สัมมนา “ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียน ยุคใหม่ วิสัยทัศน์ใหม่” 

0
150

สถานทูตจีนประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ  และ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันจัดงานสัมมนา เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนครบรอบ 15 ปี

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันจัดงานสัมมนาหัวข้อ “ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียน ยุคใหม่ วิสัยทัศน์ใหม่”  เนื่องในโอกาสการสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนครบรอบ 15 ปี ภายในงาน รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน  นายหลู่ย์เจี้ยน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน และ นายสุริยา จินดาวงษ์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงปาถกฐาพิเศษ  นาย เฉิน เต๋อไห เลขาธิการสำนักเลขาธิการจีน-อาเซียนกล่าวปิดงาน  โดยมีนักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานรัฐ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา  สมาคม  สื่อมวลชนและผู้แทนสถานทูตกว่า 200 คนเข้าร่วมงานสัมมนา

เอกอัครราชทูตหลู่ย์ เจี้ยน กล่าวว่า ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนเป็นความสัมพันธ์ที่มีชีวิตชีวาและสาระเนื้อหามากที่สุด   และถือเป็นแบบอย่างที่ดีในความร่วมมือเอเชียแปซิฟิก อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ประชาชนกว่า 2,000 ล้านคน  ปัจจุบันสถานการณ์โลกมีความสลับซับซ้อน และมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความไม่แน่นอนมากมาย  ลัทธิฝ่ายเดียวนิยมและลัทธิอนุรักษ์นิยมได้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้กระบวนการพหุภาคีนิยมได้รับผลกระทบ  กติกาโลกได้รับการท้าทาย   ประเทศจีนและอาเซียนจำเป็นต้องยืนหยัดในหลักการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม เคารพซึ่งกันและกัน เปิดกว้าง ยอมรับกัน สร้างความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งสองฝ่ายควรยึดถือจิตวิญญาณ “ร่วมกันหารือ ร่วมกันสร้าง ร่วมกันแบ่งปัน”  บนหลักการดำเนินความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และ วิสัยทัศน์ของประชาคนอาเซียน อันจะนำไปสู่ผลสำเร็จอย่างงดงามร่วมกันต่อไป

เอกอัครราชทูตหลู่ย์ เจี้ยน เน้นย้ำว่า ตอนนี้โลกเราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่มีความสลับซับซ้อน ประเทศจีนยืนหยัดที่จะเดินทางตามเส้นทางเปิดประเทศ ปฏิรูป ร่วมมือและชนะไปด้วยกัน  เรายืนหยัดในระบบเศรษฐกิจโลกแบบเสรีนิยมและระบบการค้าพหุภาคี ทำให้ผลจากการพัฒนาสู่ประชาชนทั่วไป  ประเทศจีนยังคงดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยเอาอาเซียนไว้ในส่วนสำคัญของการดำเนินนโยบายและสร้างโอกาสความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนทางยุทธ์ศาสตร์ ซึ่งตอนนี้ครบรอบ 15 ปีแล้ว และภายใต้การชี้นำของวิสัยทัศน์ว่าด้วยความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียน 2023  จะมีแถลงในที่ประชุมผู้นำเอเชียนตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนนี้  จีนและอาเซียนจะเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมือง ยกระดับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ขยายความร่วมมือทางด้านความปลอดภัย  สังคมและวัฒนธรรม  ประสานความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 จะทำให้เกิดการพัฒนาจีน-อาเซียนเป็นเครื่องจักรในการขับเคลื่อนภูมิภาคและโลก ประเทศจีนจะสนับสนุนการดำรงตำแหน่งเป็นประธานหมุนเวียนของไทยในอาเซียน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าไทยสามารถแสดงบทบาทโดดเด่น และผลักดันความสัมพันธ์จีน-อาเซียนก้าวสู่ระดับสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

