การประชุม COP15 เปิดบทใหม่แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก

0
2

การประชุม COP15 เปิดบทใหม่แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก

การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า COP15 จัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง เมืองเอกมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในเดือนตุลาคมนี้ และดำเนินไปตลอดครึ่งแรกของปี 2022

โดยการประชุมขั้นแรกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคมนี้  และต่อด้วยการประชุมระดับสูงระหว่างวันที่ 12-13 ตุลาคม ภายใต้หัวข้อ “อารยธรรมทางนิเวศวิทยา กว่า 190 ประเทศจะร่วมประชุมหารือกันว่า  จะลดผลกระทบต่อธรรมชาติให้น้อยที่สุดได้อย่างไร  จะส่งเสริมให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมได้อย่างไร  เป็นต้น  

 

นอกจากนี้  การประชุมครั้งนี้จะกำหนดกรอบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกหลังปี 2020 ซึ่งถือเปนบทใหม่ของการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต หมายถึง ระบบนิเวศอันสลัซับซ้อนที่ก่อรูปขึ้นจากสภาพแวดล้อมการดำรงอยู่ของสัตว์  พฤกษชาติ จุลินทรีย์  ตลอดจนยีนของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปรวมถึงความหลากหลายด้านพันธุศาสตร์ ความหลากหลายของสายพันธุ์  และความหลากหลายของระบบนิเวศ  การช่วยอนุรักษ์สายพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไม่เพียงเพื่อให้ความสำคัญในการคุ้มครองสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆในป่าเท่านั้น  หากยังต้องคุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศของป่าอีกด้วย

สนธิสัญญาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตแห่งสหประชาชาติ ถือเป็สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในด้านทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในโลก  โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1993 ปัจจุบัน  สนธิสัญญาฉบับนี้มีประเทศภาคีทั้งหมด 196 ประเทศ  ได้กำหนดกฎเกฑ์ระหว่างประเทศที่เป็นเอกภาพด้านการคุ้มครองความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  ตลอดจนใช้สอยและแบ่งปันผลประโยชน์จากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  จึงมีบทบาทสำคัญที่ทดแทนไม่ได้ในการยับยั้งการสูญเสียความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก

เนื่องจากทั่วโลกไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้านการคุ้มครองความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปี 2020  ประชาคมโลกจึงให้ความสำคัญและคาดหวังต่อการประชุม COP15 ครั้งนี้เปนอย่างยิ่ง

จีนทำหน้าที่เตรียมการประชุมครั้งนี้อย่างเต็มที่ จากป้ายประชาสัมพันธ์การประชุมที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ จะเห็นได้ว่ มีทั้งนกยูงสีเขียว  ช้างเอเชีย  แพนด้า  และสัตว์ป่าล้ำค่าหายากต่างๆ เพื่อถ่ายทอดประเด็นหลักของการประชุมอารยธรรมทางนิเวศวิทยา  ร่วมกันสร้างสรรค์ประชาคมสิ่งมีชีวิตในโลก

อาสาสมัครของการประชุม COP15 มีจำนวน 3,570 คน  แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ อาสาสมัครในพื้นที่จัดการประชุมจำนวนกว่า 500 คน  และอาสาสมัครที่กระจายอยู่ทั่วเมืองคุนหมิงจำนวนกว่า 3,000 คน ซึ่งจะคอยให้บริการตามสนามบิน  สถานีรถไฟความเร็วสูง  ใจกลางเมืองคุนหมิง  และถนนตรอกซอยของเมืองคุนหมิง

แม้ในสถานที่จัดการประชุมจะจัดเตรียมน้ำดื่มและถ้วยน้ำบริการ แต่ก็ส่งสริมให้ผู้ร่วมประชุมพกพาขวดหรือถ้วยน้ำดื่มของตน  เพื่อลดการใช้งานขวดพลาสติกและถ้วยกระดาษ  นอกจากนี้ ยังจะใช้รถยนต์พลังงานสะอาดในการรับส่งผู้ร่วมประชุม  และมีบริการจักรยานสาธารณะ สำหรับที่พักตามโรงแรมต่างๆ ก็จะไม่อำนวยของใช้ในห้องน้ำแบบครั้งเดียวด้วย เพื่อรณรงค์ให้ผู้ร่วมประชุมนำสิ่งของส่วนตัวเหล่านี้มาเอง

ด้านอาหารการกิน  ฝ่ายจัดการประชุมจะเสนออาหารท้องถิ่นเป็นสำคัญและรณรงค์การรับประทานให้หมดไม่เหลือทิ้ง  นอกจากนี้  การประชุม COP15จะใช้มาตรการเพื่อปล่อยคาร์บอนไออกไซด์เป็นศูนย์  โดยจะสร้างป่ากักเก็บคาร์บอนเพื่อชำระก๊าเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากประชุมครั้งนี้

ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่จีนเลือกจัดประชุม COP15 ที่เมืองคุนหมิง  มณฑลหยุหนาน  เพราะว่ามณฑลหยุนหนานมีทรัพยากรรรมชาติอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะมีความโดดเด่นยิ่งด้านควมหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  มณลหยุนหนานไม่เพียงแต่มีภูเขาลำน้ำมากมาย  หากยังมีสัตว์ป่า  พรรณพืชและจุลินทรีย์ป่าที่หายากและล้ำค่ามากมายด้วย

ชาวหยุนหนานได้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน  มณฑลหยุนหนานจึงมีสมญานามว่า  อาณาจักรพืช สัตว์  และสวนดอกไม้แห่งโลก

ในฐานะเป็นประเทศกลุ่มแรกที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  จีนทุ่มเทกำลังอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์อารยธรรมทางนิเวศวิทยา  โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2020 ว่า  จะปล่อยคาร์บอนให้ถึงจุดสูงสุดในปี 2030 และจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2060

และในการประชุมของสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 76 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้  ผู้นำจีนก็ระบุว่า  จีนจะสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาทำการพัฒนาพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง  นอกจากนี้  จีนจะไม่พัฒนาโครงการกำเนิดไฟฟ้าด้วยถ่านหินในต่างประเทศอีก

นาหลี่ หลิน ผู้อํานวยการฝ่ายนโยบายและการสนับสนุนของมูลนิธิธรรมชาติโลกให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า  การประชุม COP15 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมปีนี้และครึ่งแรกของปี 2022 นั้นเป็นวาระสำคัญในการกำหนดนโยบาย  เวลาเหลือไม่มากแล้วสำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศของโลก

นางหลี่ หลิน ยังระบุด้วยว่า  เป็นเรื่องน่าปิติยินดีที่จีนได้ใช้ปฏิบัติการภายในประเทศแล้ว  การที่จีนให้ความสำคัญต่อแนวคิดอารยธรรมนิเวศวิทยาระหว่างการกำหนดนโยบายบ้านเมืองนั้นสอดคล้องกับแนวคิดที่มนุษย์กับธรรมชาติต้องอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน  เกี่ยวพันถึงการแก้ไขวิกฤตทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ  โลกในทุกวันนี้ต้องการพหุนิยมมากกว่ายามอื่นใดที่ผ่านมา

แปลเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน(CMG)