บทวิเคราะห์ จีนเปลี่ยนจากประเทศที่มีประชากรมากสุดให้เป็นประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลที่เข้มแข็ง

0
0

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากการเติบโตของประชากรจีนติดลบ บางคนจึงกังวลว่าจีนจะสูญเสียประโยชน์จากการที่ประชากรลดลง ตลอดจนเศรษฐกิจจีนจะเติบโตต่อไปได้หรือไม่ ความจริงคือรัฐบาลจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเติบโตของประชากรที่ติดลบมาโดยตลอด และตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่มีประชากรจำนวนมากไปสู่ประเทศที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่แข็งแกร่งโดยเร่งปรับปรุงทักษะและคุณภาพของแรงงาน

ย้อนไปเมื่อปี 2007 จีนได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประชากรของประเทศ โดยชูประเด็นว่า “การลงทุนพิเศษเพื่อพัฒนาพลเมืองอย่างรอบด้าน” ยุทธศาสตร์นี้ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาพลเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับคุณภาพของพลเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคนกับการเพิ่มขึ้นของทรัพย์สิน เพื่อส่งเสริมให้ประชากร เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนทรัพยากรและสภาพแวดล้อมพัฒนาด้วยกันอย่างยั่งยืน ปี 2018 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนในขณะนั้นระบุว่า ตลอด 40 ปีที่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ คุณภาพแรงงานของจีนได้ยกระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลประโยชน์ของประชากรได้เปลี่ยนเป็นผลประโยชน์จากความสามารถของบุคคลอย่างรวดเร็ว นี่คือ “ความเชื่อมั่น” ที่ใหญ่ที่สุดสําหรับการพัฒนาของจีน ปี 2022 รายงานในที่ประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 ระบุว่า ความทันสมัยแบบจีนเป็นความทันสมัยแบบที่มีประชากรจำนวนมหาศาล จีนจะสร้างระบบที่สนับสนุนการมีลูก และจะดำเนินยุทธศาสตร์ของประเทศในการรับมือกับประชากรสูงอายุอย่างแข็งขัน

ปัจจุบัน จีนมีประชากรกว่า 1,411 ล้านคน การลดลงของประชากรเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน

ประชากรดังกล่าวยังคงค่อนข้างน้อย กล่าวโดยภาพรวมแล้ว การเติบโตอย่างติดลบของประชากรมิอาจจะเปลี่ยนแนวโน้มการพัฒนาที่ดีของเศรษฐกิจและสังคมจีน และก็มิอาจเปลี่ยนกระบวนการการสร้างสรรค์ความทันสมัยของจีน ตรงกันข้าม จำนวนประชากรของจีนที่ลดลงอย่างเหมาะสม ยังจะทำ

ให้การถือครองทรัพยากรเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้น ผลการวิจัยระบุว่า จำนวนทรัพยากรบุคคลต่างหากที่ชี้ขาดศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ศูนย์วิจัยและพัฒนาประชากรจีนคาดการณ์ว่า ถึงแม้จำนวนประชากรเผชิญกับสภาวะการเติบโตติดลบ แต่ด้วยการปรับปรุงด้านสุขภาพและระดับการศึกษา ทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดของจีนจะยังคงเติบโตต่อไปก่อนปี 2040 และคงที่ภายในปี 2050

นอกจากนี้จีนมีประชากรในวัย 60-69 ปีจำนวนมาก ผู้สูงอายเหล่านี้อุดมไปความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถ จึงมีศักยภาพที่จะทำงานต่อและแสดงบทบาทสำคัญในสังคมต่อไป

พร้อมกับความรู้และเทคโนโลยีมีส่วนเกื้อกูลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น การพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมของจีนพึ่งพาอาศัยระบบการศึกษาที่สมบูรณ์และคุณภาพบุคลากรเป็นหลัก ปัจจุบัน จีนมีโรงเรียนและสถาบันการศึกษาประเภทต่าง ๆ เกือบ 530,000 แห่ง มีนักเรียนนักศึกษาจำนวนกว่า 291 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของประชากรทั้งหมดของจีน คาดว่า ถึงปี 2030 จำนวนบุคลากรของจีนจะมีถึง 290 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 40 ขึ้นไปของจำนวนคนที่ทำงาน ถึงปี 2035 จีนจะมีประชากรกว่า 400 ล้านคนที่ได้รับการศึกษาระดับวิทยาลัยขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 25 ขึ้นไปของประชากรทั้งหมดของจีน ประชากรเหล่านี้ถือเป็นความเหนือกว่าด้านทรัพยากรบุคคลของจีน

นอกจากนี้ จีนยังสนับสนุนให้พัฒนาการศึกษาในชุมชน  การศึกษาในชนบท และการศึกษาของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างบรรยากาศการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชนทั้งปวง เพื่อยกระดับคุณภาพประชากรของบ้านเมืองให้สูงยิ่งขึ้น และมุ่งที่จะเปลี่ยนลักษณะประชากรจากแบบที่มีความเหนือกว่าด้านจำนวนให้เป็นแบบที่มีความเหนือกว่าด้านคุณภาพ เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ

บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เมื่อเผชิญกับการเติบโตของประชากรติดลบ สิ่งที่ควรทำคือ เพิ่มศักยภาพการเติบโตตามหลักวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่าในวันข้างหน้าจำนวนแรงงานจะลดลงก็ตาม แต่ยังคงมีศักยภาพในการเพิ่มระยะเวลาการทำงานของแรงงานให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน แรงงานชนบทที่หางานทำในเมืองจำนวน 160 ล้านคนส่วนใหญ่จะกลับบ้านและไม่กลับมาทำงานอีกเมื่ออายุประมาณ 40 ปี หากรัฐบาลใช้นโยบายต่าง ๆ ให้ประชากรชนบทเหล่านี้สามารถพำนักอยู่ในเมืองและเปลี่ยนเป็นประชากรเมือง แรงงานชนบทดังกล่าวก็มีโอกาสทำงานต่อไปจนถึงอายุ 60 ปี เมื่อทำเช่นนี้แล้ว

จำนวนแรงงานก็จะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปเพื่อทำลายการ

ผูกขาดของวิสาหกิจขนาดใหญ่ สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้การแข่งขันมีความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการสร้างงาน

กล่าวโดยสรุป ปัจจุบัน จีนไม่ได้ใช้ความเหนือกว่าจากการมีแรงงานราคาถูกในการแข่งขันระหว่างประเทศอีกแล้ว  แต่หันไปพัฒนาคุณภาพของแรงงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ มุ่งที่จะเปลี่ยนจากมหาประเทศที่มีประชากรมากสุดให้เป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อประกันให้เศรษฐกิจและสังคมพัฒนาไปด้วยดีอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง

เขียนโดย โจว วี่ ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)