บทวิเคราะห์ ร่วมกันสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียว

0
7

การสร้างสรรค์โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จีนเน้นแนวคิดอารยธรรมเชิงนิเวศมาโดยตลอดและส่งเสริมการพัฒนาสีเขียว ปัจจุบัน การร่วมกันสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียวได้กลายเป็นฉันทามติของบรรดาประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการฯ

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2017 จีนได้ออกแผนความร่วมมือเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางและข้อเสนอแนะในการก่อสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียวโดยได้จัดเตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลักและแผนงานโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียว ซึ่งรวมถึงการเจรจาเกี่ยวกับนโยบายการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร การกำหนดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนทางเทคนิค และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสีเขียวในด้านอื่น ๆ

ค.ศ. 2018 จีนออกหลักการการลงทุนก่อสร้างโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียว ซึ่งได้ดึงสถาบันการเงินระหว่างประเทศขนาดใหญ่ 39 แห่งทั่วโลกเข้าร่วม

เดือนเมษายน ค.ศ. 2019 ในการประชุมสุดยอดเพื่อความร่วมมือโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ครั้งที่ 2 ได้มีการตั้งสหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาสีเขียวโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยได้รับการตอบรับและสนับสนุนจากพันธมิตรทั้งจีนและต่างประเทศมากกว่า 150 รายจาก 43 ประเทศและเขตแคว้นเป้าหมายของสหพันธ์นี้คือส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และช่วยให้ประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการฯบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030

เดือนกันยายน ค.ศ. 2019 ที่กรุงปักกิ่ง ฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับตัวอย่างการพัฒนาสีเขียวของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

หนึ่งปีให้หลังในเดือนกันยายน ค.ศ.2020 สหพันธ์รระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาสีเขียวของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้ทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาสีเขียวของโครงการฯ

เดือนมิถุนายน ค.ศ.2021 จีนกับ 28 ประเทศร่วมกันเปิดตัวข้อริเริ่มความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสีเขียวของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตามหลักการที่ยุติธรรม มีความรับผิดชอบร่วมกัน แต่แตกต่างกันตามความสามารถและสภาพความเป็นจริงของแต่ละประเทศ

ในปีเดียวกัน จีนได้ออกแนวทางการพัฒนาสีเขียวของการลงทุนและความร่วมมือในต่างประเทศ โดยกำหนดภารกิจสําคัญ 10 ประการ รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกติกาสีเขียว  ระหว่างประเทศ การพัฒนาสาธารณูปโภคสีเขียว และส่งเสริมการผลิตและการดําเนินงานสีเขียว

ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2022 จีนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับร่วมกันสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียว โดยชี้ให้เห็นว่า ถึงค.ศ.2025 การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจะลงลึกยิ่งขึ้น แนวคิดของเส้นทางสายไหมสีเขียวจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว พลังงานสีเขียว การคมนาคมสีเขียว และการเงินสีเขียวจะได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและมั่นคง

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา จีนยังคงส่งเสริมแพลตฟอร์มบริการข้อมูลขนาดใหญ่ด้านนิเวศและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่งเสริมพัฒนาศูนย์แลกเปลี่ยนและถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และส่งเสริมการพัฒนาสถาบันวิจัยระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาสีเขียวของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

อีกทั้งดําเนินโครงการทูตเส้นทางสายไหมสีเขียว และแผนความร่วมมือใต้-ใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

นอกจากนี้ จีนยังได้จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และช่างเทคนิคกว่า 3,000 คนด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสําหรับประเทศกําลังพัฒนาเกือบ 120 ประเทศ และได้รับการยกย่องจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติว่าเป็น “ต้นแบบของความร่วมมือใต้-ใต้”

อย่างไรก็ตาม แม้การร่วมกันสร้างโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียวได้รับการตอบรับและการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากบรรดาประเทศที่ร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางก็ตาม แต่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมก็ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามแนวคิดการพัฒนาสีเขียว เนื่องจากบรรดาประเทศที่มีส่วนร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีความแตกต่างกันมากในด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ระดับการพัฒนาของบางประเทศไม่สูง ดังนั้น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศจึงยังไม่ได้รับความสนใจเพียงพอ อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาสีเขียวเป็นการพัฒนารอบด้านรวมถึงการบริโภค การผลิต การไหลเวียน นวัตกรรม และการเงินซึ่งต้องมีการพัฒนาความสามารถในการกํากับดูแลและการรับรู้ของสาธารณชน ต้องมีการสร้างนวัตกรรมทางระบบแลกลไก และต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ การร่วมกันสร้างโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียวจึงยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากมาย

เขียนโดย โจว ซวี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)