งานนิทรรศการ“จับจ้องมองจีน:ถอดรหัส ยีนวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีน” จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

0
2

งานนิทรรศการ“จับจ้องมองจีน:ถอดรหัส ยีนวัฒนธรรม ดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีน” จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ

.

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา   ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ และ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง ร่วมจัดงานนิทรรศการ “จับจ้องมองจีน: ถอดรหัสยีนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีน” โดยมี นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทยและศาสตราจารย์ หวังฮวน ภริยา นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ นายฉวีคุน อธิการบดีมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รศ.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผศ.ดร.ภาสพงศ์ ศรีพิจารณ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายฉาง อวี่เหมิง อุปทูตที่ปรึกษาแผนกวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย นางซวี่หลาน ที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย นายเชว่ เสี่ยวหัว ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน และ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ รวมถึง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร คณาจารย์และนักเรียนจาก มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ  รวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมงานกว่า 100 คน

.

นายหานจื้อเฉียง กล่าวเน้นย้ำในสุนทรพจน์ว่า เทคโนโลยี มีบทบาทต่อการปกป้องและการจัดแสดง โบราณวัตถุทางวัฒนธรรม และกระตุ้นความมีชีวิตชีวาของสิ่งเหล่านั้น ไม่เพียงช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และการพัฒนา นวัตกรรมทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมอันยอดเยี่ยมของจีนเท่านั้น แต่ยังสร้างรูปแบบและโอกาสใหม่ให้กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทางอารยธรรมระหว่างจีนและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ปีนี้เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนด้านมนุษยศาสตร์ระหว่างจีน-อาเซียน และปีหน้าเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย ถึงเวลาแล้วที่องค์กรการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศจะต้องดำเนินการอย่างแข็งขันในการพัฒนาการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หวังว่านิทรรศการครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างองค์กรด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของจีนและไทยมากขึ้น

 

นายพินิจ จารุสมบัติ กล่าวในสุนทรพจน์ว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีนนั้นมีความกว้างขวางและลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน จีนก็เป็นผู้นำระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาโดยตลอด ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสมอมา นิทรรศการครั้งนี้ได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้อย่างสร้างสรรค์ในการจัดแสดงโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมจีน หวังว่าจีนและไทยจะกระชับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาและสาขาอื่นๆ และส่งเสริมมิตรภาพเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกันของจีนและไทยสืบไป

.

นายสวี่คุน กล่าวในสุนทรพจน์ว่า นิทรรศการ นี้ได้คัดเลือกภาพวัตถุที่ทำการจัดแสดงอย่างพิถีพิถันโดยเน้นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมอันยอดเยี่ยมของจีน โดยการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ ความเป็นจริงเสริม 3 มิติด้วยตาเปล่าและเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ เพื่อให้การแสดงประวัติความเป็นมาและความหมายแฝงของโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมแสดงออกในรูปแบบที่ “มีชีวิต” หวังว่านิทรรศการครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้จีนและไทยมีการใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและพลังทางเทคโนโลยีผสมผสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

.

นิทรรศการครั้งนี้ออกแบบโดยมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง มุ่งมั่นในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทย โดยใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม สร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดแสดงนิทรรศการรูปแบบใหม่ ถือเป็นนิทรรศการทางวัฒนธรรมที่นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศแนวร่วม โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยมุ่งเน้นคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ คุณค่าทางเทคโนโลยี คุณค่าทางสุนทรียภาพ คุณค่าการสืบสาน และคุณค่าแห่งยุคสมัย ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำเสนอแก่นแท้ของมรดกทางวัฒนธรรมจีนอันงดงามและถอดรหัสยีนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีน นิทรรศการครั้งนี้ผสมผสานประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมอันยาวนาน เสน่ห์ของวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และความสำเร็จของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้าง ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ร่วมแบ่งปันภูมิปัญญาและพลังในการสร้างสะพานทางวัฒนธรรมดิจิทัลบนแนวทางหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

.

นิทรรศการวัฒนธรรมและเทคโนโลยี “จับจ้องมองจีน: ถอดรหัสยีนวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยอดเยี่ยมของจีน” จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2567  ผู้จัดนิทรรศการขอเชิญคณาจารย์ นักศึกษาและประชาชนชาวไทยให้มาเยี่ยมชมและสัมผัสประสบการณ์ดังกล่าว โดยผู้เข้าชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้อย่างเต็มตายิ่งขึ้นผ่านการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัสและประสบการณ์อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้สามารถสัมผัสกับโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมจีนได้อย่างมีชีวิตชีวาและสนุกสนานยิ่งขึ้น เปิดมุมมองใหม่ในการวิเคราะห์วัฒนธรรมจีนดั้งเดิม