ความคิดเห็นต่อ การประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ของจีน

0
70

ในวันนี้ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า ประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลกทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันกับการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ สี จิ้นผิง ก็ถือเป็นผู้นำระดับโลกที่สำคัญอย่างยิ่งคนหนึ่ง ที่ทั่วโลกจับตามอง ในเรื่องของนโยบายและยุทธศาสตร์ผลักดันให้ประเทศจีนพัฒนาและเดินหน้าต่อไป
.
ดังนั้นกรณีที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับงานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอต่อการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 5 ปี ฉบับที่ 14 ซึ่งมีการระดมสมองจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยา จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
เนื้อหาคำปราศรัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจและการมีทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อประเด็นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะประโยคที่ว่า
“ช่วงปฏิบัติตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะเวลา 5 ปี ฉบับที่ 14 เป็นช่วง 5 ปีแรกที่จีนเริ่มกระบวนการใหม่แห่งการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีความทันสมัยอย่างรอบด้าน และก้าวไปสู่เป้าหมายบากบั่นต่อสู้100 ปีรอบที่ 2 หลังประเทศเราได้สร้างสังคมมั่งคั่งระดับปานกลางอย่างรอบด้าน และได้บรรลุเป้าหมายบากบั่นต่อสู้ 100 ปีรอบแรก ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตาม หากมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยดี ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ มิฉะนั้น ก็คงต้องประสบความล้มเหลว เราจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตระหนักถึงแนวโน้มที่ต้องเป็นไป รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ระดมภูมิปัญญาจากฝ่ายต่าง ๆ และศึกษาวิจัยสถานการณ์ใหม่ เพื่อจัดวางแผนการพัฒนาฉบับใหม่ที่ดี ”
นี่เป็นเสมือนคำยืนยันที่ไม่เพียงสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนชาวจีน แต่ยังเป็นการบอกให้โลกได้รับรู้ถึงการมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไปของประเทศจีน
.
ที่สำคัญ เนื้อหาของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะเวลา 5 ปี ของจีนในครั้งนี้ ความครอบคลุมมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมองถึงโอกาสใหม่ๆ การเรียนรู้และการตระหนักถึงสภาวะของดลก และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง มีการบริหารความเสี่ยง วางแผนทิศทางอย่างระมัดระวัง ทั้งเรื่องความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ เรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรม การพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยขั้นพื้นฐาน ในการของการส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อการก้าวไปถึงจุดที่จะบรรลุถึงการพัฒนาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความเที่ยงธรรม ความถาวร และความมั่นคงมากขึ้น โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
.
และประโยคที่ว่า “ในยุคใหม่แห่งการพัฒนา สภาพแวดล้อมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง ได้นำมาทั้งโอกาสใหม่ และการท้าทายใหม่ต่าง ๆ วิกฤตและโอกาสจะมาพร้อมกัน กล่าวคือ ท่ามกลางวิกฤตจะมีโอกาส และเราสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ”
.
ซึ่งในฐานะสื่อมวลชนมองว่าเป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆควรผนึกความร่วมมือระดับโลกให้เกิดขึ้น เพื่ออนาคตของทุกประเทศในโลกนี้นั่นเอง

ภูวนารถ ณ สงขลา
นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน