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเงินไม่พอใช้ ซึ่งสะท้อนจากผลสำรวจระดับทักษะทางการเงินของคนไทยล่าสุดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติตามกรอบของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD)

ทางออกหนึ่งของปัญหาดังกล่าวจึงอาจต้องอาศัยการให้คำแนะนำในการวางแผนการเงินโดยนักวางแผนการเงินที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ CFP (Certified Financial Planner) ซึ่งเป็นคุณวุฒิรับรองวิชาชีพนักวางแผนทางการเงินในระดับสากลทั้งนี้สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) จะกำกับดูแลการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย ภายใต้กระบวนการ 4E ที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (FPSB) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทั้งนี้เกณฑ์ 4E ในการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้แก่

 

  1. การศึกษา (Education) ซึ่งประกอบการอบรม 6 ชุดวิชา ได้แก่ ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก และชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน
  1. การสอบ (Examination) ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ ฉบับที่ 2. การวางแผนการลงทุน ฉบับที่ 3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงินซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก และส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน
  1. ประสบการณ์การทำงาน (Experience) ผู้ที่ผ่านการศึกษาและการสอบครบทั้งหมดจะขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้จะต้องมีประสบการณ์การทำงานครอบคลุมหลักปฏิบัติด้านการวางแผนการเงิน
  1. จรรยาบรรณ (Ethics) ซึ่งกำหนดให้นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ต้องยึดถือและปฏิบัติตาม “จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน

ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP อาจารย์ประจำภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP มาอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาศูนย์อบรมไทยพีเอฟเอ (ThaiPFA) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP แห่งแรกในประทศไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ดังนี้

− การเพิ่มความรู้ความสามารถและทักษะในการให้คำแนะนำในการวางแผนการเงินสำหรับบุคคลอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมหลากหลายมิติทางการเงิน

− การขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ ในปัจจุบันมีความต้องการบุคลากรที่มีคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เพื่อให้บริการกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

− การเพิ่มความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เนื่องจากสถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศไทยมีการปรับเพิ่มเงินเดือนให้กับบุคลากรขององค์กรที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งสะท้อนถึงการยอมรับในคุณค่าของคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นมาตรฐานความเป็นเลิศในการวางแผนทางการเงิน

− การเพิ่มการยอมรับ ความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ในระยะยาวจากลูกค้าหรือผู้รับคำปรึกษาซึ่งมักต้องการได้รับบริการจากที่ปรึกษาการเงินที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพในระดับสากล

− การมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำในการวางแผนการเงินที่ส่งผลทำให้คนไทยที่เป็นลูกค้าหรือผู้รับคำปรึกษามีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายต่างๆในชีวิต และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น

โดยรวมแล้ว นักวางแผนการเงิน CFP จึงเป็นวิชาชีพที่นอกจากจะสามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงให้กับผู้ประกอบวิชาชีพยังมีส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้คนไทยสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงิน มีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในชีวิต สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP สามารถติดต่อขอคำปรึกษาและหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipfa.co.th