นายสุริยา จินดาวงษ์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ตลอดระยะยาวนานที่ผ่านมา อาเซียน-จีนได้รักษาความสัมพันธภาพที่ดีที่มีความมั่นคง เสถียรภาพและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันภายในหลักการเคารพซึ่งกันและกันและปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน  จีนเป็นประเทศแรกที่มีความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน และเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางสนทนาที่มีการพัฒนารวดเร็วมากที่สุด ที่มีผลสำเร็จมากที่สุด ความร่วมมือทางด้านการเมือง ความปลอดภัย เศรษฐกิจ การค้าระหว่างอาเซียนกับจีนได้รับการพัฒนาอย่างมาก  สถานการณ์ในทะเลจีนใต้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญที่อาเซียนและจีนได้ร่วมใช้ความพยายามร่วมกัน ความร่วมมือและชนะด้วยกัน ปีหน้าประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียน ไทยจะปฏิบัติตามวาระที่ได้กำหนดไว้ ผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน การเชื่อมโยงในภูมิภาค  เชื่อมโยงประชาคมเอเซียตะวันออก ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านความมั่นคงทางอาหาร  ความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาเซียน-จีนจะเป็นการสนับสนุนภารกิจนี้เป็นอย่างดี

นาย เฉิน เต๋อไห เลขาธิการสำนักเลขาธิการจีน-อาเซียน ได้กล่าวปิดงานสัมมนาโดยกล่าวว่า ศูนย์จีน-อาเซียนในฐานะป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งโดยจีนและชาติสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาในกระบวนการการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองฝ่าย ตั้งแต่จัดตั้งในปี 2011 เป็นต้นมา  ได้ดำเนินงานตามความเข้าใจตรงกันที่สำคัญที่ผู้นำได้ตกลงกันไว้ ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ทางด้านการค้า การลงทุน การศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  ขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียนพบโอกาสในการพัฒนาใหม่ โดยจะเน้นไปที่ทิศทางสำคัญและสาขาสำคัญของความร่วมมือ แสดงบทบาทสำคัญของข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมทั้งหลาย ใช้ความพยายามร่วมกันกับทุกฝ่าย เพื่อผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนพัฒนาเชิงลึกต่อไป

นักวิชาการที่ร่วมงานได้อภิปรายอย่างกว้างขวางในประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-อาเซียน ความเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรม  ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า เศรษฐกิจของจีนมีอนาคตที่สดใส เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกต่อไป จีนพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับอาเซียน สนับสนุนบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือภูมิภาค จีนเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญที่อาเซียนไว้วางใจได้   ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกระตุ้นการลงทุนในโครงการพื้นฐานในภูมิภาค ส่งเสริมภูมิภาคนิยมและพหุภาคีนิยม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพของภูมิภาค ต่อความเจริญรุ่งเรือง สอดคล้องกับผลประโยชน์ของทุกฝ่าย  ภายใต้สถานการณ์โดดเดี่ยวนิยม และ อนุรักษ์นิยมที่ฟื้นตัวในปัจจุบัน  เราควรผลักดันความร่วมมือ 10+1   10+3 การประชุมสุดยอดผู้นำเอเซียตะวันออก ประชุมภูมิภาคอาเซียนฟอรั่มเป็นต้น เร่งการเจรจา ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาคหรือ RCEP ให้สำเร็จ  ในขณะเดียวกันควรเพิ่มพูนความไว้วางใจกัน เสริมสร้างความร่วมมือทางทะเล พัฒนาทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ ความร่วมมือและเจริญรุ่งเรือง  มีนักวิชาการหลายท่านคิดว่าการแลกเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรมระหว่างจีนกับอาเซียนทวีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายควรให้ความสำคัญในความร่วมมือทางด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยในการท่องเที่ยว อบรมอาชีวศึกษา การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตามกระแสนิยมเป็นต้น ส่งเสริมความเข้าใจกัน ส่งเสริมความเชื่อมใจประชาด้วยท่าทีที่กระตือรือร้นและท่าทีที่เปิดกว้าง ยอมรับกัน