ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างแข่งขันกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนในภาคการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ

0
2

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างแข่งขันกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนในภาคการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ

ในปี 2566 จีนเปิดเผยแผนการเดินทางเป็นกลุ่มไปยัง 20 ประเทศ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญ ซึ่งใน 20 ประเทศนี้ มีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ถึง 7 ประเทศ โดยจุดหมายปลายทางยอดนิยมอย่าง ประเทศไทย และ ประเทศอินโดนีเซีย รวมอยู่ในรายชื่อที่เลือกนี้ ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นักท่องเที่ยวชาวจีนได้ออกเดินทางไปต่างประเทศประมาณ 150 ล้านครั้งในปี 2562 ซึ่งในจำนวนนี้ มีตัวเลขจำนวนการเดินทาง 27 ล้านครั้งไปยัง 6 ประเทศที่โดดเด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนมาก กรุ๊ปทัวร์ของนักท่องเที่ยวจีนมักประกอบด้วยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะตัว เมื่อเปรียบเทียบกับนักเดินทางแบบส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจสายการบินและโรงแรมที่กำลังต่อสู้กับการถดถอยทางเศรษฐกิจ และ อัตราการเข้าพักที่ลดลง การฟื้นฟูตลาดนักเดินทางซึ่งเป็นกลุ่มคณะ ที่จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนับสำคัญจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

การผ่อนคลายกฎระเบียบการเดินทางเป็นกลุ่มคณะของคนจีน คาดว่าจะทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรมในบาหลีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 จากระดับปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 ตามข้อมูลจากสมาคมโรงแรมและร้านอาหารอินโดนีเซีย ดังนั้น การกลับมาของนักเดินทางชาวจีนที่กำลังจะเกิดขึ้นได้จุดประกายการลงทุนครั้งใหม่ในภูมิภาคนี้ด้วย เช่น มารีน่า เบย์ แซนด์ โรงแรมชื่อดังในสิงคโปร์ ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงห้องพักทุกห้องเมื่อปีที่แล้ว โครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปีนี้ และมาพร้อมกับการลงทุนสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญที่สุดของโรงแรมนับตั้งแต่เปิดทำธุรกิจมาในปี 2553 ลาสเวกัส แซนด์ บริษัทแม่ของมารีนา เบย์ แซนด์ มีแผนธุรกิจซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสนามกีฬาขนาด 15,000 ที่นั่งที่อยู่ติดกับโรงแรม เพื่อขยายพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการประชุมนานาชาติ และอาคารที่ดีไซน์หรูหรา การพัฒนาที่ครอบคลุมนี้มีกำหนดจะสรุปภายในปี 2569 รายได้ของมารีนา เบย์ แซนด์ เติบโตอย่างน่าประทับใจถึงร้อยละ 85 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยแตะระดับ 682 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยได้แรงหนุนหลักจากกิจกรรมคาสิโน และ จากราคาห้องพักเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นสองเท่า

นอกจากนี้ โรงพยาบาลในภูมิภาคยังเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองความต้องการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จากประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ในประเทศไทย ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป มีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนจำนวน 1.2 พันล้านบาท (35.9 ล้านดอลลาร์) เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงเป็นสองเท่าในโรงพยาบาลหลักในกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้ ปัจจุบัน ผู้ป่วยชาวต่างชาติคิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนคนไข้ของโรงพยาบาล และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเชิงการแพทย์และสุขภาพหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก และคาดว่าสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยก็กำลังวางตำแหน่งและกำหนดบทบาทของประเทศเป็นทางเลือกสำคัญของประเทศปลายทางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพของโลก

อย่างไรก็ตาม ชาวจีนที่มีรายได้สูงที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก็มักชื่นชอบการเดินทางไปเขตปกครองพิเศษฮ่องกงเพื่อรับบริการ ขณะนี้ประเทศไทยกำลังวางตำแหน่งตัวเองเป็นทางเลือกสำคัญ นอกจากนี้ IHH Healthcare ของมาเลเซียได้เริ่มโครงการปรับปรุงอย่างครอบคลุมที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ภายใต้การบริหารของบริษัท ด้วยการลงทุนมูลค่ารวม 350 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โครงการริเริ่มนี้รวมถึงการขยายศูนย์การรักษาผู้ป่วยนอกเพื่อรองรับความต้องการด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างตื่นตัว และขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพ เพื่อแข่งกันดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนนั้นเอง

สำหรับข้อมูลต่างๆซึ่งเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ รวมถึง การค้นหาบริการและสามารถปรึกษาผู้ให้บริการสุขภาพไทยที่ได้มาตรฐาน สามารถเข้าไปค้นหาได้ที่  www.arokago.com